EIC วิเคราะห์ทีมไทยลีกมาไกล แต่ยังไม่ใกล้ระดับโลก

ทีมฟุตบอลไทยลีกยิ่งเก่งรายได้ยิ่งดี แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรมฟุตบอลยังไม่มีกำไร อีไอซีทำการวิเคราะห์ข้อมูลรายบริษัททีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีกจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและข้อมูลสถิติเกี่ยวกับฟุตบอลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ พบว่า ในภาพรวม อุตสาหกรรมฟุตบอลไทยมีการเติบโตต่อเนื่องในแง่ของรายได้ โดยในปี 2017 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย (ที่มีข้อมูลงบการเงิน) อยู่ที่ราว 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2014 ที่อยู่ที่ราว 1.9 พันล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.5% ต่อปี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของรายได้ของทีมฟุตบอลกับอันดับผลงานในไทยลีกของแต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มที่จะมีรายได้สูง โดยรายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2017 คิดเป็น 55% ของรายได้รวมในปีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทีมฟุตบอลในไทยลีกยังคงมีผลประกอบการขาดทุน โดยมีทีมฟุตบอลไทยในไทยลีกมากกว่าครึ่งที่ยังมีผลประกอบการขาดทุนในปี 2560

มูลค่านักฟุตบอลไทยลีกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมักจะอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี อีไอซีพบว่ามูลค่านักฟุตบอลที่เล่นในไทยลีกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมูลค่านักฟุตบอลชาวไทยในปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) คิดเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี ขณะที่มูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติจึงเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2014 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562

หากพิจารณามูลค่านักฟุตบอลกับอันดับของทีม พบว่า โดยเฉลี่ยนักฟุตบอลที่มีราคาสูงมักอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้อาจมาจากหลายเหตุผล เช่น ทีมที่มีอันดับดีมีความสามารถทางการเงินสูงกว่าในการซื้อนักฟุตบอล หรือ นักฟุตบอลที่มีราคาสูงมีความต้องการเล่นให้ทีมอันดับดี หรือ ทีมอันดับดีนักฟุตบอลจึงมีผลงานส่วนตัวดีไปด้วยซึ่งส่งผลให้มูลค่าของนักฟุตบอลเพิ่มสูงขึ้น หรือ นักฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสามารถช่วยให้ทีมมีอันดับที่ดีได้ เป็นต้น นอกจากนี้ อีไอซีพบว่า ค่าเฉลี่ยของการเลือกใช้นักฟุตบอลของทีมในไทยลีกมีลักษณะที่เปลี่ยนไป จากที่ทีมมักจะมีนักฟุตบอลที่แพงเกินคนอื่น ๆ ในทีม กลายมาเป็นลักษณะที่ทีมจะมีนักฟุตบอลที่มีมูลค่าใกล้เคียงกันมากขึ้นโดยเฉลี่ย ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสะท้อนผลของการเปลี่ยนกฎการเพิ่มโควตานักฟุตบอลชาติอาเซียนในปี 2561 โดยนักฟุตบอลชาติอาเซียนมีมูลค่าต่ำกว่านักฟุตบอลต่างชาติที่ไม่ใช่อาเซียนและใกล้เคียงกับมูลค่านักฟุตบอลชาวไทย ทั้งทีมและนักฟุตบอลในไทยลีกยังอยู่ห่างจากระดับโลก เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลแล้วจะพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ และโดยเฉพาะเมื่อพิจารณามูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว โดยมูลค่าทีมที่สูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมที่สูงที่สุดในโลก 157 เท่า ขณะที่ ในด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดในไทย ห่างจาก มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดของโลกถึง 200 เท่า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...