Ageism การเหยียดอายุในองค์กร กับผลกระทบรอบด้านที่องค์กรต้องตระหนัก

บ่อยครั้งที่เราต้องเจอกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในการทำงาน จนเกิดความสงสัยในความสามารถของตัวเอง หารู้ไม่ว่านี่คือการเหยียดอายุที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเพศหญิง ปัญหาที่คนมองข้าม แต่เกิดผลกระทบต่อทั้งพนักงาน องค์กร และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง 

Ageism คืออะไร

Ageism คือ การเหยียดอายุ การลำเอียง หรือกีดกันคนตามกลุ่มอายุ องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งการเหยียดอายุไว้หลายระดับ คือ ทัศนคติ (stereotypes) ความอคติ (prejudices) และวิธีปฏิบัติต่อทั้งตัวเราเองและผู้อื่นโดยใช้อายุเป็นตัวกำหนด (discrimination)

เหมือนอย่างในกรณีของ แพทองธาร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยที่ถูกตั้งแง่ว่าอายุยังน้อยไม่มีประสบการณ์ด้านการเมือง จะเข้ามาบริหารบ้านเมืองได้อย่างไร  

การเหยียดอายุมักเป็นสาเหตุของการเลือกปฏิบัติทางอายุต่อบุคคลแต่ไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังเท่ากับการเลือกปฏิบัติในรูปแบบอื่น ๆ 

ผลกระทบของ Ageism ที่เราอาจคาดไม่ถึง 

การเหยียดอายุอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจเช่นเดียวกับการเลือกปฏิบัติรูปแบบอื่น ๆ จากรายงานของ WHO พบว่า พฤติกรรมการเลือกปฏิบัติทางอายุอาจส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต และอาจทำให้อายุสั้นลงได้ถึง 7 ปีครึ่ง เนื่องจากสุขภาพร่างกายและจิตใจแย่ลง มีการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยช้า 

นอกจากนี้แล้ว เมื่อพนักงานต้องเจอกับการเหยียดอายุส่งผลทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานไม่ดี และมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดต่ำลง ซึ่งก็จะส่งผลเสียกับบริษัทและองค์กรโดยตรง

สถิติการเหยียดอายุในที่ทำงาน

การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป คิดเป็น 43.8% ของประชากรแรงงานในปี 2016 และภายในปี 2024 คาดการณ์ว่าจะมีผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิงในวัย 16-24 ปี เป็นสองเท่า 

แม้ว่าจะมีจำนวนประชากรหญิงในการทำงานเพิ่มขึ้น แต่การเหยียดอายุในที่ทำงานก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน กว่า 64% ของผู้หญิงเคยเจอกับเหตุการณ์การเหยียดอายุในที่ทำงาน ต่างจากผู้ชายที่มีแค่ประมาณ 59% 

ในขณะเดียวกัน 90% ของพนักงานสูงอายุมีความคิดว่าการเหยียดอายุในที่ทำงานนั้นเป็นเรื่องปกติ มีเพียงแค่ 3% เท่านั้นที่เลือกที่จะรายงานไปยัง HR สำหรับผู้หญิงแล้วความกลัวในวัยของพวกเขาทำให้ระมัดระวังในการชี้ให้เห็นถึงความอคติที่เกิดขึ้น เพราะไม่ต้องการเผชิญกับผลที่ตามมา

ซึ่งผลที่ตามมานั้นคือการที่ต้องออกจากงาน และหางานใหม่ได้ยาก อีกทั้ง ageism ก็เป็นอุปสรรคต่อการหางานใหม่ หรือได้ค่าจ้างน้อยกว่าตำแหน่งงานเดิม ผู้หญิงยิ่งว่างงานนานเท่าไหร่โอกาสในการหางานใหม่ก็ยากมากขึ้น 

ผู้หญิงต้องต่อสู้มากกว่า 

จากสถิติจะเห็นได้ว่าผู้หญิงนั้นพบเจอกับการเหยียดอายุในที่ทำงานมากกว่าผู้ชาย และความจริงที่เจอในความอคติเหล่านี้คือ ผู้หญิงโดยเฉพาะผู้หญิงผิวสีต้องพยายามอย่างหนักในการพิสูจน์ตัวเอง

