จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future” ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภายในงานมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) พร้อมเปิดตัวระบบ “AI LUCA” และ “Virtual Patient” ที่พัฒนาร่วมกันอย่างเป็นทางการ

งาน “Chula-KBTG: AI for the Future” ในครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญในการนำเสนอเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการศึกษาที่มุ่งยกระดับกระบวนการเรียนการสอนและการพัฒนานิสิตนักศึกษาในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในบริบทของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

“AI LUCA” และ “Virtual Patient” คืออะไร ?

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ KBTG ได้ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีพัฒนา ระบบ AI LUCA นวัตกรรมสำหรับการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนการทำงานด้านวิชาการ วิชาชีพ และสังคม เช่น การสร้างคำถามข้อสอบ การตอบคำถามเชิงวิจัย และการอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไปจนถึงการเพิ่มระบบเข้าบัญชีเสริมความปลอดภัย การสร้างเมนูเฉพาะสำหรับอาจารย์ และการพัฒนาให้รองรับการใช้งานในหลากหลายสาขาวิชา ช่วยให้ทั้งนิสิตและคณาจารย์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ 

นอกจากนี้ยังร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ในการวิจัย ระบบ Virtual Patient หรือคนไข้จำลอง พัฒนาต้นแบบจำลองเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ เพื่อสร้างประสบการณ์และเสริมความเชี่ยวชาญให้แก่นักศึกษาแพทย์ เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สถานการณ์จริงในอนาคต

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนของจุฬาฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ KBTG เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับใช้ในการเรียนการสอน โดย AI ทั้งสองระบบที่จุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับ KBTG กำลังพัฒนาขึ้นนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นและนิมิตหมายอันดีสำหรับความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และ KBTG และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “Chula Power of Togetherness” มีวัตถุประสงค์หลักคือการสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนที่นำสมัย โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง และเพื่อขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่การเป็น “AI University” และการเป็น AI Hub ของภูมิภาคอาเซียนด้วย

“ในอนาคตอันใกล้ จะมีหลายอาชีพที่ถูกแทนที่ด้วย AI บทบาทของมหาวิทยาลัยในวันนี้ไม่ใช่เรื่องการศึกษา แต่เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศด้วย เราจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเอไอเป็นตัวเสริมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ” ศ.ดร.วิเลิศ กล่าว 

นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวเพิ่มเติมว่า KBTG มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัลที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้กับคนไทยทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ KBTG Kampus ที่เน้นพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไอที รวมถึงการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาเฉพาะทาง เช่น การแพทย์และการบัญชี เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมการศึกษา ไปสู่การใช้งานจริงในภาคสาธารณชนต่อไป

ทั้งนี้ ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) ในการผลักดันการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเน้นให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้อย่างเท่าเทียม ผนวกกับการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับชั้น (Education Inclusion) พร้อมเสริมสร้างบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ KBTG ในฐานะผู้นำด้านการศึกษาการพัฒนางานวิจัยด้าน AI และเทคโนโลยีทางไอที ตามแนวคิด Human-First x AI First ของ KBTG ที่ต้องการดึงศักยภาพสูงสุดของมนุษย์และ AI มาผสานเข้าด้วย เพื่อสร้างประโยชน์และส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า สังคม และประเทศ ตอกย้ำถึงบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและการศึกษาในระดับประเทศและระดับสากล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...