IBM เผยอุตสาหกรรมการค้าปลีกและท่องเที่ยวฟื้นตัว หลังผู้บริโภคได้รับวัคซีน

ผลการศึกษาผู้บริโภคทั่วโลกโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของ IBM หรือ IBV เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคมองถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับการกลับไปใช้ชีวิตหลังการฉีดวัคซีน COVID-19 โดยอุตสาหกรรมหลัก ๆ อย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง จะต้องสร้างประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้น หากต้องการคงความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดลูกค้าให้สำเร็จ 

สนามบิน

การศึกษาผู้บริโภคมากกว่า 15,000 คนทั่วโลก พบว่าคนส่วนใหญ่มั่นใจในความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการกระจายวัคซีน COVID-19  และมากกว่าครึ่งคาดหวังว่าวัคซีน COVID-19 จะช่วยปกป้องพวกเขาได้ เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมองว่าระดับการฉีดวัคซีนจะต้องเกิน 70% ถึงจะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากการฉีดวัคซีน COVID-19 ยังคงดำเนินไปในอัตราปัจจุบัน คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับความสะดวกสบายแบบที่เคยได้รับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 จนกว่าจะถึงปี 2022 โดยการศึกษาระบุว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ ผู้บริโภคกำลังมองถึงการปรับวิธีการทำงาน เข้าสังคม ท่องเที่ยว และซื้อของ 

"ความเคยชินต่าง ๆ ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดได้เพิ่มความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการอย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง" นายเฮซุส แมนทัส Senior Managing Partner ของ IBM Services กล่าว "หลายธุรกิจเริ่มมองถึง ‘การกลับมาสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาด' ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ จะต้องเร่งพัฒนาระบบดิจิทัลบนพื้นฐานของเทคโนโลยี AI และ Cloud เพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ การลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ไฮบริดที่ผสมผสานทั้งกิจกรรมเชิงกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน จะช่วยมอบประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะบุคคลได้อย่างไร้รอยต่อยิ่งขึ้น"

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้

ผู้บริโภคทั่วโลกที่สำรวจส่วนใหญ่พร้อมที่จะกลับไปซื้อของในห้างร้านเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้วการศึกษาพบว่ากระแสอาจเปลี่ยนไปสำหรับอุตสาหกรรมการค้าปลีกที่ซบเซา โดยผู้บริโภคระบุถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้กลับไปที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าอีกครั้ง หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่สำรวจจำนวนมากอาจไม่ละทิ้งทางเลือกในการช้อปปิงออนไลน์ที่พวกเขาคุ้นเคยในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยมีกลุ่มที่สำรวจอย่างน้อยหนึ่งในห้าคนที่ระบุว่าพวกเขาวางแผนที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่คาดว่าจะซื้อสินค้าในห้างร้านบ่อยขึ้นมาก หากว่าฉีดวัคซีนแล้ว 

หมวดหมู่สินค้าที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะกลับไปซื้อที่ร้านค้ามากที่สุดคือของเล่น เกม และสินค้าที่เกี่ยวกับงานอดิเรก (เพิ่มขึ้น 121%) รวมถึงเครื่องแต่งกาย รองเท้า และเครื่องประดับ (เพิ่มขึ้น 76%) 

เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคที่สำรวจทั่วโลกยังคงจะซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไปคือเรื่องความสะดวก ตามมาด้วยความคุ้มค่า และความหลากหลายของสินค้าที่มีขายออนไลน์ หากจะดึงดูดให้ผู้บริโภคกลับไปซื้อของที่ห้างร้าน ผู้ค้าปลีกต้องมองถึงการจัดโปรโมชันและการเน้นสินค้าท้องถิ่น โปรโมชันในห้างเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่จะช่วยดึงผู้บริโภคให้ไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างร้าน โดยเฉพาะกลุ่มเจนเอ็กซ์ (54% ที่สำรวจ) และเบบี้บูมเมอร์ (52% ที่สำรวจ) นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ไม่มีจำหน่ายออนไลน์ อย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในปริมาณน้อย และเครื่องแต่งกายทำมือ อาจสามารถดึงดูดกลุ่มมิลเลนเนีลยล เจนเอ็กซ์ และเบบี้บูมเมอร์เกือบ 50% ที่สำรวจให้มาซื้อสินค้าที่ร้านได้

ศักยภาพในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ในขณะที่การเดินทางของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็มีเริ่มส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจน การศึกษาแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยคน 30% วางแผนที่จะบินบ่อยขึ้น แม้ว่าจะสวนทางกับ 23% ของผู้ที่สำรวจที่วางแผนที่จะบินน้อยลง 

