KPMG วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในปี 2019

KPMG รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความท้าทายในการเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นความท้าทายที่ผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เจ้าของ นักลงทุน ผู้บริหารจัดการ และนักวางแผน จะเผชิญในปัจจุบันและอนาคต

ในรายงานพยากรณ์แนวโน้มเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (Emerging Trends) พบว่าปีนี้จะเป็นปีที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

“ปีนี้จะเป็นปีที่ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (data & analytics) เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นปีที่การตัดสินใจโดยอ้างอิงจากการใช้หลักฐานมากขึ้น เป็นปีที่แต่ละองค์กรจะใช้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่โอกาส และการตัดสินใจที่สำคัญ” ริชาร์ด เธรลฟอลล์ ประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

“ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดี ถ้าการตัดสินใจอ้างอิงจากหลักฐานข้อมูลมากขึ้น จะทำให้เล็งเห็นโอกาสและทางเลือกมากขึ้นกว่าก่อน และพอตัดสินใจได้ดีขึ้น ก็จะมีแนวโน้มว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจมากขึ้น” เธรลฟอลล์ กล่าว

ทางทีมผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานของเคพีเอ็มจีได้วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในปี 2019 (Emerging Trends 2019) รายงานนี้อธิบายถึงความเป็นมาของแนวโน้มหลักๆ 10 อย่างด้วยกัน และยังได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกว่าแนวโน้มเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประกอบกับให้คำแนะนำกับผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อจะสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“ผู้ที่สามารถรับมือกับแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเข้าใจผลกระทบในวงกว้าง จะสามารถตัดสินใจได้แม่นยำ และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้” เธรลฟอลล์ กล่าว

โดยแนวโน้มที่จะต้องจับตามองในปีนี้ ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานมีดังนี้

1. ภาครัฐกลับมามีบทบาทมากขึ้นอีกครั้ง โมเดลธุรกิจและโซลูชั่นใหม่ๆ เริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานดั้งเดิมของเจ้าหน้าที่และผู้กำกับด้านกฎระเบียบ ดังนั้นรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับภาคเอกชนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. ข้อมูลจะเป็นแรงขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบถ้วนและเข้าถึงง่ายขึ้นจะทำให้ผู้ทำกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหาข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลอดวงจรการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน

3. เมกะโปรเจกต์จะมีความท้าทายมากขึ้น เพื่อที่จะป้องกันผลกระทบเชิงลบจากสภาวะทางการเมืองและความกดดันทางการเงิน ผู้ดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ควรต้องเปรียบเทียบสมรรถนะ (benchmarking) กับโครงการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน และเรียนรู้จากบทเรียนของโครงการอื่นๆ ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

4. ธุรกิจต่างสนใจในตลาดที่กำลังขยายตัว เมื่อมีความต้องการในการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในตลาดที่กำลังขยายตัว นโยบายของภาครัฐก็เริ่มที่จะให้ความสำคัญกับการคัดเลือก เตรียมการ และรับมอบโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น

5. ยอมรับในหลักฐาน เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนตัดสินใจด้านโครงสร้างพื้นฐานจะมีกระบวนการตัดสินใจที่ครบถ้วน และอ้างอิงจากหลักฐานข้อมูลมากขึ้น ทำให้สามารถตอบโจทย์และความต้องการของสังคมได้ดีขึ้น

6. ความยั่งยืนได้รับความสนใจจากสังคม ในขณะที่นโยบายด้านความยั่งยืนก้าวหน้าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สังคมจะกดดันและเพ่งเล็งเรื่องความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การส่งมอบ การซ่อมบำรุง และการจัดหางบประมาณ

7. ความก้าวหน้าชนะความแตกแยก ผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐานจะทบทวนนโยบายระยะยาวใหม่ เพื่อที่จะขยายกิจการและเข้าสู่ตลาดที่มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

8. การแข่งขันด้านเทคโนโลยีมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น การแข่งขันด้านเทคโนโลยีจะทวีความเข้มข้นขึ้นเนื่องจากผู้เล่นต่างหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะพัฒนาการบริการ สินค้า และเพิ่มรายได้

9. ลูกค้าเป็นใหญ่ รัฐบาลจะให้ความสำคัญด้านการเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของผู้ใช้และจะเริ่มวางแผนโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้ข้อมูลตามระยะเวลาจริงและการพยากรณ์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึก

10. การพึ่งพาอาศัยกันและกันจะนำไปสู่โอกาส นักวางแผนโครงสร้างพื้นฐานจะเริ่มวางแผนระยะยาวหลายแผน โดยมีขีดความสามารถในการวางแผนรองรับโครงการและกรณีที่หลากหลาย เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากการร่วมมือกันที่เพิ่มขึ้น

“โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงถึงแนวโน้มดังกล่าว เนื่องจากโครงการใน EEC จะมุ่งเน้นและสนับสนุนการเติบโตระยะยาวจากนโยบาย new S-curve ของรัฐบาล และการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาปรับใช้” คุณธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและรัฐบาล เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว “ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงการต่างๆ ภายใต้ EEC ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทั้งจากในและต่างประเทศ การที่จะทำให้โครงการเหล่านี้ประสบผลสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างแต่ละฝ่าย และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม รวมถึงด้านการเงิน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล และข้อมูลเชิงลึกมาช่วย การร่วมมือและการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลข้างต้น จะทำให้มีการวางแผน และการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...