NRF เผยกลยุทธ์มุ่งสู่ Clean FoodTech ระดับโลก เดินหน้าใช้ Deep Tech ขับเคลื่อนองค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นลบ ในปี 2050

บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ หรือ NRF ผู้ผลิตและส่งออกอาหาร และเครื่องปรุงรสชั้นนำ แถลงวันนี้ ถึงก้าวสำคัญขององค์กรสู่การเป็น “บริษัทคลีนฟู้ดเทคระดับโลก” มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน (Climate Change) ลดการสร้าง และปล่อยก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ในกระบวนการผลิตอาหาร และขับเคลื่อนองค์กรสู่สถานะการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ 

บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ หรือ NRF ผู้ผลิตและส่งออกอาหาร และเครื่องปรุงรสชั้นนำ แถลงวันนี้ ถึงก้าวสำคัญขององค์กรสู่การเป็น “บริษัทคลีนฟู้ดเทคระดับโลก” มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกรวน (Climate Change) ลดการสร้าง และปล่อยก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ในกระบวนการผลิตอาหาร และขับเคลื่อนองค์กรสู่สถานะการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ

โดยกลยุทธ์นี้มุ่งเสริมความแข็งแกร่งของการดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอกย้ำถึงจุดยืนของบริษัทที่มุ่งสร้างผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้การปล่อยมลพิษมีค่าเท่ากับศูนย์ภายในปี 2050 ในปีนี้ NRF วางแผนงานสำคัญทั้งโครงการ ปล่อยคาร์บอนเป็นลบทั้งในประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการลงทุนในบริษัทที่ผลิตเทคโนโลยี และการเข้าถือสิทธิบัตรทางเทคโนโลยี 

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF กล่าวว่า “ภาวะโลกรวนนั้นส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของพวกเราทุกคนอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่าในแต่ละปีนั้น เราจะเห็นปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ได้กลายเป็นตัวการอันดับต้นๆ ของอันตรายต่อ สุขภาพของคนไทย โดยที่ตัวการใหญ่ของปัญหานี้คือ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ปล่อย มลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมมากถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด ในประเทศไทยเองนั้น เราต้องจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอย จากการเกษตรมากถึง 17 ล้านตันทุกๆ ปี ดังนั้น เราจึงร่วมมือกันในทุกภาคส่วนขององค์กรและวางแผน การดำเนินงานของปี 2022 นี้ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ ซึ่งรวมไปถึงการตั้งเป้าผลการดำเนินงานในแต่ละระยะ เพื่อผลักดันให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้มากที่สุด และรวดเร็วที่สุด”

ห่วงโซ่คุณค่าของการกำจัดคาร์บอนจนเหลือศูนย์ของ NRF นั้นเริ่มจาก การนำเอาขยะมูลฝอยในภาคการเกษตร หรือมวลชีวภาพ (Biomass) มาผลิตเป็นไบโอ-ออยล์ และถ่านชีวภาพ หลังจากนั้น NRF ก็จะนำถ่านชีวภาพเหล่านั้นเข้าไปใช้ในห่วงโซ่อุปทาน และกระบวนการผลิต เพื่อลดคาร์บอนออฟเซ็ต และเพิ่มคาร์บอนเครดิต เหล่านี้ถือเป็นกระบวนการต้นน้ำของการกำจัดคอร์บอน

นอกจากนั้นแล้ว NRF ยังร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรเพื่อผลักดันให้ปลูกพืชผล และผลิตโปรตีนในกระบวน การแบบยั่งยืน โดยเครือข่ายโรงงานในแต่ละภูมิภาคนั้น ก็สามารถกระจายสินค้าได้แบบปลอดภาษี ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์สามารถเข้าถึงสินค้าที่ผลิตโดยแบรนด์ในกลุ่ม NRF และผลิตจากโรงงานของ NRF ได้อย่างทั่วถึง ผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ 

“เราไม่เพียงแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้โดยเร็วเท่านั้น แต่เรายังสร้างทีมที่เฟ้นเอา บุคลากรคุณภาพจากทั่วโลก อันประกอบไปด้วย วิศวกรสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านตลาดคาร์บอนมาคอยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบบนเส้นทางของเราในครั้งนี้ ด้วยทีมที่แข็งแกร่งนี้ทำให้เรายังครองความเป็นผู้นำของตลาดที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสร้างคุณค่าอย่างมหาศาลให้กับทั้ง NRF บรรดาพันธมิตรของเรา รวมไปถึงผู้บริโภคด้วย” คุณแดน กล่าวเสริม

ในปี 2022 นี้ ทาง NRF วางแผนที่จะสร้างโรงงานผลิตอาหารที่ปล่อยมลพิษเป็นลบทั้งในประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดการณ์ว่าจะทำให้รายได้ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชนั้นเพิ่มขึ้น 20% สร้างกระแสเงินหมุนเวียนขององค์กรที่มากขึ้น

“การก้าวสู่การเป็นบริษัทคลีนฟู้ดเทคนั้น ทำให้เราต้องลงมือทำในทันที เราภูมิใจกับความสำเร็จที่ผ่านมา และยังมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในการปกป้องโลกของเรา เราต้องเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ เพื่อที่เราจะบรรลุความมุ่งมั่นนี้ได้ภายในปี 2050” คุณแดน กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...