AIS 5G ร่วมติดตั้งระบบสื่อสารในโรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู้ภัย Covid-19

AIS 5G เดินหน้าร่วมสู้ภัยโควิด-19 กับภาคสาธารณสุข ระดมทีมจัดเต็มเครือข่ายสื่อสารในโรงพยาบาลสนามหลักทุกภาคทั่วไทยแล้วกว่า 31 แห่ง ล่าสุดเข้าติดตั้งระบบสื่อสารในโรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดรับผู้ป่วยสัปดาห์นี้

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “นับตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ทีมงานทุกคนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะนำเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาสนับสนุนภารกิจการรับมือภาวะการระบาดให้ได้อย่างดีที่สุด ภายใต้โครงการ “AIS 5G สู้ภัยโควิด” ทั้งการสนับสนุนซิมการ์ดและ SMS ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆเพื่อให้บริการ Telemedicine นำหุ่นยนต์ไปให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึง การติดตั้งเครือข่ายสื่อสารในพื้นที่โรงพยาบาลสนามในพื้นที่เสี่ยงซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่ออำนวยความสะดวก เสริมขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และให้กลุ่มผู้ป่วยได้มีโอกาสสื่อสารกับครอบครัวให้คลายความกังวล”  

ล่าสุด ในสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอก 3 โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นอกจากโรงพยาบาลสนามในสังกัด กทม.ที่มีเครือข่ายของเอไอเอสพร้อมแล้ว ยังมีการเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงพยาบาลสนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นทีมวิศวกรเอไอเอส จึงเร่งติดตั้งและขยายความสามารถในการรองรับการใช้งาน พร้อมความครอบคลุมของเครือข่าย AIS 4G, 5G และ ติดตั้ง AIS Fiber พร้อมสัญญาณ Free WIFI สำหรับลูกค้ามือถือทุกค่ายเพื่อให้พร้อมต่อการเริ่มเปิดรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่จะเข้าพักรักษาตัวในสัปดาห์นี้อย่างเร่งด่วนในห้วงที่เตียงโรงพยาบาลต่าง ๆ ขาดแคลนอย่างหนัก

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านสื่อสารองค์กร กล่าวว่า “โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 100 เตียง โดยเป้าหมายของโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ เพื่อเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะรองรับผู้ติดเชื้อโควิด ทั้งที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลใกล้ชิดผู้ป่วยและปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสังคม นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ด้วย ในช่วงต้นจะเริ่มให้บริการแก่บุคลากรและนิสิตก่อน โดยในส่วนของระบบสื่อสารที่เอไอเอสร่วมสนับสนุนครั้งนี้ ถือว่าตรงกับความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเสริมขีดความสามารถการทำงานของทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการรับ/ส่งข้อมูล รวมไปถึงการให้ผู้ป่วยได้ใช้สื่อสารเพื่อลดความเครียดระหว่างการพักรักษา ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ในเร็ววัน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...