KPMG ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุ Net Zero ในขณะที่นอร์เวย์ติดอันดับหนึ่งประเทศที่พร้อมที่สุด

เคพีเอ็มจี (KPMG) ได้มีการทำการศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านเน็ตซีโร่ (Net Zero Readiness Index – NZRI) เพื่อประเมินความพร้อมของแต่ละประเทศในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือเน็ตซีโร่ (Net Zero) ประเทศที่มากด้วยทรัพยากรน้ำมันจากแถบนอร์ดิก ได้ถูกขนานนนามว่าพร้อมที่สุดสำหรับการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593

  • ประเทศในทวีปยุโรปทางตอนเหนือได้อันดับต้นๆ ในการสำรวจครั้งนี้ โดยที่นอร์เวย์ได้อันดับหนึ่ง สหราชอาณาจักรได้ทีสอง และสวีเดนได้ที่สาม
  • หากมีความหย่อนยานในความสามารถและความตั้งใจในการบรรลุเน็ตซีโร่จะเป็นจุดอ่อนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก
  • ผลวิจัยชี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ ‘น่าจับตามอง’ ในการบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในเจ็ดประเทศที่มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น

รายงานฉบับนี้ได้มีการเปรียบเทียบความคืบหน้าของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการวิเคราะห์ความพร้อมในการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593 คณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) กำหนดให้ 2593 เป็นปีที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยจะลดลงก่อน 40% ระหว่างปี 2553 ถึง 2573 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ภูมิอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ในเดือนสิงหาคม 2564 รัฐบาลจาก 195 ประเทศทั่วโลก ยอมรับว่ามนุษย์เป็นเหตุให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า และถ้าไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอย่างรวดเร้วและจริงจัง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะไม่หยุดที่แค่ 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น

โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินแต่ละประเทศด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 103 ข้อที่นำไปสู่การบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งผลการศึกษานี้ได้ชี้ 25 ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุด และอีก 7 ประเทศที่ ‘น่าจับตามอง’

แม้ว่านอร์เวย์จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกน้ำมันและก๊าซมากที่สุดในโลก แต่ยังได้อันอับหนึ่งใน NZRI ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลงทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพลังงานหมุนเวียนและยานพาหนะไฟฟ้า ในปี 2559 รัฐสภาของนอร์เวย์โหวตให้เลื่อนเป้าหมายในการบรรลุเน็ตซีโร่จากปี 2593 เป็น 2573 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่านอร์เวย์จะได้อันดับหนึ่งในการจัดอันดับครั้งนี้ ประเทศยังคงต้องก้าวผ่านความท้าทายว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เป็นประเทศที่เป็นเน็ตซีโร่ได้

สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้จัดการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 Climate Summit ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ได้อันดับสอง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนของหลายพรรคการเมืองในการมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่มีกฏหมายข้อบังคับรองรับ จึงทำให้การลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีอุปสรรคหลายอย่างที่ต้องผ่านพ้นไปให้ได้ โดยเฉพาะในด้านการผลิตความร้อนและอาคารก่อสร้าง

ผลการสำรวจของการศึกษาครั้งนี้มีดังนี้:

  • บางประเทศยังล่าช้าในการดำเนินการสู่เน็ตซีโร่ โดยมีเพียง 9 ประเทศจากที่ถูกสำรวจทั้งหมดที่มีกฏหมายข้อบังคับรองรับในเรื่องนี้ ซึ่ง 9 ประเทศนี้คิดรวมกันเป็นประมาณ 8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก เพื่อที่จะกระตุ้นความสามารถในการดำเนินการสู่เน็ตซีโร่ในแต่ละอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ นโยบายและการรองรับที่ดีและมาตรการสนับสนุนต่างๆ ในเขตการปกครองส่วนใหญ่ที่ถูกสำรวจใน NZRI ครั้งนี้ ระดับความพร้อมของแต่ละชาติมักเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับระดับความพร้อมในแต่ละภาคอุตสาหกรรม
  • การขาดขีดความสามารถในการบรรลุเน็ตซีโร่ถือเป็นจุดอ่อนของเป้าหมายเน็ตซีโร่ทั่วโลก ดัชนีชี้วัดนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีกฎหมายข้อบังคับหรือนโยบายด้านเน็ตซีโร่ในระดับประเทศมีขีดความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับอุตสาหกรรมมากกว่า การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและความพร้อมในการบรรลุเน็ตซีโร่เช่นกัน โดยสรุปว่าควรมีการเร่งให้การสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา
  • ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกมีการคำนวณเรื่องความเสี่ยงทางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากขึ้นในการลงทุนและการตัดสินใจให้กู้ยืม แต่รัฐบาลก็มีบทบาทที่สำคัญในการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยควรพัฒนากลยุทธ์ นโยบาย และกฎหมายข้อบังคับด้านการเงินที่ยั่งยืน
  • ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่านโยบายภาครัฐและการสนับสนุนจากประชาชนเป็นตัวแปรในความสำเร็จของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

