SMEs Growth ประสบความสำเร็จ พลิก SMEs ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน (EEC - ภาคใต้) : ปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่เศรษฐกิจดิจิทัล

โครงการยกระดับนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพื้นที่ (EEC - ภาคใต้) “SMEs GROWTH” พลิก SMEs ไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน สร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จด้วยการนำพาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ ภาคใต้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของเทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยความมุ่งมั่นของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ที่ทุกภาคส่วนมีความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ ได้อย่างมั่นใจและมั่นคงปลอดภัย ได้จัดทำโครงการยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และภาคใต้ มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับหน่วยงาน และธุรกิจ โดยให้ความสำคัญไปที่การแก้ไขปัญหาในการ Transformation เชิงพื้นที่ ร่วมยกระดับศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงผู้พัฒนานวัตกรรม (Service Provider) ที่ ETDA มีความตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการพัฒนาทักษะ และความรู้ด้านดิจิทัล การเชื่อมโยง และสร้างเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)

โครงการ “SMEs GROWTH” จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของ SMEs ในพื้นที่ ที่ช่วยยกระดับ และต่อยอดความสามารถทางดิจิทัลของ SMEs ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และภาคใต้เติบโตมากขึ้น ภายใต้แนวคิด พลิกโฉม SMEs ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

จุดประกายเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

โดยโครงการนี้ เปรียบเสมือนกุญแจที่ไขประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยได้มีการสรุปผลการประเมินโครงการ ทำการสำรวจผลกระทบจากการดำเนินโครงการจาก SMEs 23 บริษัท และ Tech Provider 9 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้าร่วมโครงการโดยแบ่งเป็นผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อม

ผลกระทบทางตรงแบ่งเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ มิติผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม และมิติผลกระทบเชิงสังคม โดยในการสำรวจผลกระทบ จะดำเนินการสำรวจผลกระทบกับผู้เข้าร่วมโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มผู้ให้บริการเทคโนโลยีหรือ Technology Provider โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs จะทำการสำรวจมิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ มิติผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม และมิติผลกระทบเชิงสังคม ส่วนผู้ให้บริการเทคโนโลยีจะสำรวจมิติผลกระทบเชิงเศรษฐกิจโดยรวม ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถเพิ่มยอดขายได้กว่า 30% หลังจากนำระบบการสั่งอาหารออนไลน์มาใช้ ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยีก็ได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดสงขลา ที่สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ได้สำเร็จ จึงเป็นที่ยืนยันได้ถึงประสิทธิภาพของโครงการในการกระตุ้นเศรษฐกิจในวงกว้าง SMEs ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ตัวโครงการฯ ยังมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้ทราบว่าเกิด การจ้างงานในชุมชนที่เพิ่มขึ้นกว่า 2.6 ล้านบาท ช่วยสร้างโอกาสให้กับคนในท้องถิ่นได้มีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น การนำระบบ IoT มาใช้ในการจัดการพลังงานในโรงงาน ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เสียงตอบรับเชิงบวกจากผู้เข้าร่วมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการฯ ยังได้รับการยืนยันจากเสียงตอบรับเชิงบวกของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้ง SMEs และผู้ให้บริการเทคโนโลยีต่างแสดงความพึงพอใจต่อโครงการฯ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการ SMEs รู้สึกว่าโครงการฯ ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีก็ได้รับโอกาสในการขยายตลาดและสร้างความร่วมมือกับ SMEs ในพื้นที่

ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของโครงการฯ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกและภาคใต้ โครงการฯ จะยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างให้พื้นที่เป้าหมายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ https://www.etda.or.th หรือ  เฟซบุ๊ค ETDA Thailand


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...