เมื่อ Internet of Things มีข้อดีมากกว่าที่เราคิด

คุณ Alan Hsu รองประธานกรรมการองค์กรและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจการเชื่อมต่ออัจฉริยะแห่ง MediaTek ได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้คำว่า IoT หรือ Internet of Things ในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสนได้ อีกทั้งระบบ IoT ยังผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีและแนวคิดที่แตกต่างออกไปหลากหลายรูปแบบ เช่น อุตสาหกรรม 4.0 เกษตรกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ และล่าสุดคือ Metaverse เป็นต้น 

เมื่อ Internet of Things มีข้อดีมากกว่าที่เราคิด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึง Internet of Things บ่อยครั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ วิดีโอออนไลน์ งานกิจกรรมต่างๆ โดยทุกคนมักพูดถึงว่า IoT กำลังเป็นที่นิยม แต่จริงๆ แล้ว IoT คืออะไรกันแน่ อันที่จริง IoT ก็คือความสามารถในการเพิ่มการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับสิ่งใดก็ได้ แต่ในบางกรณี เราก็ยังบอกไม่ได้ในทันทีว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์อะไรจาก IoT บ้าง

และมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า IoT อาจค่อยๆ หายไปเพราะตัวมันเองขาดความเฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภายในปี 2568 “สิ่งของ” จำนวนกว่าสองหมื่นห้าพันล้านรายการทั่วโลกจะเชื่อมต่อกับระบบอัจฉริยะ และคาดว่า "สิ่งของ" เหล่านี้จะสร้างปริมาณข้อมูลเทียบเท่า 50 ล้านล้านกิกะไบต์ รวมถึงสร้างมูลค่าประมาณ 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่เศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า

นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจและดึงดูดให้กลุ่มบริษัทรุกเข้ามาหาช่องทางในตลาดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังจะมีความเป็นไปได้และโอกาสอีกมากมายมหาศาล รวมถึงจะเกิดการค้นหาว่ายังมีโอกาสใดอีกบ้าง และผลิตภัณฑ์สุดท้ายใดบ้างที่เราต้องการให้มีการเชื่อมต่อจริงๆ ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งที่ MediaTek เราทำให้แนวคิดนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยพลิกโฉมให้ Internet of Things เป็นสิ่งที่ทำได้จริงและกลายเป็นสิ่งจำเป็น 

IoT ก็มีความหลากหลายพอๆ กับอุตสาหกรรมที่ต้องนำ IoT ไปใช้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มากยิ่งขึ้น เช่น อุตสาหกรรม4.0 เกษตรกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์สวมใส่ ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและสุขภาวะ บ้านที่มีการเชื่อมต่อ เครื่องใช้ในบ้านที่มีการเชื่อมต่อ ฯลฯ นั่นก็เพราะว่าแต่ละผลิตภัณฑ์มีวิธีแก้ปัญหาและโอกาสที่แตกต่างกันออกไป

เราได้ค้นพบว่าในแต่ละภาคส่วนมีทั้งโอกาส Use Case ที่หลากหลาย เทคโนโลยี SoC ประเภทการเชื่อมต่อ และสถาปัตยกรรมในระบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในตอนนี้เราก็ยังไม่ได้พูดถึงประเด็นอื่นๆ อีก เช่น ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็จะมีวิธีการรับมือที่ไม่เหมือนกัน  

หากลองพิจารณาด้านเทคนิคแล้ว เรามีเทคโนโลยี LPWAN (Low Power Wide Area Network) ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในเมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยีสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น การวัดพลังงาน ก๊าซ และน้ำ จากระยะไกล ตลอดจนไฟส่องสว่างอัจฉริยะ นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ให้บริการและเขตเทศบาลประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถตรวจสอบพลังงานในระดับที่ไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน

เทคโนโลยี Wi-Fi ใหม่ (6, 6E และ 7) สามารถประยุกต์ใช้กับแอปพลิเคชั่นภายในอาคารได้มากกว่าเดิม เช่น HMIs  การชำระเงินอัจฉริยะ ป้ายอัจฉริยะ เกตเวย์ และเราเตอร์ ซึ่งมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมที่ปลอดภัย สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงมีพลังในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม 4.0 และ Metaverse มาก นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่มีการใช้งาน Wi-Fi จะมีการเชื่อมต่อด้วยแอปพลิเคชั่นที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางทั้งหมด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ ความบันเทิง ฟิตเนสอัจฉริยะ และความปลอดภัยภายในบ้าน ซึ่งจะกลายมาเป็นสิ่งที่คนให้ความสนใจเป็นหลัก โดยภาคส่วนนี้ยังได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งช่วยให้สร้างโซลูชั่นที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

โทรศัพท์มือถือและ 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศจะมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยและย่นระยะเวลาการเดินทางในเมืองใหญ่

เมื่อพิจารณาถึง IoT ในแง่มุมนี้ เราตระหนักดีว่าของขนาดเดียวไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งย้อนแย้งกับความหมายของ IoT  การที่มีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเชื่อมต่อ และความเชี่ยวชาญด้าน AI ล้วนมีความสำคัญและมีบทบาทแตกต่างกันในการนำการเชื่อมต่อและความชาญฉลาดมาสู่สิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวเรา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...