วิจัยกรุงศรี เผย เศรษฐกิจไทย ยังคงได้แรงหนุนสำคัญ จากการเติบโตของภาคท่องเที่ยว-ส่งออก

วิจัยกรุงศรี ระบุว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงานและมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ อาจช่วยลดทอนผลได้บางส่วน ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการลดค่าครองชีพรอบใหม่ เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงาน 

วิจัยกรุงศรี

ซึ่งมีทั้งการต่ออายุมาตรการเดิมที่จะสิ้นสุดลงและมาตรการใหม่ที่เพิ่มเติม อาทิ

1) ขยายเวลาการตรึงราคาขายปลีก NGV 15.59 บาทต่อกิโลกรัม และคงราคาไว้ที่ 13.62 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน 

2) ขยายเวลาการช่วยเหลือค่าก๊าซหุงต้มแก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรฯ 

3) อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลร้อยละ 50 ในส่วนที่ราคาขายสูงกว่า 35 บาทต่อลิตร 

4) ขอความร่วมมือไปยังกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันนำส่งกำไรค่าการกลั่น เพื่อนำมาช่วยพยุงราคาน้ำมัน  

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ได้แก่ 

1) ขยายโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 เพิ่มเติมอีก 1.5 ล้านสิทธิ์ สิ้นสุดเดือนตุลาคม (เดิมพฤษภาคม) 

2) มาตรการด้านภาษี โดยให้ธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการอบรม สัมมนาหรือการจัดแสดงงานต่างๆ มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่าสำหรับเมืองรอง และ 1.5 เท่าในจังหวัดอื่นๆ

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนล่าสุดค่อนข้างเน้นการช่วยเหลือไปยังเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และคาดว่าจะลดทอนผลกระทบได้บางส่วน เนื่องจากแรงกดดันจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ยังเพิ่มขึ้นในระดับสูง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงราคาสินค้าในประเทศที่เตรียมจะปรับขึ้น อาทิ ราคาก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้าผันแปร ค่าเดินทางและขนส่ง และสินค้าอุปโภคบริโภค (บะหมี่สำเร็จรูป ผงซักฟอก) 

กอปรกับค่าเงินบาทที่ผันผวนในทิศทางอ่อนค่าซึ่งจะกระทบต่อราคาสินค้าวัตถุดิบนำเข้าและต้นทุนการผลิตเพิ่ม ทั้งนี้ ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง กำลังซื้อของภาคครัวเรือนอ่อนแอและรายได้ที่แท้จริงลดลง ความแตกต่างของตะกร้าการบริโภคชี้ว่ากลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบหนักสุดจากราคาอาหารและการขนส่งที่สูงขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในหมวดดังกล่าวสูง

วิจัยกรุงศรี

ภาคท่องเที่ยวและส่งออกยังเป็นปัจจัยหนุนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 10.5% YoY จาก 9.9% เดือนก่อน และดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 6.7% ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยในเดือนพฤษภาคมมีทั้งสิ้น 5.21 แสนคน เพิ่มขึ้นจาก 2.93 แสนคนในเดือนก่อน โดยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไทยสูงสุด ได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐฯ และอังกฤษ สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี (มกราคม-พฤษภาคม) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 1.31 ล้านคน 

ปัจจัยบวกจากทางการทยอยผ่อนคลายข้อจำกัดสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่มีการยกเลิกระบบ Test & Go แก่ผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีนครบ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนกว่า 70% และล่าสุดทางการประกาศเตรียมยกเลิกไทยแลนด์พาสและเปิดประเทศเต็มรูปแบบมากขึ้นโดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม คาดว่าจะยิ่งช่วยหนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้นจากค่าเฉลี่ยในช่วงต้นเดือนมิถุนายนประมาณวันละ 2-2.5 หมื่นคน 

วิจัยกรุงศรีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้มีโอกาสที่จะแตะระดับ 8 ล้านคน (จากเดิมคาด 5.5 ล้านคน) นอกจากนี้ สัญญาณเชิงบวกจากการส่งออกที่ยังเติบโตได้ดีกว่าคาดแม้ในช่วงที่เหลือของปีอาจมีแนวโน้มชะลอลงบ้างตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม ทั้งภาคส่งออกและภาคท่องเที่ยวนับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในช่วงที่เหลือของปี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...