Scott D. Anthony ที่ปรึกษากลยุทธ์ชั้นนำ แนะองค์กรจะอยู่รอดต้อง 'ปรับเปลี่ยน' ไม่ใช่แค่ปรับปรุง

Scott Anthony

เมื่อ COVID 19 ได้เข้ามาเขย่าโลกธุรกิจ ซึ่งถือเป็น Disruptive threats ที่ไม่ว่าจะในองค์กร หรือภาคอุตสาหกรรมไหน ก็ล้วนโดน disrupt ทั้งนั้น แม้กระทั่งผู้ที่คิดมาเสมอว่าปลอดภัยก็ต้องโดนไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายน่ากลัวเสมอไป มันจะกลายเป็นโอกาสหรืออุปสรรคหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำจะพาองค์กรเลือกเดินไปในเส้นทางไหน

ทาง Techsauce ได้มีโอกาสฟังการบรรยายของ Scott D. Anthony หุ้นส่วนบริษัท Innosight บริษัทที่ปรึกษากลยุทธ์การเติบโตชั้นนำ อีกทั้งเป็นผู้เขียน Harvard Business Review Press และหนังสือ Dual Transformation ถึงการจัดการและพัฒนาองค์กรไปสู่นวัตกรรมได้อย่างน่าสนใจ จะมีบทเรียนไหนที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้ได้บ้างมาดูกัน

เมื่อโลกธุรกิจหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราจะทำอย่างไร?มาฟัง Scott D. Anthony ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020 รีบซื้อบัตรก่อนที่ราคาจะปรับขึ้นเร็วๆ นี้ ได้ที่ https://bit.ly/2yPtuw3

อุปสรรคของการพัฒนาองค์กรคือ ‘ความเชื่องช้า (Inertia)’

ชีวิตการทำงานวันแรกนั้นจะว่าไปก็เหมือนกับตอนเข้าโรงเรียนวันแรก ทุกคนรู้สึกตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะปล่อยความคิดสร้างสรรค์ รู้ว่าอะไรถูกผิด รู้ว่า ‘นวัตกรรม’ นั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ต้องมีใครคอยตอกย้ำ คุณตั้งความหวังกับตัวเองทุกๆ วันว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่นำนวัตกรรมใหม่เข้ามา สุดท้ายก็สามารถนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ แต่แล้วก็ตระหนักได้ว่า ศัตรูร้ายที่สุดที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องพบกับมันในทุกๆ วันคือ ‘องค์กรของคุณเอง’ 

คุณฝันที่จะได้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ แต่ศัตรูที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องพบกับมันในทุกชีวิตประจำวันคือ 'ความเชื่องช้าในองค์กร'

'สัญญาณสำคัญ' ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาทำการเปลี่ยนแปลง

  • เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป กำไรเริ่มทรงตัวหรือลดลง
  • เมื่อลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลง เมื่อทำการเปิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่และผลตอบรับที่ได้เริ่มลดลง
  • เมื่อผู้เล่นใหม่ประสบความสำเร็จด้วยโมเดลธุรกิจที่ต่างไปไม่เฉพาะเทคโนโลยีเท่านั้นที่มีโอกาสเข้ามา disrupt เมื่อ Startup มีโมเดลธุรกิจใหม่ หรือบริษัทไหนกำลังทำการสร้างนวัตกรรม ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่มีแนวโน้มเข้ามากระทบองค์กรได้ทั้งนั้น
  • เมื่อมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งหมดนี้คือสัญญาณเตือนอันดับต้นๆ ว่าธุรกิจกำลังจะถูก disrupt ดังนั้นผู้นำจะทำแค่ปรับปรุงธุรกิจในปัจจุบันให้ดีขึ้นอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องทำการหาจุดยืนใหม่ให้ธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน (Repositioning Today’s Business) และทำการสร้างธุรกิจใหม่สำหรับอนาคต (Creating Tomorrow’s Business) หรือที่เรียกว่า 'Dual Transformation' นั้นจะเหมาะสมที่สุด

การคิดโมเดลธุรกิจใหม่ถือเป็นความท้าทายของผู้นำยุคนี้ ผู้นำต้องเริ่มมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจใหม่มีศักยภาพที่จะดำเนินต่อไปในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

Dual Transformation

1) การหาจุดยืนใหม่ให้แก่ธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน (Repositioning Today’s Business)

