NIA ทุ่มงบ 50 ล้านสู้ COVID-19 ร่วมเภสัชจุฬาฯ ผลิตชุดตรวจเลือดผู้ป่วยทราบผลใน 15 นาที

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. มอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เตรียมจัดสรรงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพตอบโจทย์การแก้ปัญหาการระบาดเชื้อ COVID-19 

เผยได้ให้การสนับสนุนเงินทุนไปแล้ว 4 โครงการวงเงินรวม 16 ล้านบาท ได้แก่ โครงการเซฟที ไทยแลนด์ แอปพลิเคชันประมวลผลข้อมูลกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง ด้วยเทคโนโลยี  AI โครงการชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 จากเลือดของผู้ป่วย สามารถทราบผลได้ภายใน 15 นาที ที่ได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ้ำได้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันได้ทั้งการรับเชื้อโควิด-19 และฝุ่น MP 2.5 และระบบการบริหารอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ เชื่อมโยงกำลังการผลิตและยอดสินค้าคงเหลือจากแหล่งผลิต กับคำสั่งซื้อจากสถานพยาบาลและประชาชน อย่างไรก็ตาม ยังได้เปิดแพลตฟอร์ม “YMID Portal” เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “COVID-19” ที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านแนวทางการดูแลสุขภาพ และการใช้ชีวิตประจำวันในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.ymid.or.th 

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า กระทรวงฯได้มอบหมายให้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงด้วยนวัตกรรมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19 เน้นใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ระบบการติดตาม ตั้งแต่การเข้าประเทศผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบบสุขภาพทางไกล ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเดินทางมายังโรงพยาบาลด้วยการใช้การตอบรับ อัตโนมัติทางโทรศัพท์เพื่อเก็บประวัติและติดตามอาการ การเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น การระบุแผนที่ เพื่อแสดงตำแหน่งสิ่งของจำเป็นสำหรับประชาชน โดยจะเน้นการกระจายไปยังกลุ่มผู้ค้าส่งและปลีก และการบริหารจัดการอุปทาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ฯลฯ 

ด้าน ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA มีการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องทั้งในกลุ่มเฮลธ์เทคสตาร์ทอัพ และกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ล่าสุดได้มีการปรับแผนมามุ่งเน้นการแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยดึงงบประมาณ 50 ล้านบาท สำหรับสนับสนุนโครงการนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาใน 4 ด้าน ตามนโยบายของกระทรวง อว. ซึ่งได้มีการให้การสนับสนุนเงินทุนด้านวิชาการไปแล้ว 4 โครงการ วงเงินรวมกว่า 16 ล้านบาท แบ่งเป็นด้านระบบการติดตาม จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการเซฟที ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 เชิงรุก โดยการประมวลผลข้อมูลของกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มประชาชนทั่วไป ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถวางแผนการเดินทางที่เหมาะสมและปลอดภัยได้ 

ด้านระบบการบริหารจัดการอุปทาน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ ชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แบบรวดเร็ว จากเลือดของผู้ป่วย สามารถทราบผลได้ภายใน 15 นาที โดยอาศัยเทคโนโลยีที่พัฒนาจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้ากากอนามัยชนิดใช้ซ้ำได้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันได้ทั้งการรับเชื้อโควิด-19 และฝุ่น MP 2.5 และ ระบบการบริหารอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ ที่เชื่อมโยงกำลังการผลิตและยอดสินค้าคงเหลือจากแหล่งผลิต กับคำสั่งซื้อจากสถานพยาบาลและประชาชน เพื่อให้คลังสินค้ากลางสามารถจัดส่งสินค้าไปยังประชาชนและสถานพยาบาลได้โดยตรงตามคำสั่งซื้อที่แจ้งเข้ามาในระบบ ช่วยให้บริหารจัดการการกระจายสินค้าให้ไปสู่กลุ่มผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสมและทั่วถึงตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยสามารถรองรับการเข้าใช้งานของผู้ใช้ไม่น้อยกว่า 5 ล้านคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเริ่มใช้งานได้จริงก่อนเทศกาลสงกรานต์นี้

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า การสนับสนุนโครงการดังกล่าว NIA ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ มาทำงานร่วมกันทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โรงพยาบาลในสังกัด อว. เช่น โรงพยาบาลศิริราช รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ สวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลราชวิถี รวมไปถึงโรงพยาบาลในเครือ BMDS เพื่อร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มให้เกิดการส่งต่อนวัตกรรมอย่างครบวงจร ตอบโจทย์การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้เปิดแพลตฟอร์ม “YMID Portal” ภายใต้แคมเปญ Thai TeleHealth Fight Covid-19 เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “COVID-19” ที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ รวมถึงแนวทางการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวันในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.ymid.or.th หรือเฟซบุ๊คเพจ Yothi Medical Innovation District: ย่านนวัตกรรมทางการแพทย์ หรือไลน์แอด @YMID อีกทั้งจะมีบริการประชาชน และเชื่อมโยงโรงพยาบาลผ่าน InfoAID ปลายสัปดาห์นี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...