IBM เปิดโครงการ Call for Code Global Challenge ร่วมรับมือสถานการณ์ COVID-19

IBM เปิดโครงการ Call for Code Global Challenge ประจำปี 2563 พร้อมประกาศขยายขอบเขตให้ครอบคลุมประเด็นเรื่อง COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังหวั่นกลัวตอนนี้ โดยเพิ่มเติมจากประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งสองประเด็นล้วนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โลก และการอยู่รอดของมนุษย์

นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นในปี 2561 Call for Code ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการกับปัญหาท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เริ่มจากการบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การรับมือกับความจริงอันโหดร้ายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนถึง COVID-19 ในปัจจุบัน โดย COVID-19 กำลังแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของระบบที่เรามักมองข้ามมาโดยตลอด 

โครงการ Call for Code Global Challenge จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยเป็นหนึ่งในการแข่งขันสำหรับนักพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจุดประสงค์ในการสร้างโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยีแบบโอเพนซอร์ส เช่น Red Hat OpenShift, IBM Cloud, IBM Watson, IBM Blockchain และข้อมูลจาก The Weather Company ในระดับที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง โดยในปี 2562 มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 180,000 รายจาก 165 ประเทศ และได้สร้างเป็นแอพพลิเคชันมากกว่า 5,000 แอพที่เน้นเรื่องความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและการบรรเทาภัยต่างๆ 

ในประเด็นเกี่ยวกับ COVID-19 ในปีนี้นั้น Call for Code Global Challenge จะเน้นไปที่เรื่องการติดต่อสื่อสารในช่วงวิกฤติ การศึกษาจากระยะไกล และการให้ความร่วมมือในชุมชน โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องเหล่านี้และรับ Starter Kit เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาในด้านที่ส่งผลกระทบสูงได้อย่างตรงจุด ได้ที่ callforcode.org โดย Starter Kit แต่ละชุดจะประกอบด้วยคำอธิบายเกี่ยวกับโซลูชัน แผนผังเชิงสถาปัตยกรรม และบทเรียนพร้อมด้วยโค้ดเริ่มต้นและเอกสารอ้างอิง ที่จะช่วยให้นักพัฒนาเริ่มสร้างผลงานได้ในเวลาไม่กี่นาที  

ผลงานที่ชนะการแข่งขัน Call for Code Global Challenge ปี 2563 จะได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ให้ใช้งานทาง Code and Response ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่ไอบีเอ็มลงทุนถึง 25 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้าง พัฒนา ทดสอบ และเปิดตัวโซลูชันเทคโนโลยีแบบโอเพนซอร์ส โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือชุมชนในยามที่ต้องการ ซึ่งต่างจากพันธมิตรการกุศลรายอื่นๆ ที่สนับสนุนเงินทุนให้กับโครงการริเริ่มเพียงอย่างเดียว

ทีมผู้ชนะเลิศโครงการ Call for Code Global Challenge ในปีที่แล้วคือ Prometeo ได้สร้างอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่สามารถตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันไฟ ความชื้น และอุณหภูมิ เพื่อติดตามความปลอดภัยของนักผจญเพลิงแบบเรียลไทม์ โดย Prometeo ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมงานที่ประกอบด้วยนักผจญเพลิงที่มีประสบการณ์ พยาบาลกู้ชีพ และนักพัฒนาอีกสามท่าน และ Promoteo ได้ทำการทดสอบภาคสนามกับไฟป่าเป็นครั้งแรกร่วมกับพันธมิตร ระหว่างการเผาป่าที่มีการควบคุมใกล้กับเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

“วันนี้เราได้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับปัญหาภัยพิบัติ รวมถึงผลกระทบอันเกิดจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังหวั่นวิตก ไม่เพียงแต่การแก้ปัญหาในปัจจุบันแต่ยังรวมถึงการเตรียมความพร้อมในอนาคตด้วย” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว “ไอบีเอ็มมีความมุ่งมั่นที่จะทำความเข้าใจปัญหา และพัฒนาเครื่องมือสำหรับการใช้งานในวงกว้างเพื่อช่วยรักษาชีวิตมนุษย์ เสริมศักยภาพมนุษย์ และสร้างโลกที่ดีกว่าให้กับคนในยุคต่อไป และวันนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่เราจะร่วมผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...