ผู้หญิงที่อายุน้อยหรือคนที่ดูเด็กจะโดนดูถูกความสามารถและถูกปฏิบัติอย่างไม่ให้ความเคารพ มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นนักศึกษาฝึกงาน สตาฟ หรือเลขานุการ เช่น ผู้บริหารอุดมศึกษาชาวเอเชียที่ดูอายุน้อยมักถูกเข้าใจผิดว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าตำแหน่งจริง ๆ ของเธอ 

ผู้หญิงวัยกลางคนก็ไม่ได้ถูกปฏิบัติดีมากไปกว่าวัยสาวไปซักเท่าไหร่ บริษัทเลือกที่จะไม่จ้างผู้หญิงในวัยสี่สิบปลาย ๆ โดยอ้างว่ามีภาระครอบครัว และเป็นวัยใกล้เกษียณ แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถรับผู้ชายในวัยนี้เข้าทำงานได้ปกติ 

เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น พวกเขามักจะถูกมองว่าไม่มีค่า หรือไม่คู่ควรที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ในขณะที่ผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นกลับถูกมองว่าเก่ง และเชี่ยวชาญในการทำงานมากกว่า ผู้หญิงในวัยนี้จึงมีแนวโน้มที่จะลาออกเร็วขึ้น เพราะมองว่าไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพมากไปกว่านี้แล้ว

สุดท้ายแล้วพบว่าไม่มีวัยใดเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงเลย เพราะมักจะมีข้ออ้างด้านอายุเพื่อลดทอนความสามารถของผู้หญิงอยู่เสมอ จนบางคนอาจจะเชื่อว่าตัวเองนั้นอยู่ในช่วงวัยที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน แต่ความจริงคือผู้หญิงถูกตีตราในทุกช่วงวัย 

บริษัทต้องจัดการกับปัญหาเรื่องอคติทางอายุต่อเพศหญิง มิฉะนั้นผู้หญิงจะไม่สามารถดำเนินชีวิตตามอุดมคติที่ว่าด้วยความหลากหลายและการมีส่วนร่วมได้ 

การเหยียดอายุในองค์กรเริ่มตั้งแต่ใบสมัครงาน 

Ageism ในที่ทำงานคือการที่ผู้สมัครหรือพนักงานถูกเลือกปฏิบัติเนื่องจากอายุของพวกเขา แม้ว่า Ageism จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งคนที่มีอายุน้อยและอายุเยอะ แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปโดยมีทั้งถูกปฏิเสธการสมัครงาน ไปจนถึงการเอาภาระงานไปให้พนักงานคนอื่นที่มีอายุน้อยกว่าทำ ตัวอย่างเช่น 

ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งงาน (JD) การเลือกปฏิบัติทางอายุที่ระบุอยู่ใน job description อาจมีความชัดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับขั้นตอนการสมัคงานอื่น ๆ เช่น บางบริษัทอาจระบุว่ากำลังมองหาพนักงานหนุ่มสาว หรือนักศึกษาที่พึ่งเรียนจบ อย่างไรก็ตาม ภาษาที่ใช้อาจแฝงมาด้วยการเหยียดอายุเป็นนัย ๆ ตัวอย่างเช่น

  • มีความกระตือรือร้น
  • ใช้เทคโนโลยีเป็น
  • เป็น digital native 
  • มีความยืดหยุ่น กระฉับกระเฉง
  • มีศักยภาพในการทำงาน

การคัดกรองใบสมัครงาน ความอคติทางอายุในขั้นตอนของการคัดกรองใบสมัครงานนั้นเป็นเรื่องที่ดูปกติมากซึ่งนายจ้างหลายคนอาจคิดไม่ถึง คุณอาจกำลังส่งเสริมการเหยียดอายุโดยไม่ตั้งใจหากคุณปฏิเสธผู้สมัครด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เรียนจบมาแล้วนานกว่า 20 ปี
  • ส่ง resume มาเยอะกว่า 3 หน้า บ่งบอกว่าคุณมีประวัติการทำงานที่ยาวนาน และใส่ประวัติที่ไม่เกี่ยวข้องกะบงานใหม่เข้ามาด้วย
  • ไม่ค่อยเล่นโซเชียลมีเดีย
  • ใช้อีเมลนามสกุล @hotmail.com หรือ @aol.com

