สรุปมาตรการสนับสนุนแห่งปี รัฐบาลจัดเต็มให้ Startup

รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญ Startup และมองเป็นความหวัง โดยยกให้เป็นหนึ่งใน “3S” ที่รัฐมุ่งส่งเสริม ได้แก่ Startup, SME และ Social Enterprise (กิจการเพื่อสังคม) จึงเกิดความพยายามในการโละกลไกแบบเก่า มาอยู่บนโมเดลใหม่ที่ให้เอกชน และภาคประชาสังคม ได้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุน และช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาด โดยจะมีมาตรการการสนับสนุนดังต่อไปนี้

กฏหมาย

  • มองกฎหมายฉบับใหม่ ที่ให้สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ในรายคน เพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการแบบลุยเดี่ยว
  • เตรียม ปลดล็อก BOI ให้บุคคลคนเดียว ที่มีไอเดีย ก็สามารถรับการส่งเสริมจาก BOI ได้ จากเดิมที่บอกว่าต้องเป็นโครงการ เป็นบริษัท มีเครื่องจักรแล้วเท่านั้น
  • กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจที่จะเปลี่ยนไป จากอดีตต้องมีการค้ำประกัน มีจำนองอะไรกันมากมาย แต่จากนี้ขอแค่มี “ไอเดีย” หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่จดได้ ก็ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้
  • อาจมีมาตรการจูงใจทางภาษี (Tax Incentives) หรือ มีหลักประกันอะไรต่างๆ ให้จูงใจผู้ลงทุน

Ecosystem

  • สร้าง Ecosystem ที่จะสนับสนุนแหล่งทุน แหล่งสนับสนุน ไม่ว่าจะ Incubator, Venture Capital, Crowdfunding
  • ดึงให้ Startup เข้าสู่ระบบกันมากขึ้น เป็นบริษัทที่โปร่งใส มีมาตรฐาน เพื่อดึงดูดใจผู้ลงทุน
  • การจัดตั้ง National Startup Center โดยกระทรวงการคลัง เพื่อรวมทุกคนทั้งฝั่งทั้ง Startup เอง รวมถึง VC และ Incubator มารวมกันในที่เดียว
  • พัฒนาเครื่องมือและช่องทางการ Exit ผ่านตลาดทุน เพื่อเป็นแนวทางเก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการและผู้ลงทุน ให้เกิดมีเงินทุนหมุนเวียน มีการลงทุนเกิดขึ้น แล้วเกิดความต่อเนื่องของการสร้างผู้ประกอบการในประเทศไทย  "ถึงปลายทางคงต้องหาอะไรมารองรับ Startup ซึ่งไม่ใช่แค่ตลาดหลักทรัพย์ MAI แต่อาจจะเป็นกระดานอีกกระดานหนึ่งสำหรับ Startup โดยเฉพาะ"ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าว

การศึกษา

  • ปรับและโละหลักสูตร MBA เดิม เพื่อให้สนองต่อ Startup มากขึ้น หลักสูตร MBA เดิม = เห็นภาพใหญ่ก่อน ทุกอย่างต้องเป๊ะ แบบ Startup = ลงมือเลย ลองผิดลองถูก ล้มแล้วลุก

สรุปมาตรการสนับสนุน Startup

  • รัฐสนับสนุน เอกชนและประชาสังคมขับเคลื่อน
  • เปลี่ยนโมเดลการทำงาน สนองกลุ่ม Startup
  • ปลดล็อกข้อจำกัดในอดีต ไอเดียก็เป็นทุนและหลักประกันได้
  • สร้าง Ecosystem ที่เหมาะสม หนุนธุรกิจ Startup
  • แก้ไขกฎหมายการแข่งขันทางการค้า
  • ปรับหลักสูตรการศึกษา สอดรับเผ่าพันธุ์ Startup

 

“กลไกเดิมของรัฐเป็นประเภท ‘คุณพ่อผู้รู้ดี’ เราไม่ได้สร้างจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ไม่ได้เอื้อให้คนที่มี Entrepreneur Spirit ได้เกิดจริงๆ ต้องให้เขารู้จัก ล้มแล้วลุก มากกว่าที่จะอุ้มอยู่ตลอด เราต้องเปลี่ยนตั้งแต่กระบวนทัศน์ วิธีคิด และการทำงาน เพราะ Startup เป็นโมเดลที่ต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง” “Startup เป็นกระบวนทัศน์ที่คนละเรื่องกับเอสเอ็มอี เป็นคนอีกเจเนอเรชั่น ที่กล้า ลองผิด ลองถูก ไม่งอมืองอเท้าร้องขอ คนพวกนี้อาจไม่มีเงิน แต่มีไอเดีย กล้า แล้วก็ต้องการการเปลี่ยนแปลง” คำอธิบายจาก ดร.สุวิทย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

เนื้อหาสรุปจาก: Bangkokbiznews.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CATL เปิดตัวแบตพลังงานคู่ วิ่งได้กว่า 1,500 กม. ต่อชาร์จ พร้อมแบตชาร์จเร็ว 5 นาที วิ่งได้ 520 กม.

CATL บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก ได้เปิดตัวเทคโนโลยีเซลล์แบตเตอรี่เวอร์ชันล่าสุดภายในงาน Tech Day ประจำปีที่จัดขึ้นในเซี่ยงไฮ้...

Responsive image

รู้จัก Embedded Financing กับโอกาสขยายบริการทางการเงินในธุรกิจ ผ่าน Webinar จาก Bettr ประเทศไทย

ห้ามพลาด! Free Webinar ครั้งแรกจาก Bettr ประเทศไทย เจาะลึก Embedded Financing พร้อมเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก (MSMEs) ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่เข้าถึงง่าย...

Responsive image

เปิดตัว 'THAI Academy' โครงการอัปสกิล AI ให้ล้านคนไทยในปี 68 โดยรัฐบาล ไมโครซอฟท์ และ 35 พันธมิตร

รวมข้อมูลและความร่วมมือจัดทำ 'THAI Academy' โครงการยกระดับพันธกิจเสริมทักษะด้าน AI ให้ครอบคลุมคนไทย 1 ล้านคน และ 'AI Skills Navigator' แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีหลักสูตรด้าน ...