Haier ผนึก SEAC เสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระดับโลก จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) ร่วมกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) จัดตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างผู้นำด้านนวัตกรรมองค์กรและการเรียนรู้เชิงประยุกต์ระดับภูมิภาค ก่อเกิดเป็นประโยชน์ในการต่อยอดสำหรับองค์กรรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในอนาคต 

haier seac

เมืองชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน และ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กลุ่มบริษัทไฮเออร์ (Haier) และ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน ในระดับประเทศและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดำเนินโครงการให้องค์กรขนาดเล็กและใหญ่สามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนทางธุรกิจ ผ่านการออกแบบองค์กร การจัดการนวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือครั้งนี้เกิดจากการผนึกกำลังของสององค์กรชั้นนำที่ต้องการสร้างสรรค์ระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มร.จาง รุ่ยหมิ่น ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทไฮเออร์ กล่าวว่า “ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) และศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ที่ต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ก่อเกิดคุณค่าทั้งตัวองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องของทั้งสององค์กร ซึ่งได้วางเป้าหมายร่วมกัน คือ การยกระดับคุณค่าของ ทั้งสององค์กร โดยการสร้างพันธมิตรในระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ ผ่านความร่วมมือและการสร้างสรรค์นวัตกรรม อย่างไร้ขีดจำกัด”

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมงานกับ สถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ปรับให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละองค์กร เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่น ผ่านความเป็นผู้นำองค์กร ซึ่งวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ และเร่งการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ด้านการจัดส่งสินค้า การปฏิรูปห่วงโซ่อุปทาน จนเกิดเป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และต่อการศึกษาของประเทศไทย ทั้งนี้ จากการ เก็บข้อมูลของลูกค้า ทำให้เราค้นพบโอกาสในการก่อตั้งศูนย์วิจัยและจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเปิดโอกาสให้องค์กรระดับภูมิภาคเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ผ่านการวางแผน และรังสรรค์นวัตกรรมในระดับองค์กร เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ได้ พร้อมทั้ง สร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเสริมศักยภาพความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...