AIS ผนึก พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนา Smart Meter สำเร็จรายแรกในไทย

เอไอเอส ผนึก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนา IoT Smart Meter นวัตกรรมมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะบนโครงข่าย NB-IoT สำเร็จ พร้อมนำไปให้บริการจริงเป็นรายแรกในไทย

คุณอัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กรและบริการระหว่างประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoT ที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้าน Platform และเครือข่าย NB-IoT , eMTC ซึ่งครอบคลุมแล้วทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT Smart Meter ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยนำมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ มาผสมผสานเข้ากับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานบนเครือข่าย NB-IoT เพื่อประยุกต์ใช้งานโครงข่ายดิจิทัลกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนคอยจดมิเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ของอุปกรณ์IoT มีอายุการใช้งานยาวนาน, อุปกรณ์สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า IoT Smart Meter จะอยู่ในอาคาร รวมถึงสามารถตรวจสอบและควบคุมผ่านระบบ Cloudและระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

จึงถือเป็นครั้งแรกของไทยที่นำเอาโครงข่าย NB-IoT มาเพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคได้สำเร็จ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของเอไอเอสในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoTอันดับ 1 ของประเทศ โดย IoT Smart Meter พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชนต่อไป”

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ พิรักษ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Smart Grid Technology Research Center บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน กล่าวว่า “เทคโนโลยีสื่อสาร NB-IoT มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล ของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารสำหรับ Smart Grid เนื่องจากใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น ความถี่คลื่นวิทยุที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย และ สถานีฐานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาครัฐวิสาหกิจในการลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership) ในระบบ Advanced Metering Infrastructure (AMI) ต่อไป

ในก้าวต่อไปเป็นเรื่องของการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) เพื่อใช้ในการลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบ Technical และ Non-technical Losses อีกทั้งการนำข้อมูลพลังงานที่ได้แบบ real-time ในการซื้อขายไฟฟ้าเสรีผ่านเทคโนโลยี Block Chain อาทิเช่น การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Roof เป็นต้น

โดยความร่วมมือกับเอไอเอสในการทดลองนำนวัตกรรมเครือข่าย IoT มาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานรับส่งข้อมูลของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะในครั้งนี้ ประสบสำเร็จด้วยดี และพร้อมจะให้หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้านำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน เชื่อมั่นว่าจะช่วยตอบโจทย์การบริหารจัดการไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้อย่างแน่นอน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...