สภาดิจิทัลฯ เผยเเพร่คู่มือการจัดประชุม E-Meeting ช่วยเหลือธุรกิจช่วง COVID-19

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย จัดการประชุมสามัญประจำปี 2563  ภายใต้ E-Meeting เต็มรูปแบบครั้งแรก หลังรัฐบาลปลดล็อก พรก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมออกคู่มือวิธีการจัดประชุมออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย ระบุหลักปฏิบัติเรื่องการแสดงตนและการลงมติ ช่วยเหลือผู้ประกอบการบริษัทเอกชนให้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจได้ในท่ามกลางวิกฤตโควิด-19  อีกทั้งยังตอกย้ำพันธกิจชูเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขีดความสามารถประเทศ ยกระดับเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล 

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธาน สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภาดิจิทัลฯได้จัดประชุมสามัญประจำปี 2562 ขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการก่อตั้งสภาฯ โดยจัดประชุมในรูปแบบ E-Meeting  ตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 ซึ่งสภาดิจิทัลฯได้ผลักดันจนสำเร็จเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการบริษัทเอกชนที่ประสบปัญหาไม่สามารถจัดการประชุมฯบริษัทได้ในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในการประชุมสามัญประจำปี 2562 นี้มีวาระสำคัญคือการประกาศนโยบายและแผนงานของสภาฯที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไกลสู่สากล และให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดพฤติกรรม New normal ที่จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ หรือ New Economy พร้อมกันนี้สภาดิจิทัลฯได้ออกคู่มือวิธีการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่สอดคล้องกับพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริษัทเอกชนต่าง ๆ ได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องการแสดงตน และการลงมติ 

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือวิธีการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

ได้ที่ www.dct.or.th โดยหวังเป็นอย่างยิ่งจะช่วยให้แต่ละบริษัทสามารถจัดประชุมฯโดยเฉพาะในช่วงนี้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียน ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี 

สภาดิจิทัลฯมีวิสัยทัศน์ที่จะยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถประเทศ รวมไปถึงการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนในภูมิภาคโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยสภาดิจิทัลฯมีภารกิจสำคัญ 5 ประการคือ 1.กำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดใหม่แก่ประเทศไทย 2.สร้างความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 3.พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4.พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 5.เสริมสร้างให้ประเทศเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมของโลก

ทั้งนี้สภาดิจิทัลฯ มีสมาชิกที่เป็นสมาคมด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล 22 สมาคม ประกอบด้วยบุคคลและนิติบุคคลกว่า 4,000 ราย ครอบคลุมธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล ทั้งด้านฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ ด้านซอฟต์แวร์ ด้านบริการดิจิทัล ด้านดิจิทัลคอนเทนต์ และด้านบริการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสื่อสารในระบบดิจิทัล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...