การสัมภาษณ์งาน เราอาจเห็นการเลือกปฏิบัติทางอายุได้ชัดมากในระหว่างการสัมภาษณ์งาน นายจ้างมักจะตัดสินผู้เข้าสมัครด้วยคำถามเหล่านี้

  • มีความคิดที่จะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่
  • สะดวกที่จะทำงานกับหัวหน้าที่มีอายุน้อยกว่าไหม
  • จะตามเทคโนโลยีของบริษัททันไหม
  • เห็นตัวเองในอีก 10 ปีข้างหน้าอย่างไร 
  • มีโรคประจำตัวเรื้อรังหรือปัญหาสุขภาพอะไรไหม

และจากการสำรวจเว็บหางานในประเทศไทยที่กำหนดอายุในใบประกาศรับสมัครงานไว้นั้นส่วนใหญ่กำหนดไว้อายุไม่เกิน 45 ปี

ผลกระทบหลังโควิด

หลังเกิดการระบาดของ Covid-19 ชาว Gen X ที่เดิมทีเป็นกลุ่มที่ถูกมองข้ามอยู่แล้วก็เผชิญกับวิกฤตการว่างงานขึ้น การ work from home ทำให้การทำงานของคนวัยนี้ยากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่า พนักงานที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปีจะมีอุปสรรคในการทำงานเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากอคติในองค์กรและจากเพื่อนร่วมงาน คนในวัยนี้ถูกมองว่าไม่อยากลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ได้ และทำงานกับคนรุ่นอื่นไม่ได้

วิธีลดปัญหาการเหยียดอายุต่อเพศหญิงในที่ทำงาน

สร้างนโยบายองค์กรที่โอบรับความหลากหลาย 

  • นโยบายและกฎหมายสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกปฏิบัติทางอายุ ความไม่เท่าเทียมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคนได้ 
  • พัฒนาพนักงานในองค์กรโดยจัดให้มีหลายวัย หลายเพศ ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน จากการศึกษาพบว่าชาว Gen Z นั้นต้องการทำงานกับคนที่มีอายุมากกว่าที่ใส่ใจและให้คำปรึกษาพวกเขาได้ ดังนั้นการทำงานร่วมกันทุกวัยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • องค์กรต้องไม่ใช้รูปลักษณ์ภายนอกเป็นตัวตัดสินใจในการตัดสินใจจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่ง หรือการประเมินในการทำงาน ให้ความสำคัญกับความสามารถของผู้หญิงแต่ละคน ไม่ใช่อายุหรือปัจจัยภายนอก

สร้างความรู้ความเข้าใจ 

  • องค์กรและพนักงานต้องมองให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัติทางอายุนั้นเป็นปัญหา พนักงานทุกคนควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับอคติทางอายุต่อเพศหญิงเช่นเดียวกับการเลือกปฏิบัติในรูปแบบอื่น ๆ 



อ้างอิง: hbr who wcupa ohrc indeed benefitnews thestar cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาเดินเล่น Microsoft (ประเทศไทย) ย้ายออฟฟิศแห่งใหม่ในรอบ 30 ปี ออกแบบจากเสียงของพนักงานตอบโจทย์ Hybrid Work

Microsoft Thailand เปิดตัวออฟฟิศใหม่ที่ One Bangkok รองรับ Hybrid Work อย่างเต็มรูปแบบ ออกแบบจากข้อมูลพนักงาน พร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย พื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่น และแนวคิดเพื่อความยั่งยื...

Responsive image

4 วิธีเสริมแกร่งองค์กร เตรียมพร้อมสู่ยุคคนทำงานร่วมกับ AI สร้างสรรค์นวัตกรรมและเติบโตอย่างยั่งยืน

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างเหมาะสม ด้วย 4 ว...

Responsive image

"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย?

Silicon Valley ดินแดนแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ซึ่งไอเดียใหม่ๆ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ท่ามกลางกระแสแห่งความคิดสร้างสรรค์นี้เอง กลับมีคำศัพท์ใหม่ที่จุดประกายความขัดแย้งขึ้น นั่นค...