กรุงศรี เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SME ไตรมาสแรกประจำปี 2019 คาดไตรมาสสองเติบโตกว่า

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก Krungsri SME Index ในไตรมาส 1/2019 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ใน 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในแดนบวกที่ 20.23 สะท้อนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไตรมาส 2 ว่าจะเติบโตกว่าในไตรมาส 1 อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมก็ยังมีความกังวลด้านภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารต้นทุน

คุณสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า “ผลสำรวจ Krungsri SME Index ชี้ว่า ผู้ประกอบการ SME มองเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 จะเติบโตดีกว่าในไตรมาส 1 แม้ว่าจะมีมุมมองบวกลดลงเมื่อเทียบกับการสำรวจในรอบที่แล้ว โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 20.23 จาก 25.42 ในไตรมาสที่แล้ว สอดคล้องกับที่วิจัยกรุงศรีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศลดลงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการหดตัวของปริมาณการค้าโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน ใกล้จะได้ข้อสรุป ทำให้ความไม่แน่นอนของการค้าโลกมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการค้าโลกในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวดี อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐอาจขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนหนึ่งจากความล่าช้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เพราะมีการปรับรูปแบบการลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) บางโครงการเพื่อให้เอกชนดำเนินการมากขึ้น”

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SME มองเศรษฐกิจไตรมาส 1 เติบโตลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคบริการที่ดัชนีความเชื่อมั่นติดลบถึง 25.16 หากพิจารณาตามขนาดธุรกิจจะพบว่า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กมีมุมมองต่อเศรษฐกิจในทางลบมากกว่าผู้ประกอบการขนาดกลาง ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมีนาคมที่การบริโภคภาคเอกชนเติบโตลดลงจากเดือนก่อนหน้า รวมทั้งมูลค่าการส่งออกและรายได้จากนักท่องเที่ยวหดตัว โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP ไตรมาส 1 ปี 2019 จะโตน้อยกว่า 3% YoY ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 2019 อาจโตไม่ถึง 3.8% ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า

อีกทั้งได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั่วประเทศในช่วงวันที่ 1-28 มีนาคม 2019 ในเรื่องรูปแบบการชำระเงิน พบว่าผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ 53% เลือกชำระด้วยเช็ค เนื่องจากคู่ค้ายังไม่มีการใช้ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และไม่มั่นใจด้านความปลอดภัยของระบบและข้อมูลของการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนรูปแบบการชำระเงินในลำดับรองมาคือการชำระผ่าน Internet Banking (19%) การชำระด้วยเงินสด (15%) และการจ่ายผ่านโมบายแบงก์กิ้ง (8%) ทั้งนี้ หากพิจารณาตามพื้นที่จะสังเกตได้ว่า การชำระเงินด้วยโมบายแบงก์กิ้งเป็นที่นิยมในต่างจังหวัดมากกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก สาเหตุที่ผู้ประกอบการเลือกช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเหตุผลด้าน

1) ความสะดวก รวดเร็ว ความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ

2) คู่ค้าส่วนมากใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

3) ไม่มีค่าธรรมเนียม

โดยผู้ประกอบการเกินกว่าครึ่งคาดว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า ธุรกิจจะมีแนวโน้มชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...