R3 ผู้ให้บริการชั้นนำด้านเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจ กับความท้าทายในตลาดเอเชีย-ไทย

ในโลกที่มีบล็อกเชนอย่างน้อย 1,000 แบบ และเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกันถึง 4 เครือข่าย ส่งผลให้อุปสรรคหลักสำหรับการเพิ่มขึ้น ทำให้ในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนให้แพร่หลายยังคงเป็นเรื่องความสามารถในการทำงานร่วมกัน ปัญหานี้เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียซึ่งมีการแบ่งกลุ่มตลาดกันอย่างชัดเจนมาก โดยประเทศต่าง ๆ ล้วนมีระดับการพัฒนาและการใช้งานบล็อกเชนที่แตกต่างกัน รวมถึงการพัฒนากฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้บล็อกเชนให้ครอบคลุมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

อย่างไรก็ดี เอเชียยังคงเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์เพื่อการลงทุนและการค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งภูมิภาคนี้ยังมีความพยายามขับเคลื่อนนวัตกรรมสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDC) ให้เกิดการพัฒนามากขึ้นผ่านโครงการนำร่องมากมาย รวมถึงแนวทางการใช้สกุลเงิน CBDC รวมเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมข้ามพรมแดนที่มั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าจับตามอง 

คุณอามิต กอช, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและบริการ และ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่ง R3 เปิดเผยถึงความท้าทายหลักที่ R3 เผชิญอยู่ภายในตลาดเอเชียที่ว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้เอเชียเป็นภูมิภาคที่ R3 ให้ความสำคัญในการร่วมงานกับผู้มีอำนาจออกกฎระเบียบของประเทศเพื่อการพัฒนาข้อกำหนดกฎหมายในเรื่องโทเคนดิจิทัล เห็นได้จากโครงการ Ubin ขององค์การเงินตราสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) และโครงการอินทนนท์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องพยายามไม่ให้เกิดการหยุดชะงักของการเชื่อมต่อและปกป้องโปรโตคอลและเครือข่ายบล็อกเชนต่าง ๆ จากการทำงานในคลังข้อมูล ดังนั้น ความท้าทายของ R3 คือการหาโซลูชั่นเพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันให้ครอบคลุมมากขึ้น แทนที่จะพยายามปิดกั้นลูกค้าให้ต้องผูกติดกับการทำสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบเดียว

สำหรับ R3 ได้มีการเพิ่มทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนมาอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา โดยขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (DLT) ที่มีมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของตลาดที่มีการควบคุมนี้ ช่วยให้สามารถระบุถึงรูปแบบของ “ระบบเพื่อการเชื่อมโยง (Bridges)” ของอีโคซิสเต็มที่น่าลงทุนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และในขณะนี้ R3 ได้เข้าสู่ระยะของการสร้างสรรค์อีโคซิสเต็มสำหรับบล็อกเชนเพื่อการดำเนินงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลระดับวิสาหกิจและเครือข่ายเงินตรา

ความท้าทายของ R3 ในประเทศไทย

 สำหรับประเทศไทยซึ่งมีการประกาศใช้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้เห็นว่าประเทศกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านระบบดิจิทัลโดยพยายามก่อตั้งให้ประเทศเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมดิจิทัลแห่งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไทยมีการเติบโตทางเทคโนโลยีอย่างมากทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต่างเปิดรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มมากขึ้น อาทิ บล็อกเชน และเมื่อเร็ว ๆ นี้รัฐบาลไทยยังเตรียมประกาศข้อปฏิบัติการจดทะเบียนธนาคารดิจิทัล (Virtual Banking Licensing Guidelines) ภายในไม่ช้า

 ด้วยการพัฒนากรอบการทำงานด้านการจดทะเบียนธนาคารดิจิทัล R3 เชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมในภาพรวมจะมีความชัดเจนในเรื่องกฎระเบียบที่จำเป็น ตลอดจนได้แบบพิมพ์เขียวเพื่อปูทางสู่การพัฒนาธนาคารดิจิทัลของประเทศในอนาคต สิ่งนี้ถือเป็นหลักชัยสำคัญในภาคธุรกิจธนาคารและการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นวัตกรรมเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการครองใจผู้ใช้งานที่ต่างก็คาดหวังและต้องการบริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น 

ท้ายที่สุด เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ธุรกิจธนาคารดิจิทัลอย่างรวดเร็ว บล็อกเชนก็จะยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในธุรกิจการเงินดิจิทัล โดยจะมอบโซลูชั่นการทำธุรกรรมที่ง่าย โปร่งใสกับทุกฝ่าย และครอบคลุมการทำงานหลายระบบได้อย่างสอดคล้องกัน 

ด้วยเหตุนี้ R3 จึงสานต่อการทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ถือประโยชน์ในระดับรัฐและสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก อาทิ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการอินทนนท์-ไลออนร็อก (Project Inthanon-Lionrock) โดยได้เริ่มดำเนินงานโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDC) ร่วมกับองค์การเงินตราฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority) 

ซึ่งต่อมา ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และจีนต่างก็มาเข้าร่วมส่วนหนึ่งของโครงการ Multiple CBDC Bridge รูปแบบใหม่ โดย R3 ยังร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพในการนำ Corda ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบ open-source ของ R3 มาใช้ยกระดับการทำงานและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบริการซื้อขายให้เป็นระบบดิจิทัล  

แม้ว่า R3 จะเล็งเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เริ่มเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทั่วไปในประเทศไทยเมื่อวิสาหกิจต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล แต่ก็ยังคงเชื่อมั่นว่าคนไทยพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากระบบการธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นผู้สูงอายุจะได้รับประโยชน์จากธนาคารดิจิทัลมากที่สุด เนื่องจากจะได้รับความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการธนาคารต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น โดยที่พวกเขาไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคารด้วยตัวเอง

ในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใดก็ตาม กุญแจสำคัญในการปลดปล่อยศักยภาพทั้งหมดของธนาคารดิจิทัลก็คือการให้ข้อมูลแก่สาธารณชน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งนอกจากการช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจถึงประโยชน์ของธนาคารดิจิทัลและวิธีการใช้งานแล้ว การรณรงค์ภาคประชาชนก็มีความสำคัญเช่นกันเพื่อสอนถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นต้นที่จำเป็น (Cyber Hygiene) เพื่อที่พวกเขาจะไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญกรไซเบอร์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...