ผลสำรวจเผยอุปกรณ์ IoT ในบ้าน แถบเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เสี่ยงถูกโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้น

ผู้ก่อการร้ายบนไซเบอร์รู้ดีว่าช่องโหว่เล็กๆ เพียงช่องเดียวจากเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์ IoT ทำให้สามารถปล่อยแรนซัมแวร์เข้าโจมตีเครือข่ายองค์กรได้ ทั้งนี้ จากการสำรวจกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องระบบไอที ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เปิดเผยว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิค (รวมญี่ปุ่น) ซึ่งมีอุปกรณ์ IoT ต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายขององค์กร รายงานว่า มีอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ใช่งานธุรกิจต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายองค์กรเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น หลอดไฟอัจฉริยะ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ อุปกรณ์ออกกำลังกาย เครื่องชงกาแฟ เครื่องเล่นเกม รวมถึงเครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในรายการอุปกรณ์ที่แปลกประหลาดที่สุด ที่อยู่บนเครือข่ายจากการสำรวจดังกล่าว 

ผู้ตอบแบบสำรวจได้เตือนถึงความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความปลอดภัย เพื่อปกป้องเครือข่ายขององค์กรจากอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้ใช้งานทางธุรกิจ โดย 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ระบบความปลอดภัยขององค์กรต่อการต่อเชื่อมอุปกรณ์ IoT จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง และ 3 ใน 10 (30%) กล่าวว่าจำเป็นต้องยกเครื่องระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุดในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วย การป้องกันภัยคุกคาม (57%) การประเมินความเสี่ยง (57%)  การคัดแยกอุปกรณ์  IoT สำหรับทีมรักษาความปลอดภัย (60%) และการมองเห็นอุปกรณ์และสินค้าคงคลัง (56%)

วิคกี้ เรย์ นักวิจัยหลัก ประจำ Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า “การนำเอา IoT มาใช้งานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน แต่ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งนายจ้างและพนักงานจำเป็นต้องร่วมกันรับผิดชอบในการปกป้องเครือข่ายองค์กร”  พร้อมเสริมว่า  “พนักงานที่ทำงานจากระยะไกล หรือทำงานจากบ้านจำเป็นต้องตระหนักถึงอุปกรณ์ IoT ซึ่งอาจเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายองค์กรผ่านเราเตอร์ที่บ้าน องค์กรจำเป็นต้องตรวจสอบภัยคุกคามและการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรให้รัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงการแบ่งกลุ่มเครือข่ายองค์กรให้เหมาะสม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน ที่ทำงานจากระยะไกลและปกป้องทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร

ทั้งนี้ การสำรวจการต่อเชื่อมอุปกรณ์ IoT เข้ากับเครือข่ายองค์กรกับกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิค (รวมญี่ปุ่น) ผลการสำรวจปรากฎว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง (53%) ระบุว่า ได้แยกเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT ออกจากเครือข่ายหลัก และแอปพลิเคชั่นใช้งานหลักขององค์กร  (เช่น ระบบเอชอาร์ อีเมลเซิฟร์ฟเวอร์ ระบบการเงิน เป็นต้น) และ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถาม แยกอุปกรณ์ IoT ไว้ต่างหากในโซนระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีที่องค์กรธุรกิจนำไปใช้ในการแยกโซนอุปกรณ์ IoT ไว้ต่างหากเพื่อควบคุมมาตรการการรักษาความปอลดภัย และหลีกเลี่ยงการโจมตีเครือข่ายองค์กรจากกลุ่มแฮกเกอร์


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...