WeChat แพลตฟอร์มจาก Tencent เปิดตัวแผนสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก

บริษัท เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (“เทนเซ็นต์” หรือ “บริษัท”, 00700.HK) ผู้นำด้านการพัฒนาบริการเสริมบนอินเทอร์เน็ตจากจีน ประกาศเปิดตัว “แผนสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกโดยวีแชต (WeChat Retail Growth Plan)” พร้อมนำเสนอมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนอุตสาหกรรมค้าปลีกให้สามารถฟื้นตัวและเติบโตได้ต่อไป โดยมาตรการทั้งหมดจัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือธุรกิจและแบรนด์ทั่วโลกให้เข้าใจเครื่องมือและวิธีการใช้งานวีแชตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อยกระดับอีโคซิสเต็มของวีแซตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการเผชิญความท้าทายในยุคที่มีการระบาดของโควิด-19

ขณะที่ธุรกิจในจีนเริ่มค่อยๆ กลับมาทำการและดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังต้องหยุดชะงักไปเพราะโควิด-19 การระบาดของโรคได้แพร่ระบาดและส่งผลกระทบต่อธุรกิจในต่างแดน การปรับมาใช้ช่องทางออนไลน์ รวมถึงการหาทางเพิ่มโอกาสและแนวทางในการเติบโตถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินธุรกิจในช่วงนี้

ปลดล็อกฟังก์ชันใหม่เพื่อช่วยธุรกิจค้าปลีก

ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ขายของแบบออฟไลน์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายร้านต้องปรับตัวขึ้นมาขายของออนไลน์ นอกจากการขายของตามปกติของอีคอมเมิร์ซแล้ว หลายร้านยังนำเทรนด์ที่กำลังมาแรงอย่างการถ่ายทอดสด หรือ ไลฟ์สตรีม (livestream) มาช่วยในการขาย โดยในเดือนกุมภาพันธ์ WeChat ได้เปิดตัว WeChat Live  สำหรับธุรกิจ (WeChat Live for businesses) เพื่อช่วยให้ร้านต่างๆ สามารถติดต่อกับลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ผ่านการไลฟ์สตรีมด้วยฟีเจอร์มินิโปรแกรม (Mini Program)

WeChat Live  ไม่เพียงแต่ใช้งานง่าย แต่ยังเอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์และซื้อขายภายในอีโคซิสเต็มของวีแซต โดยผู้ใช้บริการสามารถชมไลฟ์สตรีมไปพร้อมกับซื้อของและติดต่อกับร้านค้าได้ในเวลาเดียวกัน

ขณะที่ WeChat Live  เอื้อธุรกิจให้มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ฟีเจอร์การให้คำปรึกษาส่วนตัว หรือ   1 on 1 Consultant ของ WeChat ยังสามารถช่วยร้านค้าให้เข้าถึงฐานผู้ใช้งานที่มีอยู่ในระบบและจัดการระบบแฟนของร้านค้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าร้านและกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้นด้วยเครือข่ายและคอนเน็กชันบนโลกโซเชียลที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยพนักงานผู้ให้บริการยังสามารถเริ่มบทสนทนากับผู้ติดตามในบัญชีทางการของร้าน (Official Accounts) ได้ เพื่อแนะนำบริการที่เหมาะสมหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ติดตามกลับมาซื้อของที่ร้านอีกครั้ง

ในช่วงที่มีโรคแพร่ระบาด WeChat Work ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการทำงานระยะไกล และหลายบริษัทได้นำมาใช้เพื่อติดต่อกับลูกค้า เพื่อขยายธุรกิจบนโลกออนไลน์ไปพร้อมกัน

