Makro และ Lotus’s เดินหน้าเพิ่มทุนสำเร็จประมาณ 50,000 ล้านบาท ปั้นค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ ขึ้นเบอร์หนึ่งในเอเชีย

ปิดดีลใหญ่ส่งท้ายปีเกือบ 50,000 ล้านบาท กับโอกาสของนักลงทุนที่จะร่วมเติบโตไปพร้อมกับแม็คโครและโลตัสในระดับภูมิภาค โดยล่าสุด จากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน ของ บมจ. สยามแม็คโคร ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ทั้งผู้ถือหุ้นเดิมของแม็คโคร ซีพีออลล์  และซีพีเอฟ และนักลงทุนสถาบันและรายย่อย ซึ่งถือเป็นการปิดดีลส่งท้ายปีท่ามกลางสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินที่ไม่แน่นอนทั่วโลกและตามมาด้วยผลกระทบในตลาดค้าปลีกจากมาตรการล็อคดาวน์ของภาครัฐ แต่ยังสามารถปิดดีลเพิ่มทุนได้เกือบ 50,000 ล้านบาท   โดยหลังจากนี้คงจะได้เห็นการพลิกโฉมครั้งใหญ่สู่เป้าหมายการเป็นแชมเปี้ยนค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ” ขึ้นเบอร์หนึ่งในเอเชีย พร้อมพาเอสเอ็มอี-เกษตรกรลุยตลาดโลก 

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และประธานกรรมการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เครือซีพีตั้งเป้าขยายร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งของเครือให้ได้อย่างรวดเร็ว ทั่วภูมิภาคซึ่งรวมถึงสาขาของสยามแม็คโครและศูนย์ค้าปลีกค้าส่งรูปแบบอื่นๆ ในเครือซีพี  ปัจจุบัน เครือซีพีมีธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจค้าส่งอยู่ในประเทศจีน มาเลเซีย อินเดีย กัมพูชา เมียนมา ภายใต้แบรนด์และรูปแบบร้านค้าที่หลากหลาย รวมจำนวนประมาณ 337 ร้านค้า

“ธุรกิจค้าปลีกเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยบนเวทีระดับโลก และเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยสามารถประสบความสำเร็จบนเวทีโลกได้ นี่คือวิสัยทัศน์ร่วมกันของธุรกิจในกลุ่มค้าปลีกและค้าส่งในเครือซีพี" 

นาง สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร (ธุรกิจค้าส่ง) เปิดเผยว่า ในการเสนอขายหุ้นของแม็คโครที่ผ่านมานั้น ขอขอบคุณทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนทั่วไป ที่ให้การสนับสนุนในครั้งนี้   ถึงแม้ระยะเวลาของการเสนอขาย จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้น ยังได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว หุ้นแม็คโครก็ยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อศักยภาพของบริษัท และพร้อมที่จะเติบโตไปกับเรา ในการไปสู่เป้าหมายการเป็นธุรกิจค้าปลีกไทยระดับภูมิภาค จากนี้ไป บริษัทฯจะดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ โดยจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านดิจิทัล การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ รวมทั้งการปรับรูปแบบและขยายสาขาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกประเภท ทั้งลูกค้าผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั่วไป นอกจากนี้ทีมงานทั้งแม็คโครและโลตัสจะร่วมมือกันเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานในส่วนต่าง ๆ ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ด้าน นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า ในนามของผู้บริหารโลตัส ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่าน ที่ได้จองซื้อหุ้นเพื่อร่วมเติบโตไปกับธุรกิจแม็คโครและโลตัส ซึ่งเรามั่นใจว่าจำนวนเงินจากการระดมทุนครั้งนี้จะเพียงพอต่อการนำไปดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจและสร้างแพลตฟอร์มแห่งโอกาสของผู้ประกอบการไทยในห่วงโซ่ธุรกิจของเรา ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังปรับตัวดีขึ้น และแนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่กำลังฟื้นตัว เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบผลประกอบการได้ตามแผนที่วางไว้

“การสร้างธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” และ “O2O” โมเดลธุรกิจแบบ Online to Offline ทั้งในไทยและภูมิภาค ในห้วงภาวะที่ทุกวันนี้ในประเทศไทยล้วนเต็มไปด้วยผู้เล่นดิจิทัลออนไลน์ระดับโลก เข้ายึดพื้นที่ มองกลับมาที่ประเทศไทยเรากลับไม่มีแพลตฟอร์มสัญชาติไทยขึ้นเทียบเคียง”

วันนี้หากมองในแง่ของการเติบโตของตลาดค้าปลีกในระดับภูมิภาคอาเซียนอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยเมื่อเทียบรายได้จีดีพีต่อจำนวนประชากรในหลายประเทศในอาเซียนพบว่ายังมี “โอกาสเติบโต” และขยายฐานธุรกิจนี้ไปได้ทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และลาว หากพิจารณาถึงภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เมื่อแม็คโครรุกขยายธุรกิจในเมืองใหญ่ของประเทศเหล่านี้ และสร้างการเติบโต 10 ปี 15 ข้างหน้าก็จะมีโอกาสสูงมากที่ธุรกิจค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซของไทยจะเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งในประเทศเหล่านี้ แล้วเมื่อเชื่อมโยงไปยังจีน และอินเดีย ซึ่งมีประชากรรวมกันถึง 3,300 ล้านคน ก็จะเห็นถึงทิศทางที่ชัดเจนว่าวันนี้ตลาดในอาเซียนและเอเชียยังมีพื้นที่ให้เติบโตในลักษณะคล้าย S-Curve (ดูตารางกราฟิกประกอบ) แสดงให้เห็นว่ามูลค่าตลาดโมเดิร์นเทรดของเอเชียโดยเฉพาะของสด (Fresh) และของชำ (Grocery) ที่มีกว่า 3.2 ล้านล้านเหรียญ เป็นโอกาสให้บริษัทของไทยเข้าไปขยายธุรกิจเป็นผู้เล่นสำคัญระดับโลกได้ 

ในภาพรวมเมื่อดูกลยุทธ์ “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” เพื่อการสร้างการเติบโตของแม็คโคร หลังรับโอนโลตัส จะเห็นได้ว่าเป็นทั้ง โอกาสการลงทุนและโอกาสของผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศไทยด้วย นั่นเพราะการรุกกลยุทธ์เป็นผู้นำกลุ่มค้าปลีกค้าส่งในระดับภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์ม O2O เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยจะมีการส่งเสริมเอสเอ็มอี และเกษตรกร ในการมาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะนำสินค้าและผลผลิต ผลิตภัณฑ์มาร่วมบุกตลาดต่างประเทศไปด้วยกัน ผ่าน “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” สร้างระบบนิเวศออนไลน์ของการค้าปลีกรูปแบบใหม่ ที่ช่วยให้เกษตรกร ผู้ผลิต และ เอสเอ็มอีขยายช่องทางค้าปลีกได้กว้างมากขึ้นในตลาดระดับโลก ผ่านการให้บริการแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย แบบ B2B  ที่จะเปิดทางนำศักยภาพของคนไทยทั้งผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยให้เติบโตไปด้วยกัน


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...