iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้วยความพร้อมในการให้คำปรึกษาและโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับพันธมิตรระดับโลก

iNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ โดยให้ความสำคัญ อย่างยิ่งกับการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัยให้ถูกนำไปสร้างเป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ในปัจจุบัน iNT มีเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ พร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมการนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้สามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ของตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ 

บริการของ iNT ที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น

การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาและให้บริการด้านการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า พร้อมผลักดันและส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือ Licensing Commercialization เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย

การสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะธุรกิจ Startup : Entrepreneurial Ecosystem 

ด้วยหลากหลายโครงการที่จะส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษามีแนวคิดในการเป็นเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Incubation Program บ่มเพาะ Startup  โครงการ iNT Accelerate การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Technology) ผ่านกระบวนเร่งสปีดที่เรียกว่า Acceleration Program รวมไปถึงการให้บริการพื้นที่ Co-Working Space ภายใต้ชื่อ MaSHARES นอกจากนี้ทางสถาบัน iNT ยังมีการจัดหาทุนสนับสนุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม เพื่อนำทุนไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต อาทิ ทุน Innovation Fund เพื่อพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์, Youth Startup Fund, ทุน Talent Mobility ที่ให้อาจารย์นักวิจัยได้ไปทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรร

การเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ด้านบริการวิจัยและวิชาการ 

โดยมีการจัดตั้งศูนย์ย่อยในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม คือ ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) เป็นศูนย์การในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม

โดย iNT มีพาร์ทเนอร์มากมาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น และ หน่วยงานเอกชน อาทิเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, SCG  เป็นต้น

เครือข่ายพาร์ทเนอร์เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบัน iNT สู่การเป็นศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ พร้อมขับเคลื่อนสนับสนุนต่อยอดนวัตกรรมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก สร้าง Real World Impact สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...