การศึกษาพบว่าผู้บริโภคที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า มองถึงการเดินทางค้างคืนในหกเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มใหญ่ยังมีแผนที่จะอยู่บ้านไปเรื่อย ๆ โดยประมาณหนึ่งในสี่ของผู้บริโภคที่สำรวจระบุว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะเดินทางในปี 2564 แม้ว่าจะได้รับวัคซีน COVID-19 แล้วก็ตาม 

วัคซีนอาจช่วยกระตุ้นการเดินทางที่เกี่ยวกับงาน โดยผู้ที่สำรวจรู้สึกสะดวกใจที่จะเดินทางที่เกี่ยวข้องกับงานเพิ่มขึ้นสองถึงสี่เท่าในประเทศส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่ต้องเดินทางเพื่อธุรกิจที่มีอายุมากกว่า แสดงความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวน้อยกว่า โดยมีกลุ่มที่อายุมากกว่า 55 ปีเพียง 8% เท่านั้นที่สะดวกใจจะเดินทางเพื่อธุรกิจขณะที่ยังไม่ได้รับวัคซีน COVID-19 และมีเพียง 25% เท่านั้นที่รู้สึกสะดวกใจแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว

การศึกษายังชี้ให้เห็นว่ายานพาหนะส่วนบุคคลยังเป็นทางเลือกสำคัญทั้งในช่วงการระบาดของ COVID-19 และหลังจากที่ประชาชนได้รับวัคซีนแล้ว แม้ว่า 10% ของผู้ที่สำรวจวางแผนที่จะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลน้อยลงหลังจากได้รับวัคซีน แต่ผู้บริโภค 47% มองว่าจะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น

การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าการเดินทางรูปแบบอื่น ๆ อาจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรืออาจมีความต้องการลดลงเมื่อประชาชนได้รับวัคซีนมากขึ้น อุตสาหกรรมเรือสำราญอาจประสบกับการตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด โดย 26% ของผู้สำรวจระบุว่าพวกเขาจะใช้เรือสำราญน้อยลง ขณะที่มีเพียง 17% ที่ระบุว่าจะใช้มากขึ้น

ผลสำรวจกลุ่มเจนซี (ผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี) มีความแตกต่างออกไป

คอนเสิร์ต

แนวโน้มหลังการฉีดวัคซีน COVID-19 มีความแตกต่างกันออกไปในผู้บริโภคที่ได้รับการสำรวจแต่ละกลุ่มอายุ แต่กลุ่มเจนซีที่สำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 กลับแสดงแนวโน้มที่แตกต่างออกไปในหลายด้าน

กลุ่มเจนซีที่สำรวจส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาร่วมกับคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวหลังได้รับวัคซีนแล้ว โดย 27% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจระบุว่าจะมีปฏิสัมพันธ์นอกบ้านมากขึ้น เทียบกับเพียง 19% ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ และเพียง 16% ของกลุ่มที่อายุเกิน 55 ที่สำรวจ โดยกลุ่มเจนซีสนใจที่จะกลับไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมากอย่างการแข่งขันกีฬา สถานบันเทิงหรือสวนสนุก พิพิธภัณฑ์และอาร์ตแกลลอรี รวมถึงกิจกรรมการแสดงสด และโรงภาพยนตร์ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ที่สำรวจ ยกเว้นการไปร้านอาหารและสถานที่ที่ให้บริการฟรีอย่างชายหาดและสวนสาธารณะ

โดยเฉลี่ยแล้ว 60% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจมีแผนที่จะไปสถานที่อย่างร้านอาหารและบาร์ ร้านเสริมสวยและร้านตัดผม เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว เทียบกับ 71% ของกลุ่มมิลเลนเนียล และ 69% ของกลุ่มเจนเอ็กซ์ที่สำรวจ และดูเหมือนพฤติกรรมนี้จะเป็นเทรนด์ต่อเนื่อง เพราะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มเจนซีที่สำรวจก็ระบุว่าออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก “Better AI” จากโรงพยาบาลกรุงเทพ AI เปลี่ยนวงการสุขภาพ ด้วย 3 ฟีเจอร์เด่น

รู้จัก Better AI จากโรงพยาบาลกรุงเทพ กับ 3 ฟีเจอร์สุดล้ำที่ช่วยสรุปบทความสุขภาพให้ฟัง จับเทรนด์สุขภาพล่าสุด และแนะนำแพทย์ที่เหมาะกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน...

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...