Overqualified ปัญหาของคนเก่งเกินงาน ที่มักถูกบริษัทปฏิเสธรับเข้าทำงาน

‘ดีเกินไปบางทีก็ไม่ดี’ เมื่อบริษัทปฏิเสธจะรับคนเก่งเกินไปเข้าทำงาน รู้จักคำว่า Overqualified ทำไมบริษัทไม่รับคนแบบนี้ และถ้าเราเป็นผู้ถูกเลือก (ให้ผิดหวัง) คนนั้น จะรับมือยังไง? 

เก่งแล้วไม่ดียังไง สาเหตุที่บริษัทไม่รับผู้สมัครที่ Overqualified

นอกจากเรื่องความสามารถแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่บริษัทต้องนำมาพิจารณาว่าผู้สมัครคนนี้เหมาะสมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสาเหตุที่บริษัทมักจะไม่รับผู้สมัครที่ Overqualified ได้แก่

1. กลัวจะอยู่กับบริษัทไม่ยาว: บริษัทส่วนใหญ่มักตีความว่า เมื่อคนเก่ง ๆ สมัครเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถ อาจเป็นเพราะคนเหล่านี้กำลังหาอะไรทำชั่วคราวไปก่อน เพื่อรอโอกาสที่จะพบกับงานที่ดีกว่าบริษัทส่วนใหญ่จึงกังวลว่าผู้สมัครเหล่านี้จะอยู่ทำงานได้ไม่นานและลาออกไป เลยเลือกที่ไม่รับพวกเขาเข้าทำงานแต่แรก

2. สู้เงินเดือนไม่ไหว: เมื่อมีผู้สมัครที่มีความสามารถหรือมีประสบการณ์มาสมัครในตำแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถ บริษัทจึงกลัวว่าจะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้มากตามความสามารถของผู้สมัครเหล่านี้ รวมถึงถ้าบริษัทเสนอเงินเดือนที่น้อยกว่าความต้องการ ผู้สมัครเหล่านี้ก็จะปฏิเสธบริษัทอยู่ดี จึงตัดไฟตั้งแต่ต้นลมปัดตกคนเหล่านี้ไปแทน

3. งานไม่ท้าทาย: บริษัทกลัวว่าผู้สมัครที่ Overqualified อาจจะรู้สึกเบื่องาน เพราะมันง่ายและไม่ท้าทายความสามารถของพวกเขา เมื่อพนักงานเบื่องานก็มักจะขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบให้พวกเขามีประสิทธิภาพการทำงานลดลง

4. เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ยาก: การรับพนักงานใหม่บริษัทก็มักจะมองถึงการทำงานร่วมกับทีมเดิมด้วย ซึ่งถ้าผู้จัดการและสมาชิกเดิมของทีมมีประสบการณ์และความสามารถน้อยกว่าผู้สมัคร บริษัทก็อาจจะมองว่าคงทำงานร่วมกันยาก รวมถึงยิ่งมีประสบการณ์มากกว่าหัวหน้า การฟังความเห็นหรือรับคำสั่งจากหัวหน้าที่ประสบการณ์น้อยกว่าอาจสร้างความไม่พอใจกับผู้สมัคร และเป็นปัญหาในการทำงานระยะยาวได้

ผู้สมัครที่ Overqualified ต้องทำยังไง ?

อย่าพึ่งคิดว่าการมีคุณสมบัติเกินเกณฑ์แล้วจะไม่ได้งาน เพราะในการพิจารณารับพนักงานเข้าทำงานไม่ได้มองเพียงแค่ทักษะและความสามารถเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผู้สมัครแบบ Overqualified สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ ได้แก่

1. ศึกษาจากคนที่ทำงานในสายงานที่คุณสนใจ: บางทีการเริ่มต้นจาก 0 อาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก จึงอาจจะเริ่มดูจากโปรไฟล์ของคนอื่น ๆ บนแพลตฟอร์มหางาน เช่น LinkedIn เพื่อศึกษาว่างานที่คุณสนใจต้องการคนแบบไหน และต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อได้งานนั้น

2. เริ่มพูดถึงเรื่องที่บริษัทกังวลเกี่ยวกับ Overqualified:  สิ่งนี้ควรเขียนอธิบายไว้ใน Cover Letter โดยเริ่มจากการเกริ่นถึงข้อกังวลของบริษัทที่มีต่อคุณ แล้วตามด้วยการอธิบายว่าทำไมบริษัทไม่ควรกังวลในเรื่องนั้น เล่าถึงความตั้งใจของตัวเองให้บริษัทได้รับรู้ เป็นจุดที่อาจทำให้บริษัทเปิดใจและไม่ปัดคุณตกไปก่อน

3. ทำให้ Overqualified เป็นจุดแข็ง ไม่ใช่จุดอ่อน: เป็นสิ่งที่ต้องแสดงให้บริษัทเห็นในตอนสัมภาษณ์ว่า คุณตื่นเต้นและกระตือรือร้นที่จะได้ทำงานนี้ เพราะเป็นงานที่สอดคล้องกับความสนใจของคุณ รวมถึงพรีเซนต์ให้บริษัทเห็นว่าทักษะและประสบการณ์ของคุณมีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไรและคุณสามารถใช้มันเพื่อช่วยทีมบรรลุเป้าหมายได้ แต่อย่าลืมว่าคุณต้องวางตัวเป็นคนเก่งที่พร้อมจะพาทีมเก่งไปด้วย ไม่ใช่มุ่งมั่นที่จะเก่งนำคนในทีม

อ้างอิง: betterup

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาเดินเล่น Microsoft (ประเทศไทย) ย้ายออฟฟิศแห่งใหม่ในรอบ 30 ปี ออกแบบจากเสียงของพนักงานตอบโจทย์ Hybrid Work

Microsoft Thailand เปิดตัวออฟฟิศใหม่ที่ One Bangkok รองรับ Hybrid Work อย่างเต็มรูปแบบ ออกแบบจากข้อมูลพนักงาน พร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัย พื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่น และแนวคิดเพื่อความยั่งยื...

Responsive image

4 วิธีเสริมแกร่งองค์กร เตรียมพร้อมสู่ยุคคนทำงานร่วมกับ AI สร้างสรรค์นวัตกรรมและเติบโตอย่างยั่งยืน

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างเหมาะสม ด้วย 4 ว...

Responsive image

"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย?

Silicon Valley ดินแดนแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ซึ่งไอเดียใหม่ๆ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ท่ามกลางกระแสแห่งความคิดสร้างสรรค์นี้เอง กลับมีคำศัพท์ใหม่ที่จุดประกายความขัดแย้งขึ้น นั่นค...