dtac เผย 6 ทักษะดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางเพศชูนโยบายความหลากหลายในองค์กร เนื่องในวันสตรีสากล

dtac เผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

คุณอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac กล่าวว่า ความเท่าเทียมทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงเป็นวงกว้างในระดับโลก เนื่องจากจำนวนเพศหญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังมีสัดส่วนที่น้อย เพราะอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีของเพศหญิง ขาดการสนับสนุนของภาครัฐ การขาดแบบอย่าง (Role model) ในตลาดแรงงาน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศที่เกิดขึ้น รัฐบาล มหาวิทยาลัยและเอกชนจึงควรสนับสนุน 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศในภาคเทคโนโลยี ได้แก่

1. ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer literacy) เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดทักษะทางดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกในการก้าวสู่สายอาชีพทางเทคโนโลยีชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนยังก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้หญิง ดังนั้น การมีความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ไอทีและความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเทคโนโลยีต่างๆ ได้

2. โปรแกรมมิ่ง (Programming) เป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงาน ซึ่งในสหรัฐอเมริกา รายได้ของโปรแกรมเมอร์สูงถึงปีละ 62,860-106,580 ดอลลาร์ต่อปี และที่สำคัญทักษะโปรแกรมมิ่งสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้จากคอร์สออนไลน์ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาในระดับมหาวิทยาลับรับรอง

3. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีความต้องการอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทคโนโลยี Smart Home ต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไร้คนขับกำลังได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้าในทุกปีๆ ซึ่งทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Machine learning, Deep learning และระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP)

4. เทคโนโลยีเสมือน (Virtual Reality: VR) กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมบันเทิงและการแพทย์ การเข้าใจเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยพัฒนากลยุทธ์และโมเดลทางธุรกิจ ตลอดจนโซลูชั่นใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งผู้หญิงสามารถร่วมกำหนดทิศทางไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมมิ่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจ และการตลาด

5. วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นศาสตร์ที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการทราบความต้องการของลูกค้าและตลาด นอกจากนี้ ยังมีการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมอีกด้วย

6. การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ถือเป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล เนื่องจากการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมีปริมาณมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น SEO Content marketing Video search Video content Conversion optimization เป็นต้น

“เพื่อลดช่องว่างทางเพศที่เกิดขึ้นในภาคเทคโนโลยี องค์กรต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการอบรมและให้คำปรึกษา (Mentorship) และการให้โอกาสที่เท่าเทียม เพื่อให้ผู้หญิงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต” คุณนาตาลีกล่าว

คุณอเล็กซานดรา กล่าวเสริมว่า เพื่อตอกย้ำจุดยืนของดีแทคในการสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างไม่เพียงเรื่องเพศ แต่ยังรวมไปถึงชาติพันธุ์ ศาสนา dtac จึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่สนับสนุนความหลากหลายในองค์กร (Diverse workplace) ต่างๆ เช่น นโยบายลาคลอด 6 เดือน สิ่งอำนวยความสะดวก การสร้างวัฒนธรรมเคารพในความแตกต่าง และนโยบายออฟฟิศปลอดภัย

“ความแตกต่างทางเพศนั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ตลอดจนการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่ง dtac ได้มุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศชายและหญิงผ่านนโยบายต่างๆ ที่สร้างสมดุลและเอื้อให้เกิดสภาวะการทำงานที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ตัวอย่างเช่น นโยบายลาคลอด 6 เดือน ซึ่ง dtac ถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้พนักงานที่มีบุตรสามารถลาคลอดได้ 6 เดือน โดยยังรับเงินเดือนเต็มอัตรา การอำนวยความสะดวกของคุณแม่ผ่านห้องให้นมบุตร ห้องเด็กเล่น เป็นต้น” คุณอเล็กซานดรา กล่าว

นอกจากนี้ dtac ยังมีแนวนโยบายในการสร้างออฟฟิศปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้และขั้นตอนการรายงานเมื่อเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน (Prevention to Sexual Harassment) ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งขององค์กร

“การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันจะเป็นกุญแจสำคัญของการความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในองค์กร และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า” คุณอเล็กซานดรา กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...