Toshiba นำ Cyber Resilience เสริมความแข็งแกร่งโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และอุตสาหกรรม

Toshiba ยกทัพโซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 โชว์เทคโนโลยีสุดล้ำลดความเสี่ยงทางไซเบอร์เสริมความแข็งแกร่งแก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและอุตสาหกรรม ตั้งเป้าขยายธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เจาะตลาดประเทศไทย

ปัจจุบันทั่วโลกเกิดเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแพร่หลายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางกายภาพเข้าสู่ระบบเครือข่าย ส่งผลให้ระบบควบคุมงานอุตสาหกรรม  (Industrial Control Systems: ICS) รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมระบบปิดที่มีความปลอดภัย ตกอยู่ในสภาวะเปราะบางและกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งความเสียหายทางการเงิน อุปกรณ์เครื่องจักรเองก็ไม่เพียงถูกทำลาย แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายด้านอื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมินค่าอีกด้วย อาทิ ความเสียหายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และชื่อเสียงขององค์กร

จากรายงานของ Statista บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค ระบุว่า ประเทศไทยมีการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยรวมเพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี 2558 และคาดว่างบประมาณในส่วนนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 0.07% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568  ด้วยเหตุที่ตลาดมีความต้องการมากขึ้น อีกทั้งภาครัฐยังออกกฎข้อบังคับเข้มงวดขึ้นเพื่อยกระดับการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลาดโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในประเทศไทยจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Toshiba ได้พัฒนาโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการบูรณาการจุดแข็งเรื่ององค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิตที่สั่งสมมากว่า 140 ปี ผสานเข้ากับความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้แนวทางพัฒนาแบบ Intelligence Centric ทำให้โซลูชันหลักๆ ของ Toshiba ไม่เพียงช่วยป้องกันเหตุโจมตีทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างให้ระบบมีความทนทานหรือยืดหยุ่นต่อการถูกโจมตี (Cyber Resilience) ทำให้ระบบยังสามารถกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์เหมือนเดิมอีกด้วย ทั้งนี้ จากการนำโซลูชันดังกล่าวไปใช้ในโรงงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลข้อมูล (Visualization) และการตรวจจับ (Detection) เหตุโจมตีแบบเรียลไทม์ ณ จุดเข้าระบบ (Entry point) และพื้นที่ต่างๆ ทั่วระบบได้ โดยจะทำการวิเคราะห์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นและคอยติดตามตรวจสอบสถานการณ์อย่างเข้มงวด ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบในภาพรวมสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อซัพพลายเออร์และผู้ใช้ปลายทางมากที่สุด

ล่าสุด Toshiba ได้นำโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์รุ่นเด่น มาร่วมจัดแสดงในงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 งานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ธุรกิจสตาร์ตอัป เอสเอ็มอี และบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ โซลูชันด้านความปลอดภัยสำหรับระบบควบคุม CYTHEMIS™, CyberX, WaterFall และ Meister Series ซึ่งรองรับการทำงานแบบเรียลไทม์ ทั้งการแสดงผลข้อมูล การตรวจจับภัยคุกคาม และการแจ้งเตือน รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลทางเดียวจากระบบเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology - OT) ไปสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้

มร.ทาคาชิ อามาโนะ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท โตชิบา      คอร์ปอเรชั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของข้อมูล บริษัท โตชิบา ดิจิทัล โซลูชันส์ คอร์ปอเรชั่น เผยว่า “ในฐานะศูนย์กลางการผลิตแถวหน้าของภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยถือเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญแห่งหนึ่งของ Toshiba ในการขยายธุรกิจ  โซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบครบวงจร ซึ่งเกิดจากการผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโลกไซเบอร์และเทคโนโลยีกายภาพของเราเข้าด้วยกัน ภายใต้กิจกรรมขายรูปแบบต่างๆ รวมถึงบริการภาคสนามของเราที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม Toshiba พร้อมแล้วที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในประเทศไทย ให้มีความทนทานหรือยืดหยุ่นต่อการถูกโจมตี (Cyber Resilience) ในลักษณะต่างๆ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...