Grab ประเทศไทยเดินหน้าสู่การเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย E-wallet

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อ การติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังเรียกได้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลกเช่นกัน โดยมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2568

สำหรับในประเทศไทย ได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความได้เปรียบจากการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน จากการที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ ไทยแลนด์ 4.0 การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึงจึงเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ทั้งนี้ในระหว่างงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2019 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบิ๊กดาต้าและการเชื่อมโยงระหว่างกันแบบไร้รอยต่อระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อผลักดันการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

ในการที่ Grab เป็นแอปสำหรับทุกความต้องการในทุกวันของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Grab มีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนการเข้าถึงรวมถึงสร้างทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญคือการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนในประเทศ

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 30 ของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารและนิยมใช้เงินสดในการจับจ่ายซื้อของ ในขณะที่ร้อยละ 80 นิยมใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อยู่ที่ 50,000 ล้านบาทในแต่ละปี   

“อีโคซิสเต็มของ Grab ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หนึ่งในปัญหาที่เราเห็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยคือการบริการชำระเงิน เนื่องจากการชำระเงินเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันทำให้ระบบอีโคซิสเต็มของ Grab  มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ไม่ว่าผู้บริโภคจะใช้บริการใดของ Grab  ก็ตาม โดยมีวิสัยทัศน์ในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงประกันหรือเครดิตให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ การที่ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กแล้ว ยังเป็นการตอบสนองแนวทางของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยในการเดินหน้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วย” นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ โรจน์ กรรมการผู้จัดการ Grab pay ประจำประเทศไทย Grab  ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวในขณะการเสวนาระหว่างงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2019

“Grab มีความมุ่งมั่นในการร่วมมือกับพันธมิตรและการปรับบริการของเราให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่เราดำเนินธุรกิจอยู่ นอกจากข้อมูลทางด้านเทคนิคแล้ว เรายังให้ความสำคัญในการศึกษาความต้องการของลูกค้าด้วย และด้วยกลยุทธ์การประยุกต์สินค้าหรือบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่น (Hyperlocal) ของ Grab นี่เองทำให้เราสามารถพัฒนาการให้บริการของเราให้ตอบสนองความต้องการในทุกวันของผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

“Grab เปิดให้บริการ Grab pay e-wallet พาวเวอร์ บาย เคแบงก์ ในประเทศไทย เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าสามารถชำระเงินสำหรับทุกบริการในแอปพลิเคชันของเราได้อย่างไร้ร้อยต่อ ทั้งนี้บริการ Grab pay e-wallet พาวเวอร์ บาย เคแบงก์ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีจนทำให้บริการ e-wallet ในประเทศไทยเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน 6 ประเทศที่ Grab ดำเนินธุรกิจอยู่”

“กล่าวได้ว่านอกจากความสะดวกสบายและประสิทธิภาพแล้ว การชำระเงินเป็นบริการหลักที่สนับสนุนบริการอื่นในแอปพลิเคชัน Grab  ในปัจจุบัน เรากำลังร่วมมือมือกับธนาคารกสิกรไทยสำหรับการให้บริการการกู้ยืมให้กับพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง” 

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ Grab pay ประจำประเทศไทย Grab ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจการธนาคารกว่า17 ปี โดยเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายบริหารธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 9 ปี ทำให้มีโอกาสดูแลและรับผิดชอบธุรกิจการธนาคารในหลายๆ ส่วน รวมถึงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และสถาบัน การชำระเงิน บัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคและฟินเทค ในปัจจุบัน นายวรฉัตรจะรับผิดชอบดูแลด้านการขยายธุรกิจของ Grab ไฟแนนเชียล รวมถึงสร้างการเติบโตผ่านทางนวัตกรรมทางการเงิน

สำหรับอนาคตของ Grab pay e-wallet นั้น  นายวรฉัตรกล่าวว่า “การช่วยให้ผู้ใช้บริการของ Grab ได้ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายขึ้นเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่เราเปิดตัวโซลูชั่นส์ใหม่ๆ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนั้น เราก็เดินหน้าในการเสริมประสิทธิภาพการใช้งานบริการ e-wallet ให้กับลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถใช้งาน e-wallet ได้อย่างไร้รอยต่อเช่นกัน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...