กรุงไทยกำไรจากการดำเนินงานไตรมาสแรก 7,301 ล้านบาท

ธนาคารกรุงไทยมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2562 จำนวน 7,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีรายได้รวมจากการดำเนินงาน จำนวน 33,593 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 13.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสินเชื่อรายย่อย ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ 31 มีนาคม 2562 Coverage Ratio เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 126.86 ขณะที่ NPLs Gross Ratio ลดลงจากร้อยละ 4.53 ณ 31 ธันวาคม 2018 เป็นร้อยละ 4.50 ณ 31 มีนาคม 2019

คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ส่วนที่เป็นของธนาคาร จำนวน 7,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้รวมจากการดำเนินงาน จำนวน 33,593 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 13.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เนื่องจากธนาคารได้รับเงินบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง และผลจากรายได้จากการดำเนินการอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากกำไรในการขายทรัพย์สินรอการขายและกำไรจากเงินลงทุน ในส่วนของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสำรองการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายตามเกณฑ์ระยะเวลาการถือครองของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังมิได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรองในเรื่องอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ฯ ในงบการเงินเฉพาะสำหรับไตรมาส 1/2562 เนื่องจากธนาคารอยู่ภายใต้ พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ปี 2000 ซึ่งหากพรบ. ดังกล่าวมีการปรับปรุงใดๆ ธนาคารจะดำเนินการตามที่กำหนดต่อไป

สำหรับสินเชื่อของธนาคาร ณ 31 มีนาคม 2019 อยู่ที่ 2,032,879 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากสิ้นปีที่ผ่านมา โดยสินเชื่อรายย่อยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น เงินฝากอยู่ที่ 2,077,071 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) ที่ไม่รวมรายได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง อยู่ที่ร้อยละ 3.13 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.07 ในไตรมาส 1/2561 จากการมุ่งเน้นการบริหารพอร์ตสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยง และการรักษาระดับต้นทุนทางการเงิน

จากนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักความระมัดระวัง ธนาคารได้ทยอยเพิ่มระดับของอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) อย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 126.86 ณ 31 มีนาคม 2019 ขณะที่ธนาคารมี NPLs Gross Ratio ลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 4.50 % และมี NPLs Net Ratio คงที่อยู่ที่ 1.94 % สำหรับเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงและมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 (งบการเงินเฉพาะธนาคาร) อยู่ที 18.12 % และ 14.29 % ตามลำดับ ซึ่งธนาคารได้ประเมินความเพียงพอของอัตราส่วนดังกล่าวในอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และครอบคลุมถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...