ธุรกิจที่จำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งการเติบโตในตลาดหลักที่พวกเขาครอบครองอยู่ ขณะเดียวกันก็ได้มีผู้เล่นใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ด้วยโซลูชันที่ง่ายกว่าและเข้าถึงได้มากกว่า อย่างกรณีของ Adobe ที่ทำการเปลี่ยนรูปแบบการขายซอฟต์แวร์บนอินเตอร์เน็ต (SaaS) เป็น Adobe Creative Cloud โดยสิ่งที่ต้องทำในการรักษาตำแหน่งธุรกิจปัจจุบันมีดังนี้

  • การระบุหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
  • การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่อยู่เสมอ
  • การกำหนดและหาวิธีวัดผลตัวเลขใหม่
  • การติดตามดำเนินงานอย่างจริงจัง

2) การสร้างธุรกิจใหม่สำหรับอนาคต (Creating Tomorrow’s Business)

การเติบโตนั้นมักจะมาจากการที่ต้องปรับกลยุทธ์และเป้าหมายใหม่ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย กรณีตัวอย่างจาก Amazon ที่เปิดบริการ Amazon Web Services (AWS) ให้บริการประมวลผลบนระบบคลาวด์ที่น่าเชื่อถือระดับโลก โดยองค์กรสามารถสร้างทรัพยากรที่อำนวยการเติบโตในอนาคตได้ดังนี้

  • การระบุอุปสรรคที่ขวางกั้นการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมไม่มีทักษะที่ต้องการ, เรื่องงบประมาณ, หรือความไม่สะดวกในการเดินทาง
  • การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาตลาดใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในอนาคต
  • การสร้าง Ecosystem รอบธุรกิจใหม่ เช่น การสร้างพาร์ทเนอร์ชิพ, การเข้าซื้อกิจการ, การจ้างบุคลากรที่มีทักษะที่ต้องการเพิ่ม

3) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ (Capability link)

การรู้ว่าจุดแข็งคืออะไร, การจดสิทธิบัตร, การสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการปรับกระบวนการทำงาน

การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เป็นเกมของ Startup เท่านั้น ใครก็สามารถสร้างสิ่งใหม่ได้ หากรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้คนในทีม องค์กรใหญ่ต้องมองให้เห็นโอกาสว่าจริงๆ แล้วพวกเขาก็สามารถทำหลายสิ่งที่แม้แต่ Startup ก็ทำไม่ได้

4 คุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำต้องมี (4Cs)

  • ผู้นำต้องมีความกล้า (Courage) เมื่อเห็นสัญญาณเตือนหาแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทันทีไม่ต้องรอให้เกิดภัยก่อนแล้วค่อยมาคิดแก้ปัญหาทีหลัง
  • ผู้นำต้องมีความชัดเจนในการทำงาน (Clarity) เพราะการสร้างกลยุทธ์ที่ดีและเหมาะสมนั้นจะมีเป้าหมายที่คลุมเครือไม่ได้
  • ผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด (Conviction)
  • ผู้นำต้องมีความตื่นตัวใฝ่รู้เฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆ (Curiosity) มีวิสัยทัศน์มองเห็นสัญญาณเตือน และโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

กรณีของ Singtel บริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงจัดการประชุมคณะกรรมการและการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารระดับสูงในกรุงปักกิ่ง เทลอาวีฟ และในซิลิคอนวัลเลย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้นำสามารถสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ประสบความสำเร็จโดยตรง

คุณสามารถเชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดให้ความรู้คนในทีมกี่คนก็ได้ แต่ไม่มีอะไรมีประสิทธิภาพมากไปกว่าการได้เดินทางไปยังแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมให้เห็นกับตาว่าคนที่นั่นทำอะไรกันบ้าง

โดยทางเราได้มีโอกาสพูดคุยและสัมภาษณ์ Scott เพิ่มเติมถึงประเด็นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรได้อย่างน่าสนใจ

ผู้นำจะสามารถบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน อีกทั้งจะนำองค์กรไปสู่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไร?

