ศาสตร์การปรุงนํ้าหอมยุค AI ให้ตรงใจสาวกนํ้าหอม ที่บริษัททั่วโลกทุ่มการวิจัย

จากตำราโบราณสู่ความงามในยุค AI เมื่อแบรนด์ดังทั่วโลกลงทุนวิจัยสมองมนุษย์ และใช้ AI ปรุงน้ำหอมที่ตอบโจทย์ตรงใจกับผู้ใช้ให้มากที่สุด 

การทำน้ำหอมเป็นศิลปะที่มีประวัติยาวนานและสามารถสืบย้อนได้ไปถึงสมัยกรีกโบราณ แต่นักปรุงน้ำหอมในยุคปัจจุบันได้ก้าวไปสู่ขั้นที่เหนือกว่าการดมกลิ่นในการสร้างนํ้าหอมแบบธรรมดา แต่ก้าวเข้าไปใช้ในเทคโนโลยี AI เพื่อพัฒนากลิ่นที่มีแนวโน้มที่จะดึงดูดใจผู้คนได้มากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันน้ำหอมสามารถผลิตเพื่อกระตุ้นอารมณ์ที่มากขึ้นโดยใช้กลิ่นที่เรียกว่า Neuroscents หรือกลิ่นสังเคราะห์กระตุ้นอารมณ์ ซึ่งเป็นกลิ่นที่จะไปกระตุ้นประสาทเพื่อการตอบสนองของอารมณ์แบบตรงจุด 

Neuroscents เป็นเทรนด์ที่มาแรงในการบำบัดด้วยกลิ่นซึ่งสามารถเชื่อมโยงกลิ่นกับจิตใจ ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตัวตนหรือ Biometric เพื่อไปกระตุ้นความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น ความสงบ ความอิ่มเอม ความรู้สึกง่วง

Hugo Ferreira นักวิจัยจากสถาบันชีวฟิสิกส์และวิศวกรรมชีวการแพทย์ในลิสบอนกำลังสร้างฐานข้อมูลของ Neuroscents โดยทำการจับกิจกรรมสมองและการตอบสนองต่อกลิ่นหอมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลิ่นต่าง ๆ และโครงสร้างซับซ้อนของระบบรับกลิ่นที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกและความทรงจำได้

แบรนด์ความงามรายใหญ่อย่าง L'Oréal บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางจากฝรั่งเศส และ Puig บริษัทผู้ผลิตนํ้าหอมและแฟชั่นจากสเปน กำลังลงทุนในการวิจัยและเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบประสาท 

L'Oréal ร่วมมือกับ Emotiv บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา เพื่อสร้างประสบการณ์การสร้างกลิ่นโดยใช้คลื่นไฟฟ้าสมองหรือ EEG โดยในปี 2023 ลูกค้าที่ใช้บริการที่หน้าร้านของ Yves Saint Laurent ทั่วโลก ได้ใช้ชุดหูฟังเพื่อสร้างคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อค้นหากลิ่นที่ดึงดูดใจพวกเขา 

ในขณะที่ Puig ใช้ข้อมูล Biometric เพื่อปรับแต่งน้ำหอม เช่น Phantom by Paco Rabanne ที่มีการเติมมะนาวและลาเวนเดอร์เพิ่มลงในสูตร อันเป็นผลจากการวิจัยจากการอ่านคลื่นสมองจากกลุ่มผู้ชายอายุ 18-35 ปี กว่า 45 ล้านครั้ง รวมไปถึง Givenchy Irresistible eau de parfum ที่มีการเติมสารสกัดจากดอกกุหลาบ "anti-morose" เพิ่มลงในนํ้าหอมสูตรเดิมที่ขายดีมามากกว่า 20 ปี หลังมีการวิจัยทาง Biometric

ผู้ผลิตน้ำหอมเฉพาะกลุ่มก็ใช้ AI เพื่อสร้างสูตรเฉพาะตัวเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น EveryHuman ซึ่งเป็นโรงงานผลิตน้ำหอมแบบ Algorithm จากประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างสรรค์กลิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามความต้องการของลูกค้าได้ภายในไม่กี่นาทีจากการใช้แบบสอบถามและ Algorithm 

ซึ่ง Anahita Mekanik ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท EveryHuman รู้สึกทึ่งกับการผลิตนํ้าหอมแบบ Algorithm เพราะแกนหลักของการพัฒนาน้ำหอมของเธอในฐานะนักพัฒนาอยู่ที่การสร้างสรรค์และผ่านการประเมินจากการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งการผลิตนํ้าหอมแบบ Algorithm สามารถทำให้ผู้คนสามารถโต้ตอบกับกลิ่นเฉพาะบุคคลได้โดยตรง ในส่วนของ Amorepacific บริษัทเครื่องสำอางจากเกาหลีใต้สร้าง Bath Bombs แบบเฉพาะตัวโดยใช้ข้อมูลชีวภาพแบบเรียลไทม์

อย่างไรก็ตาม บางคนแย้งว่าศิลปะแห่งการสร้างสรรค์น้ำหอมควรอยู่ในมือของนักปรุงน้ำหอมที่เป็นมนุษย์ เพราะความบังเอิญในการค้นพบน้ำหอมใหม่ที่ชื่นชอบถือเป็นประสบการณ์อันมีค่า 

การวิจัยด้าน AI และประสาทวิทยากำลังมอบแนวทางและข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตนํ้าหอมเพื่อใช้ในการออกแบบน้ำหอมที่ตรงใจผู้บริโภคในระดับอารมณ์ที่มีลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นต่อไป

อ้างอิง: theguardianperfumerflavorist, wundermanthompson




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CATL เปิดตัวแบตพลังงานคู่ วิ่งได้กว่า 1,500 กม. ต่อชาร์จ พร้อมแบตชาร์จเร็ว 5 นาที วิ่งได้ 520 กม.

CATL บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก ได้เปิดตัวเทคโนโลยีเซลล์แบตเตอรี่เวอร์ชันล่าสุดภายในงาน Tech Day ประจำปีที่จัดขึ้นในเซี่ยงไฮ้...

Responsive image

รู้จัก Embedded Financing กับโอกาสขยายบริการทางการเงินในธุรกิจ ผ่าน Webinar จาก Bettr ประเทศไทย

ห้ามพลาด! Free Webinar ครั้งแรกจาก Bettr ประเทศไทย เจาะลึก Embedded Financing พร้อมเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก (MSMEs) ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่เข้าถึงง่าย...

Responsive image

เปิดตัว 'THAI Academy' โครงการอัปสกิล AI ให้ล้านคนไทยในปี 68 โดยรัฐบาล ไมโครซอฟท์ และ 35 พันธมิตร

รวมข้อมูลและความร่วมมือจัดทำ 'THAI Academy' โครงการยกระดับพันธกิจเสริมทักษะด้าน AI ให้ครอบคลุมคนไทย 1 ล้านคน และ 'AI Skills Navigator' แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีหลักสูตรด้าน ...