CPF ส่งไก่ไทยไปอวกาศ ในโครงการ Thai food - Mission to Space ยกระดับไก่ไทยให้ได้มาตรฐานระดับอวกาศ

ภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปอวกาศครั้งนี้ ไก่ไทยต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศ ซึ่งก็คือมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารขั้นสูงระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศทานได้

CPF ประกาศส่งไก่ไทยไปอวกาศ ในโครงการ  Thai food - Mission to Space

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ประกาศภารกิจเตรียมส่งไก่ไทยไปพิชิตอวกาศ ในโครงการ Thai food - Mission to Space  โดยดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ บจก.มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี หรือ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เชิญผู้เชี่ยวชาญและอดีตนักบินอวกาศร่วมเสวนา 

ภายในงานดังกล่าวมีการจัดเวทีเสวนา Thai food - Mission to Space  เชิญกูรูจากไทยและต่างประเทศ มาร่วมเสวนา เพื่อขับเคลื่อนการพลิกโฉมอาหารไทยไปไกลสู่อวกาศ ด้วยความปลอดภัยมาตรฐานอวกาศในหลากหลายประเด็น

อาทิ ทำไมมาตรฐานอวกาศถึงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในมาตรฐานความปลอดภัยสูงที่สุด!! มาตรฐานอาหารของไทยที่ไปไกลถึงอวกาศมีความสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพที่ดีขึ้นของคนไทย นวัตกรรมที่ยกระดับวงการปศุสัตว์ไทยและโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต  

ซึ่งในงานเสวนาประกอบด้วย 

  • Mr. Michael Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA, Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานาน 34 ปี
  • รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์  อธิบดีกรมปศุสัตว์
  • ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • นายอาจวรงค์ จันทมาส นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และพิธีกรรายการดัง ”ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์” 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ เปิดเผยว่าการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สู่มาตรฐานอวกาศครั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นว่าเนื้อไก่ของซีพีเป็นหนึ่งในแบรนด์เนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดแล้วในโลก จึงตั้งเป้าใหญ่ที่จะพิชิตมาตรฐาน Space Food Safety Standard ให้เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยในโครงการ Thai food - Mission to Space

ด้าน Mr. Michael James Massimino อดีตนักบินอวกาศ NASA ร่วมบอกเล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตในสภาวะไร้น้ำหนัก และกล่าวว่า อาหารที่นักบินอวกาศต้องรับประทานนั้น ความปลอดภัยไร้สารตกค้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะจะส่งผลต่อสุขภาพนักบินอวกาศในระยะยาว และสารอาหารที่เหมาะสมก็มีผลอย่างมากต่อมวลกระดูกและกล้ามเนื้อของนักบินแต่ละคน

ดังนั้นอาหารหมวดโปรตีนจึงต้องมีการจัดเตรียมเป็นพิเศษ และที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่จะออกมาในรูปแบบอาหารแห้ง (dehydrate food) ที่ต้องเติมน้ำบนนั้น หรือแบบพร้อมทาน (ready-to-eat) ด้วยเทคโนโลยีรีทอร์ต (Retort) ที่สามารถแกะกินได้ทันที

แต่สิ่งที่ต่างกับขณะอยู่บนพื้นโลก คือ ลักษณะของอาหารและซอสต่างๆจะมีความข้นเหนียว เพื่อให้มันติดกับช้อนให้คุณกินได้สะดวก หรือกินจากแพ็คเกจเลย และอีกสิ่งที่แตกต่าง คือ เรื่องประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นของอาหารที่ลดลง ทำให้เรารับรู้รสชาติอาหารได้น้อยลง อาหารประเภท สไปซี่ฟู้ดจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักบิน

"Thaifood Mission to Space เป็นโครงการที่ดี ซึ่งไม่เพียงแต่นักบินอวกาศจะได้บริโภคอาหารที่หลากหลายและปลอดภัย ยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยทางอาหารแก่ผู้บริโภคทั่วโลก และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่เนื้อไก่ของไทยด้วย" Michael กล่าว

ส่วน Miss Vickie Kloeris นักวิทยาศาสตร์อาหารที่เคยทำงานในห้องวิจัยของ NASA มานานกว่า 34 ปี และเป็นผู้จัดการระบบอาหารสำหรับเที่ยวบินแรกสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) กล่าวว่า อาหารที่จะถูกส่งขึ้นไปกับนักบินอวกาศนั้น ต้องครบถ้วนทั้งด้านความปลอดภัยและโภชนาการ โดยมีเกณฑ์กำหนดจาก Nasa ที่เข้มงวดมากกว่าอาหารที่ขายทั่วไป

เพราะในอวกาศเป็นสถานที่ห่างไกลโรงพยาบาลและหมอมากที่สุด นักบินอวกาศจึงต้องปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างครอบคลุมตรงตามความต้องการของร่างกายของนักบินแต่ละบุคคล 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...