AMATA ปักธงลงทุนพันล้านเหรียญสร้างเมืองทันสมัย สปป.ลาว ปี 65 พัฒนาเฟสแรกนาเตย 410 เฮกตาร์รับอุตสาหกรรมขั้นสูง

‘อมตะ’ (AMATA) ปักหมุดลงทุนผุดเมืองอุตสาหกรรมทันสมัย AMATA SMART & ECO CITY ในสปป.ลาว หลังรัฐบาลร่วมลงนามในสัญญาอนุมัติให้สัมปทานเข้าพัฒนาที่ดินบนพื้นที่เป้าหมายนาเตย แขวงน้ำทา สำเร็จในระยะแรกรวม 410 เฮกตาร์ พร้อมเดินหน้าหาพันธมิตรไทย-ต่างชาติ ร่วมสร้างเมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หวังดึงนักลงทุนจากทั่วโลก มั่นใจดัน GDP สปป.ลาวโต 5,000 ล้านเหรียญ ส่งเสริมเศรษฐกิจระยะยาวสร้างรายได้จากการจ้างแรงงานในระบบเพิ่ม

AMATA ปักธงลงทุนพันล้านเหรียญสร้างเมืองทันสมัย สปป.ลาว ปี 65 พัฒนาเฟสแรกนาเตย 410 เฮกตาร์รับอุตสาหกรรมขั้นสูง

คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าอมตะ (AMATA)ได้รับการอนุมัติสัมปทานการพัฒนาที่ดินจำนวน 410 เฮกตาร์ (2,562.5 ไร่) จากรัฐบาล สปป.ลาว โดยได้เซ็นสัญญาร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย  โดยการลงทุนในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของอมตะกับการเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ครั้งแรกในสปป.ลาว เพื่อพัฒนาโครงการอมตะ สมารท์ แอนด์ อีโค ซิตี้ ที่นาเตย ในระยะแรกบนพื้นตามเป้าหมายการลงทุนทั้งหมดใน สปป. ลาว 200 ตารางกิโลเมตรโดยวางงบประมาณสำหรับการพัฒนาไว้จำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท อมตะซิตี้ ลาว จำกัด ( Amata City Lao Sole Company Limited ) ซึ่งอมตะถือหุ้น 100% โดยจะเริ่มดำเนินการพัฒนาภายในปี 2565 เน้นพัฒนาการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยนโยบายการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ ( Zero Waste Discharge ) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับ สปป.ลาว และคาดว่าจะสามารถเปิดรับนักลงทุนได้ภายในปี 2565

“ความสำเร็จในครั้งนี้ ขอขอบคุณ เจ้าแขวงคำไหล ศรีประเสริฐ ท่านคำจันทน์ วงคำแสน รองรัฐมนตรีกระทรวงแผนการและการลงทุน  หน่วยงานราชการทุกท่านที่ได้ร่วมในพิธีอย่างเป็นทางการในวันนี้ ขอยืนยันว่าอมตะจะเดินหน้าพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่สะอาด มีความทันสมัยและปลอดภัยที่สุดใน สปป.ลาว จากศักยภาพของอมตะที่ปัจจุบันมีโรงงานที่อยู่ในนิคมฯ ของประเทศไทย และเวียดนาม ประมาณ 1,400 โรงงาน มีจำนวนประชากรกว่า 300,000 คน คิดเป็น GDP มูลค่า 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะเชิญชวนโรงงานที่มีอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งไทยและเวียดนาม เข้ามาลงทุนในอมตะ สมารท์ แอนด์ อีโค ซิตี้ แห่งนี้   เพื่อร่วมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนในระยะยาว โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ คลังสินค้า โลจิสติกส์ เครื่องจักร การขนส่ง ผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก การแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ ยา (FMCG) เป็นต้น” คุณวิกรม กล่าว

ทั้งนี้การพัฒนาเมือง Smart City จะนำไปสู่การเป็นเมือง Low Carbon ในระยะยาวที่เป็นเทรนด์ของโลกโดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ( Smart City ) ของอมตะและการให้ความสำคัญกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนและทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นไปตามหลักการ All Win โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจโครงการนี้จะช่วยสร้าง GDP ของสปป. ลาวได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตามเพื่อให้โครงการดังกล่าวเป็นที่รู้จัก และเกิดการขยายลงทุนในอนาคตอมตะได้วางแผนเชิญชวนบริษัทระดับโลกต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐจากประเทศญี่ปุ่น ไทย และจีน เพื่อการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการ AMATA SMART & ECO CITY  โดยผ่านความร่วมมือกับเมืองอุตสาหกรรมโยโกฮาม่า และเจโทร เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการและเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ให้เข้ามาใน สปป ลาว และโครงการอมตะ ใน สปป.ลาว อีกด้วย

“เรามุ่งเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรทุกส่วนโดยเฉพาะจาก 5 ประเทศ อาทิ สปป.ลาว ไทย จีน ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ที่จะพัฒนาโครงการนี้ในส่วนต่าง ๆ โดยอยู่ระหว่างการหารือแนวทางความร่วมมือเพื่อที่จะทำให้ AMATA  SMART & ECO CITY ที่สปป.ลาวได้มีส่วนการยกระดับการค้าการลงทุนระหว่างไทยและสปป.ลาวให้มากยิ่งขึ้น โดยเงินลงทุนเบื้องต้นเราได้ลงนามความเข้าใจ กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้ง ของไทย สปป.ลาว และประเทศอื่น ๆ ที่พร้อมสนับสนุนด้านการเงินแล้ว” คุณวิกรม กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...