กูรูแนะเทคโนโลยีเตือนภัยพิบัติ ต้องแม่นยำ-น่าเชื่อถือ-ทันเวลา

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตโฟมของบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องของการดับเพลิง การแจ้งเตือนอบพยผู้คนรอบ ๆ โรงงาน สะท้อนภาพให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการช่วยเหลือภัยพิบัติเสียที 

งาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2021 ได้หยิบยกกรณีไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นว่าปัจจุบันเทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถเข้ามาช่วยจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร โดย 3 กูรูมาเสวนาในหัวข้อ “เทคโนโลยีอัจฉริยะกับการจัดการปัญหาของเมือง ถอดบทเรียนกรณีไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว”

ในมุมมองนักวิชาการ อย่าง รองศาสตราจารย์ ดร. พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเกิดภัยพิบัติเกิดได้ 2 กรณี คือ เป็นภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ฯลฯ และภัยจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น มลภาวะโรงงาน หรือไฟไหม้โรงงาน ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการภัยพิบัติมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้หุ่นยนต์สุนัข เพื่อเข้าไปสำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติที่เข้าถึงยาก หรือการใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในอาคารเพื่อทราบทิศทางในการเข้าไปดับเพลิงได้  

อย่างไรก็ดี ปัญหาของการจัดการภัยพิบัติไทยไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของการจัดการข้อมูล อย่าง กรณีไฟไหม้ที่โรงงานกิ่งแก้ว ไม่มีข้อมูลเลยว่าโรงงานมีสารเคมีอะไร หรือภายในอาคารเป็นอย่างไร ฯลฯ อันนี้เป็นปัญหาเรื่องการจัดการมากกว่า นอกจากนี้ โรงงานในไทยไม่มีการเตรียมการระวังภัยพิบัติตั้งแต่เริ่มสร้างโรงงาน 

สำหรับการเตรียมพร้อมในการจัดการภัยพิบัตินั้นมีด้วยกัน 3 ประเด็น คือ 

  1. ต้องทำให้เกิดความปลอดภัย อย่าง โครงสร้างอาคาร-โรงงานจะต้องร่วมกลุ่มกันไว้กับส่วนราชการ เมื่อต้องการใช้งานสามารถติดตามหรือจัดการข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น 
  2. ผู้ปฎิบัติหน้าที่ดับเพลิงต้องมีความเป็นมืออาชีพ ผ่านการฝึกฝน  
  3. โรงงานต้องยอมรับต้นทุนในการสร้างระบบป้องกัน 

ด้านคนรุ่นใหม่อย่าง นิธิกร บุญยกุลเจริญ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการดิจิทัลวิถีใหม่ ผู้สร้างเว็บไซต์ Emergency Alert เพื่อแจ้งเตือนอันตรายจากเหตุการณ์สะเทือนไฟไหม้กิ่งแก้ว กล่าวว่า ประเทศไทยมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในเรื่องภัยพิบัติ เช่น แอปพลิเคชั่นพ้นภัยของสภากาชาดไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการแจ้งภัยพิบัติ และร้องขอความช่วยเหลือ 

สำหรับเหตุการณ์ไฟไหม้ที่โรงงานกิ่งแก้วทำให้พบว่า ไทยไม่มีเรื่องของ SMS เตือนภัย จึงนำปัญหานี้มาสร้างเว็บไซต์ Emergency Alert เพื่อแจ้งเตือนอันตรายจากเหตุการณ์ไฟไหม้กิ่งแก้ว โดยแนวคิดของการทำ คือ ทำยังไงให้ง่าย และคนที่ไม่ชำนาญเทคโนโลยีเข้าถึงได้ จึงเขียนระบบนี้ขึ้นผ่าน Longdo Map API เพื่อให้คนเข้าไปตรวจสอบพิกัดของตัวเองซึ่งช่วงเวลานั้นมีคนเข้าใช้งานถึง 3 ล้านคน สิ่งสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการภัยพิบัตินั้น คือ ต้องแจ้งเตือนได้หลากหลายทิศทาง น่าเชื่อถือ และทันต่อเวลา 

อีกมุมมองของนักวิชาการ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีฝ่ายวิชาการและอาจารย์ประจาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไทยมีระบบเตือนภัย อย่าง สึนามิ สามารถเตือนได้ทุกช่องทาง แต่ยังติดปัญหาที่ข้อมูลส่งไปยังหน่วยงานราชการเท่านั้น สำหรับการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีกับการเตือนภัยพิบัตินั้น อยากให้รัฐบาลหยุดถามว่าลงทุนไปแล้วได้ผลแค่ไหน ช่วยคนได้เท่านั้น แต่ควรมองว่าความปลอดภัยเป็นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อโลกแปรปรวนจากฝีมือของมนุษย์ ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรง การแก้เกมของมนุษย์ คือ การสร้างเทคโนโลยีที่คอยเตือน หรือเข้ามาช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากภัยพิบัติ จากกรณีไฟไหม้ที่โรงงานกิ่งแก้วทำให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยให้มนุษย์รอพ้นจากอันตรายได้จริง หลักสำคัญ คือ ต้องเข้าถึงคนให้มากที่สุด และใช้งานให้ง่ายสุด 

ติดตามชมเสวนาออนไลน์ย้อนหลังจากหลากหลายผู้เชี่ยวชาญ ในงาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2021” ภายใต้แนวคิด “DEEP TECH RISING …The Next Frontier of Innovation” การยกระดับเทคโนโลยีเชิงลึก...นวัตกรรมด่านหน้าแห่งอนาคตที่จะมาขับเคลื่อนประเทศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-18 กันยายนนี้ ผ่านเว็บไซต์ https://site.nia.or.th/sessions


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...