เครือซีพี เปิดตัว ‘รายงานสิทธิมนุษยชน’ ฉบับปฐมฤกษ์ ชูนโยบายปลูกฝังสิทธิมนุษยชนในองค์กร ไปจนถึงกลุ่มคู่ค้าธุรกิจ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของเครือฯ ได้ยึดมั่นในการทำธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนทั้งในธุรกิจของเครือฯ และตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเครือซีพีได้ตั้งเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนเป็น 1 ในยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือฯ และเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับโลก เครือซีพีจึงจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน หรือ Human Right Report ขึ้นเป็นฉบับแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของ UN Guiding Principles reporting Framework (UNGPRF) อย่างครอบคลุม โดยกำหนดเผยแพร่รายงานสิทธิมนุษยชนฉบับปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสิทธิมนุษยชนโลก เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการเคารพสิทธิมนุษยชนตามกรอบกติการะหว่างประเทศและกรอบกฎหมายในแต่ละประเทศที่เครือฯและบริษัทในเครือฯเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือ UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs)

“ผมคาดหวังว่ารายงานสิทธิมนุษยชนของเครือซีพี จะเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับเครือฯได้มีโอกาสรับรู้รับทราบและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเสนอข้อชี้แนะแก่เครือฯ เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของเครือซีพี และพันธมิตรธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน” ซีอีโอ เครือซีพี กล่าว

ด้านนายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือซีพีมุ่งมั่นในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ทรงสิทธิทุกกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ หรือการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนผ่านจรรยาบรรณธุรกิจ หรือ Code of Conduct   บังคับใช้กับพนักงานทุกคนในทุกบริษัท และ จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ หรือ Supplier Code of Conduct บังคับใช้กับคู่ค้าธุรกิจของเครือฯ อีกทั้งยังออกนโยบายต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ 1. นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน 2. นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน  3. นโยบายและแนวปฏิบัติในการจ้างแรงงานข้ามชาติ 4. นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5. นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ 6. นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส 7.นโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีด้านความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน  

ที่ผ่านมาเครือซีพีมีความมุ่งมั่นนำหลักสิทธิมนุษยชนสากลมาบูรณาการในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้าน หรือ Human Rights Due Diligence เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยา รวมทั้งยังส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานยึดตามหลักปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายงานสิทธิมนุษยชน เครือซีพี ได้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

ดาวน์โหลดรายงานฉบับภาษาไทยได้ที่: https://www.cpgroupglobal.com/th/heart/SD_Human-Rights-and-Labor-Practice

ดาวน์โหลดรายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ที่: https://www.cpgroupglobal.com/Heart/HumanRights

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...