ราชวงศ์แห่งชัยปุระเปิดพระราชวังซิตี้พาเลซเป็นที่พักนักท่องเที่ยวบน Platform Airbnb

พระราชวังซิตี้พาเลซแห่งนครชัยปุระ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่พำนักของราชวงศ์ชัยปุระมาอย่างยาวนานกว่า 300 ปี และเคยเป็นสถานที่รับรองบุคคลสำคัญของโลก อาทิ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ รวมทั้งแจ็คกี้ เคนเนดี้ โดยมหาราชา Sawai Padhmanabh Singh กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของที่พักพระองค์แรกบนแพลตฟอร์ม Airbnb พร้อมเปิดห้องสวีท Gudliya ในพระราชวังให้นักเดินทางได้จองเป็นครั้งแรกแห่งประวัติการณ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 นี้

พระราชวังซิตี้พาเลซแห่งนครชัยปุระ เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่นที่สุดของอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงของรัฐราชสถานที่เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ โดยนักเดินทางสามารถจองและเข้าพักในห้องชุดของมหาราชาอันหรูหรา ที่ตั้งอยู่ภายในพระที่นั่งจันทรามาฮาล (ที่พำนักของราชวงศ์) ซึ่งเป็นสถานที่รับรองเฉพาะราชวงศ์และบุคคลสำคัญจนถึงปัจจุบัน สำหรับห้องชุดประกอบด้วยห้องรับรองส่วนตัว ห้องครัว ห้องน้ำสุดหรู และสระว่ายน้ำในร่มทั้งนี้ผู้เข้าพักจะได้สัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตราวราชวงศ์อย่างแท้จริง มหาราชา Sawai Padhmanabh Singh เป็นเจ้าของที่พักผู้ทรงเสน่ห์มีเชื้อสายราชวงศ์โดยแท้และเป็นนักโปโลที่มีอายุเพียง 21 ปี โดยได้รับการสืบทอดตำแหน่งกษัตริย์เมื่อปี 2554 และเป็นรุ่นที่ 11 ของราชวงศ์   

Maharaja Sawai Padhmanabh Singh ตรัสว่า “เราและครอบครัวรู้สึกยินดีที่จะได้ร่วมมือกับ Airbnb เพื่อเปิดโลกอันงดงามของรัฐราชสถานให้กับนักเดินทางจากทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ของเราในเดินทางกับ Airbnb ที่ผ่านมานั้นช่วยให้เราได้รับรู้ถึงการต้อนรับอย่างดีในเมืองและวัฒนธรรมใหม่ เราจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์การต้อนรับและการให้บริการสุดยอดแบบชาวอินเดียที่แท้จริงให้กับผู้อื่นด้วย” 

สำหรับพระราชวังแห่งนี้ไม่เคยเปิดให้บุคคลภายนอกมาก่อน โดยจะมีการมอบรายได้จากการเปิดจองให้พักครั้งนี้เพื่อมูลนิธิ เจ้าหญิงดิยากุมารี (Princess Diya Kumari Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในท้องถิ่นที่สนับสนุนสตรีในชนบท และช่างฝีมือของรัฐราชสถาน โดยห้องสวีท Gudliya นี้เปิดให้จองคืนละ 8 พันดอลล่าร์สหรัฐ (หรือประมาณ 240,000 บาทต่อคืน) แต่ในช่วงเวลาภายในปี 2562 นี้จะเปิดให้จองในราคาสุดพิเศษที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือ ประมาณ 30,000 บาทต่อ คืน) และ Airbnb จะมอบยอดเงินสมทบของแต่ละการจองให้กับมูลนิธิฯ และตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จะเปิดให้จองห้องพักในราคาเต็ม

พระราชวังซิตี้พาเลซแห่งนครชัยปุระ สร้างขึ้นในปีพศ. 2270 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2 ผู้ก่อตั้งนคร ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกลและแนวความคิดที่ก้าวหน้าของจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดียที่ก้าวล้ำไปทั่วโลกด้วยอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมแบบราชปุตโมกุลและยุโรป การตกแต่งด้านหน้าอาคารที่โดดเด่นด้วยสีเหลืองกับแดงและสนามหญ้า ที่มีการตัดแต่งอย่างสวยงามดูเข้ากันได้ดีกับห้องอาหารอันหรูหรา แชนเดอเลียร์เก่าแก่ของตระกูล ผนังหินทรายที่ละเลื่อมด้วยสีฝุ่นทอง งานแกะสลักที่ละเอียดปราณีต และพิพิธภัณฑ์ที่สะสมคอลเล็คชั่นส่วนตัว อย่างเช่น พรมถักด้วยมือและต้นฉบับตัวเขียนอันทรง คุณค่า โดยมีบุคคลสำคัญมาเยือนอาทิ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์, บิล คลินตัน หรือ แจ็คกี้ เคนเนดี้ เป็นต้น  

การได้เข้าพักที่พระราชวังซิตี้พาเลซ จะเป็นแรงบันดาลใจในการเดินทางสู่เรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม และ ประเพณีทางศิลปะของราชวงศ์ชัยปุระ โดยผู้เข้าพักจะได้รับการรับรองจากบัตเลอร์ส่วนตัว ซึ่งจะเป็นผู้จัดเตรียมประสบการณ์ ในเมืองที่คัดสรรมาอย่างดี รวมถึงการทัวร์ช็อปปิ้ง เดินชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และการท่องเที่ยวอื่นๆ  อีกทั้งจะได้เพลิดเพลินกับ อาหารเช้าแบบชาวรัฐราชสถานแท้ๆ บนระเบียงที่มองเห็นเทือกเขาอราวาลิส และมวลหมู่นกยูงในสวนอันเขียวชอุ่มของ พระราชวัง 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...