ทุกอย่างหมุนไปเร็วมาก หากผู้นำโฟกัสทุกอย่างสุดท้ายแล้วจะไม่ได้โฟกัสไปที่อะไรเลย คำแนะนำก็คือ ผู้นำต้องทำการโฟกัสเฉพาะเทรนด์ที่มีแนวโน้มจะเข้ามากระทบกับธุรกิจ สิ่งไหนที่มีแนวโน้มมากอาจทำการศึกษาเรียนรู้มากขึ้น สิ่งไหนที่ดูไม่น่ามีผลกระทบอาจทำการทดลองหรือละเลยมันไป

อีกทั้งกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครทำงานในส่วนปัจจุบันหรือในอนาคต การนำคนทำงานอนาคตมาทำงานปัจจุบันนั้นมันไม่ได้ผล ผู้นำต้องทำการแยกปัญหาที่พบในแต่ละส่วนให้ได้อย่างชัดเจน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจปัจจุบัน และกับธุรกิจในอนาคตคืออะไร นี่คือเกมคนละเกมที่ต้องใช้กฎกติกาและผู้เล่นที่ต่างกัน

จากประสบการณ์การทำงานกับองค์กรใหญ่ทั่วโลก สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่พบทั้งในเอเชียและในตะวันตกคืออะไร?

จากที่ได้ทำงานให้กับบริษัทในเอเชียมา 9 ปีพบว่าในเอเชียมีเรื่องระดับชั้นทางสังคม ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา เนื่องจากการเกิดไอเดียนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากผู้นำเสมอไป ใครก็สามารถความเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่มักพบเวลาผู้ที่มีประสบการณ์งานมากกว่าตัดสินใจเรื่องอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้มักออกมาจะเลวร้าย ดังนั้นการให้เปิดโอกาสทุกคนในทีมได้แสดงความเห็นนั้นสำคัญ

นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียจะอยู่ในรูปแบบของธุรกิจครอบครัวมากกว่า แต่หากมองอีกมุมการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจต่อการเจริญเติบโตที่ต่างกัน หลายองค์กรในเอเชียมีแนวโน้มจะเน้นเป้าหมายระยะยาวมากกว่าบริษัทฝั่งตะวันตก ซึ่งนี่เป็นข้อดีของการสร้างนวัตกรรมในระยะยาว

เราจะทำการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมได้อย่างไร?

ภาพจาก Innosight

สร้างสิ่งแวดล้อมที่เปิดให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมมีอำนาจในการตัดสินใจ และกล้าลงมือเสี่ยง ระบุให้ได้ว่าอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงคืออะไร แล้วจะพาคนในทีมก้าวข้ามปัญหาเหล่านั้นไปได้อย่างไร

หนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากธนาคาร DBS  เมื่อพนักงานลงความเห็นว่าอุปสรรคต่อการพัฒนาคือ ‘การประชุม’ ที่มากเกินไปและไม่จำเป็น พวกเขาก็ได้ทำการคิดวิธีจัดการประชุมใหม่หรือแบบ MOJO ทุกคนมีหน้าที่ชัดเจน โดยในทุกการประชุมจะมีผู้ที่เป็นเจ้าของการประชุม (Meeting Owner) และผู้ที่ต้องการร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ (Joyful Observer) วิธีนี้ได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของคนในทีมได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้การจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือที่เรียกว่าการสร้าง BEANs (Behavior, Enabler, Artifact, Nudges) จะเป็นการเปิดให้มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรมากขึ้น ซึ่งการสร้างการจัดการที่ดีนั้นต้องสามารถนำไปปรับใช้ ปรับเปลี่ยนได้ง่าย เชื่อมโยงกับเป้าหมายและกระบวนการทำงาน เป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากนี้คือการทำโค้ชชิงจัดเทรนนิงให้พนักงาน และต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปจะสามารถทำการสเกลได้ในอนาคต

พบกับ Scott D. Anthony ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020

เมื่อโลกธุรกิจหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราจะทำอย่างไร? มาฟังคำตอบจาก Scott D. Anthony หุ้นส่วนบริษัท Innosight ที่ปรึกษากลยุทธ์การเติบโตชั้นนำ ผู้เขียน Harvard Business Review Press และหนังสือ Dual Transformation ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020 

รีบซื้อบัตรก่อนที่ราคาจะปรับขึ้นเร็วๆ นี้ ได้ที่ https://bit.ly/2yPtuw3 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากโรตีสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน : กรณีศึกษาการสร้างธุรกิจ SMEs ที่ยั่งยืนในพื้นที่ท้าทาย โดย ดร. มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ

สำรวจแนวคิด “จากโรตีสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน” โดย ดร. มูฮัมหมัดฟาห์มี ตาเละ CEO De Forest Group ในงาน Thailand Economic Monitor 2025 กับกลยุทธ์การสร้างธุรกิจ SMEs ที่ยั่งยืนในพื้นที่เศ...

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...