25 อันดับแรกในการจัดอันดับ NZRI คือ:

เคพีเอ็มจี ยังระบุอีก 7 ประเทศที่น่าจับตามอง เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น

  • อินเดีย
  • อินโดนีเซีย
  • ไนจีเรีย
  • รัสเซีย
  • ซาอุดิอาระเบีย
  • แอฟริกาใต้
  • ไทย

ประเทศไทยมีแผนที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 ภายใต้แผนจัดการพลังงานของประเทศซึ่งกำหนดให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในอัตรา 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด จึงทำให้มีโครงการหลายโครงการออกมา เช่น จากปี 2578 เป็นต้นไป ยานพาหนะที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้นที่จะจดทะเบียนได้ รัฐบาลไทยประกาศว่าจะสนับสนุนภาคเอกชนในการเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low carbon economy) และมีความพยายามที่จะให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีผลกระทบน้อยที่สุด ความพยายามนี้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะเป็นหนทางสู่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

“ในสองสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการตื่นตัวของประชาชนในประเทศไทยมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลเพิ่มเรื่องนี้เข้าไปในหลักสูตรการศึกษา” ธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว “ความก้าวหน้านี้เป็นแนวโน้มที่ดี และเรากำลังสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่เคพีเอ็มจี เราเชื่อในการทำงานร่วมกันสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเราจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน”

“ประเทศไทยยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถในการค้นคว้าวิจัย โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ยากต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” กาเนสัน โคลันเดเวลู หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว “เทคโนโลยีจำพวกที่วัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สำหรับภาคธุรกิจแล้ว การมีเป้าหมายทาง ESG ที่ชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องไม่ใช่การทำเพื่อให้ผ่านเกณฑ์เท่านั้น จำเป็นจะต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความมั่นใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์จากผู้บริโภค”

“อีกหนึ่งเรื่องที่ธุรกิจในประเทศไทยต้องคำนึงถึงคือการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ออก One Report เพื่อเตรียมความพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน สำหรับรายงานปี 2564 ซึ่งให้ความสำคัญกับการรายงานด้านความยั่งยืนและ ESG” ณัฐพงศ์ ตันติจัตตานนท์ กรรมการบริหาร ฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืน เคพีเอ็มจีประเทศไทย กล่าว “เนื่องด้วยข้อบังคับที่เพิ่มมากขึ้นในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน องค์กรจำเป็นต้องรายงานกลยุทธ์ นโยบาย และเป้าหมายด้านความยั่งยืน ห่วงโซ่คุณค่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความร่วมมือกับสังคม ธุรกิจจำเป็นต้องมี ESG ในกลยุทธ์องค์กรและการพัฒนาองค์กร เพราะฉะนั้นธุรกิจต้องเริ่มที่จะวางแผนแล้วว่าจะทำอย่างไรให้สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้”

ผลงานวิจัยครั้งนี้ออกมาพร้อมกับการประชุม COP 21 ที่กรุงกลาสโกว์ในเดือนพฤศจิกายน องคการสหประชาชาติรายงานว่าปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ล้านปี ซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 0.85 องศาเซลเซียส ระหว่างปี 2423 ถึงปี 2555 และระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 19 ซม. ผู้นำทางการเมืองและผู้นำภาคธุรกิจต่างมีเป้าหมายที่จะหยุดผลกระทบที่สาหัสทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าอุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นไปอีก


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...