DPU X มธบ. เดินหน้าสร้าง Blockchain Community ในไทย

ในช่วง 3-5 ปีนับจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) อาจจะยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในแง่ของการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย เทียบเท่ากับต่างประเทศที่วันนี้เดินหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว ตัวอย่างเช่น MedRec นำเทคโนโลยีบล็อกเชน ใช้ในการจัดการประวัติการรักษาให้กับผู้ป่วยด้วย Ethereum บน Blockchain ช่วยให้การเข้าถึงประวัติการรักษาพยาบาลจากทุกโรงพยาบาลที่เคยไปรับการรักษาทำให้การวิเคราะห์ทำได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

แม้แต่การบริจาคและระดมทุนก็สามารถนำบล็อกเชนเข้าไปพัฒนาอย่างกรณีของ Helperbit Startup ในอิตาลี ที่ทำให้เส้นทางของเงินบริจาคตรวจสอบได้ว่าถูกส่งไปถึงคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ยังมีที่รับรู้กันอย่างมากกับการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลในแวดวงการเงินการธนาคารที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อย้อนมองกลับมาที่ประเทศไทย วันนี้นับว่ายังเพิ่งเริ่มต้น

เทคโนโลยีบล็อกเชนพัฒนาไปไกลมากแล้ว สิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งทำก็คือเร่งสร้าง “คน” ที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถต่อยอดบล็อกเชนสู่การทำงานได้จริงในภาคธุรกิจและสังคม

ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน และหนึ่งในทีมผู้สอนโครงการ Geeks on the Block(chain) Batch#1 โดย DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า จากนี้จะได้เห็นถึงการนำบล็อกเชนไปปรับใช้กับองค์กรต่างๆ มากขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนที่มีผลมาจากบล็อกเชน เช่น ที่สหรัฐอเมริกาเปิดให้ใช้ระบบการเงินออนไลน์ผ่านทาง Bitcoinทำให้การโอนเงิน จ่ายเงิน เกิดความความโปร่งใส และ ยืนยันความเป็นเจ้าของได้ ด้วยการทำงานที่รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ

ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน

จุดเริ่มต้นของหลักสูตร Geeks on the Block(chain) Batch#1 มีขึ้นเพื่อต้องการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล โดยเฉพาะนักพัฒนาโปรแกรมบล็อกเชนให้เข้าใจพื้นฐาน โครงสร้าง จนถึงการเขียนโปรแกรม (Coding) แล้วไปใช้ได้จริงในภาคธุรกิจ

Geeks on the Block(chain) Batch#1 เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ.2562  จนเดินทางมาถึงวัน Damo Day เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมี ทีมนำเสนอผลงาน กิจกรรมจัดขึ้นที่ True Digital Park ประกอบด้วย

  1. CannaBlock ทีมที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปบริหารจัดการ “กัญชา” เพื่อให้รู้เส้นทางตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงการแปรรูปและถึงมือผู้บริโภค
  2. Gross Domestic Happiness แนวคิดของการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ให้คะแนนความสุขของคนในประเทศ
  3. Real Time Democracy ทีมที่มองถึงความสำคัญของการใช้สิทธิของผู้บริโภคที่ไม่เฉพาะช่วงเวลาของการเลือกตั้งเท่านั้น
  4. Social Scoring แนวคิดการพัฒนาของทีมนี้เริ่มจากการให้คะแนนกับการทำดี โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการให้คะแนน
  5. TRAFFIX การจัดการปัญหาจราจรโดยดึงการใช้รถจากถนนเส้นหลักที่หนาแน่นไปสู่ถนนสายรองที่คล่องตัวมากกว่า  

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวถึงงาน Geeks on the Block(chain) Batch#1 DEMO Dayว่า หลังจากจบหลักสูตร บล็อกเชน ผู้เข้าอบรมจะต้องจัดทำโปรเจคจริง มีทั้งหมด กลุ่ม โปรเจคซึ่งสามารถนำไปใช้ได้เลย

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)

สำหรับโปรเจคเหล่านี้ถือเป็นการประยุกต์การใช้บล็อกเชนในหลายๆมิติ  หากกล่าวถึงบล็อกเชน ส่วนใหญ่คนจะทราบว่าเทคโนโลยีนี้มาแรงแต่ก็ยังไม่เข้าใจว่า บล็อกเชนจะเกี่ยวข้องกับชีวิตได้อย่างไร 

โปรเจคเหล่านี้จะเป็นการเปิดมุมมองว่า บล็อกเชนสามารถนำมาใช้ได้ในทุกธุรกิจ ขอแค่เข้าใจเท่านั้นเอง 

บล็อกเชนเป็นการรวมทุกอย่างมาในลูปนี้ โดยที่แต่ละคนสามารถใส่ข้อมูลอะไรเข้าไปได้ โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นๆ จะปลอดภัย

สิ่งสำคัญสำหรับบล็อกเชนคือ การสร้างความน่าเชื่อถือ อนาคตอาจจะตัดตัวกลางอะไรบางอย่างออกไปแต่อาจจะมีตัวกลางใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่ใช่ตัวกลางเดิม ซึ่งมันจะส่งผลกระทบต่อหลายๆ อุตสาหกรรมถ้าใครประยุกต์ใช้ได้ก่อนก็จะได้เปรียบคนอื่น

จากผลงานของผู้เข้าอบรม ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการ DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า วิธีการนำเสนอไม่ได้นำเสนอเฉพาะไอเดียโปรเจ็คเพียงอย่างเดียว แต่เรานำเสนอโค้ด แนวคิด ที่มาโครงสร้าง ของการเขียนโปรแกรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมสามารถโค้ดได้ วางแผน สตรัคเจอร์ แล้วเดโมงานได้

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการ DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ภาพรวมน่าสนใจอยู่ที่ บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจกว่าแต่ก่อนมาก เห็นได้จากงานนี้ก็มีคนมานั่งฟังการนำเสนอผลงานและต้องการทราบถึงคอนเซ็ปการเอาบล็อกเชนไปใช้ว่าทำอะไรได้บ้าง

ในงานยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง “ผู้รู้” ที่เชี่ยวชาญในโลกบล็อกเชน และผู้ที่สนใจ เกิดเป็นบรรยากาศของคอมมูนิตี้ที่ดี สร้างสรรค์ความคิด และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน

จาก บล็อกเชน คอมมูนิตี้ ที่เริ่มต้น ดร.พณชิต เชื่อว่า สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้าง “คนเก่ง” ในโลกของบล็อกเชนจะเป็นภารกิจสำคัญของ DPU X นับจากนี้  เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยี บล็อกเชน จะมาสร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างความเชื่อถือระหว่างกันมากขึ้น ส่งผลดีในระยะยาวในเชิงโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...