WeChat Work 3.0 เปิดตัวบนโลกออนไลน์ไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2562 โดยร้านค้าสามารถใช้งาน 3 ฟังก์ชันหลัก นั่นคือฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าได้โดยตรง ฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าผ่านวี WeChat Groups และฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าผ่าน WeChat Moments ซึ่งพนักงานของแต่ละบริษัทสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง เพื่อเป็นการพัฒนาฐานลูกค้าบนโลกออนไลน์และเพิ่มความสามารถในการทำงาน WeChat Work ได้เปิดตัวฟังก์ชันไลฟ์สตรีมตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการระบาดของโรค โดยผู้ใช้งานสามารถจัดไลฟ์สตรีม จัดประชุมออนไลน์ และแชร์ให้ผู้ใช้งาน WeChat เข้าร่วมได้ทันที

จากการได้ลูกค้าเพิ่มไปจนถึงการมียอดขายมากขึ้น WeChat Pay ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การชำระเงินไปยังร้านค้าโดยตรงทำได้สำเร็จ หลังจากเปิดตัวได้ห้าปี WeChat Pay ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้ใช้บริการชาวจีนในทุกแง่มุม และยังให้บริการครอบคลุม 16 สกุลเงินใน 60 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก

ในช่วงที่มีการระบาดของโรค WeChat Pay ยังมีบทบาทสำคัญในการทำอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน รวมถึงการสั่งซื้อสินค้าในพื้นที่ และการสแกนชำระเงินด้วยตนเอง (Scan and go)

โจวไท่ฟุก (Chow Tai Fook) ดีเอฟเอส (DFS) ฟาร์เฟ็ตซ์ (Farfetch) และแบรนด์ชั้นนำอีกมากมายได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าธุรกิจสามารถนำฟังก์ชันที่เอื้อประโยชน์อันหลากหลายของ WeChat  มาใช้งานเพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าไปได้พร้อมกับการอัปเกรดการดำเนินกิจการ โดยบริษัทเหล่านี้ยังประสบความสำเร็จบนระบบอีโคซิสเต็มของ WeChat และยังใช้เครื่องมือของ WeChat ที่มีแอปพลิเคชันล้ำสมัยมากมาย ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้กับแบรนด์ระดับโลกอื่นๆ ได้ต่อไป

โจวไท่ฟุก (Chow Tai Fook):  WeChat Work เสริมพลังในการช้อป

ธุรกิจเครื่องประดับมักจะให้ความสำคัญกับการต้อนรับลูกค้าทางออฟไลน์ เช่นเดียวกับ โจวไท่ฟุก ผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องประดับที่มีสาขากว่า 3,000 แห่งทั่วโลก ที่ไม่คุ้นชินกับความท้าทายใหม่ที่ต้องเผชิญในช่วงโควิด-19 อย่างไรก็ตาม โจวไท่ฟุกได้ปรับมาใช้ช่องทางขายบนโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองลูกค้าที่ต้องการช้อปได้ทุกที่ ทุกเวลา

คลาวด์เซลส์ 365 (CloudSales 365) ของโจวไท่ฟุก เป็นเครื่องมือที่ผสมผสานธุรกิจออนไลน์ไปยังออฟไลน์ที่พัฒนาบนระบบ WeChat Work เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลหลังบ้าน คลังข้อมูล และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ในจีนและต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถติดต่อลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เซอร์เรย์ เปา (Surrey Pau) รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารศูนย์การจัดการแห่งประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ มองว่า แพลตฟอร์มนี้ช่วยโจวไท่ฟุกในการ “สร้างเสริมพลังให้พนักงาน”

“WeChat Work ไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางการซื้อขายเท่านั้น” เซอร์เรย์ เปา กล่าวเสริม “เราต้องการรักษาและปรับตัวเข้าหาลูกค้าเราด้วยลักษณะเฉพาะตัวอันโดดเด่น เราจึงต้องเน้นย้ำคุณสมบัติสำคัญทั้ง 3 ข้อ ซึ่งได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับสินค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และการสร้างการบริการที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน”

ดีเอฟเอส (DFS): การสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งใหม่ด้วย WeChat 

ดีเอฟเอสจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์อันหลากหลายให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมีร้านและสาขาตั้งอยู่ทั่วโลก ทั้งในสนามบินและตามศูนย์กลางของเมืองใหญ่ต่างๆ  โดยที่ผ่านมา ดีเอฟเอสได้จัดตั้งโปรแกรมสำหรับสมาชิกบน WeChat อย่าง “โปรแกรมดีเอฟเอส ที วีไอพี คลับ มินิ” (DFS T VIP Club Mini Program) ซึ่งเปลี่ยนนักช้อปออฟไลน์สู่การเป็นสมาชิกออนไลน์ด้วยการมอบสิทธิพิเศษแก่สมาชิกหลังจากที่มีการสั่งซื้อ

นอกจากนี้ ดีเอฟเอสยังได้ขยายการดำเนินการให้มีช่องทางการขายออนไลน์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งก็คือ “เฟรนด์ลี่ ช้อปเปอร์” (Friendly Shopper) หรือโมเดลการขายที่ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าที่มีวางขายในร้านค้าแบบออฟไลน์ผ่านทาง Official DFS WeChat Account หรือบัญชี WeChat ของดีเอฟเอส หลังจากนั้น ผู้ใช้สามารถส่งลิงค์การสั่งซื้อให้นักช็อปที่อยู่ต่างประเทศไปรับสินค้าที่ร้านดีเอฟเอสให้ได้

“การรักษามาตรฐานการให้บริการลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย” แซค คอฟลิน ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ดีเอฟเอส กรุ๊ป อธิบาย “เราต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เรามีเทนเซ็นต์เป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยม และเรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นหนึ่งในอีโคซิสเต็มของ WeChat ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่สร้างขึ้นมาโดยอิงจากความชอบและพึงพอใจของผู้บริโภค โดยดีเอฟเอสใช้เนื้อหาในการดึงดูดผู้บริโภคและสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นตามที่ผู้บริโภคต้องการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด”

ฟาร์เฟ็ตซ์ (Farfetch): อีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส ในอีโคซิสเต็มของ WeChat

ฟาร์เฟ็ตซ์ หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชซื้อขายสินค้าแฟชั่นแบรนด์หรูระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในจีนของบริษัทได้มีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพอย่างน่าทึ่ง  ส่งผลให้ยอดขายที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มในจีนเติบโตเร็วกว่ามาร์เก็ตเพลสโดยรวมในขณะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งการใช้ประโยชน์จาก WeChat อย่างชาญฉลาด เช่น มินิโปรแกรม (Mini Program) วีแชตไลฟ์ (WeChat Live) ได้ปูทางให้ฟาร์เฟ็ตซ์สามารถยืนหยัดอยู่บนอีโคซิสเต็มของวีแซตและประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี

ฟาร์เฟ็ตซ์ ได้พัฒนา เมทริกซ์ (MATRIX) บน WeChat ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาข่าวสารของลูกค้าของร้าน มาร์เก็ตเพลสบนมินิโปรแกรม ไปจนถึงการโต้ตอบกับผู้ใช้โดยตรงด้วยกลุ่มแชต  โดยกลุ่มแชตมาจากอีเวิร์กชอป (E-Workshop) ที่คัดสรรมาอย่างดีโดยสไตลิสต์ผู้เชี่ยวชาญและการแชร์ความสนใจด้านแฟชั่น  การบริการเหล่านี้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟาร์เฟ็ต ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียวแน่น  ยอดขายจึงมาจากการแนะนำแบบปากต่อปากจากผู้ใช้สู่ผู้ใช้โดยตรง 

นอกจากนี้ การไลฟ์สตรีมที่รวมการแนะนำสินค้าแบบเรียลไทม์ (real-time) การบริการลูกค้าระดับมืออาชีพ และความเป็นเรียลลิตีโชว์เข้าไว้ด้วยกัน  ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในผลักดันยอดขายให้แก่แบรนด์หรูได้  และฟาร์เฟ็ตยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสร้างพันธมิตรกับแบรนด์ต่างๆ ในการครองตลาดในประเทศจีน

WeChat สนับสนุนธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19

หลังจากที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หลายบริษัทคงมุ่งมั่นมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในการมองหาโมเดลใหม่ที่ผสมผสานกลยุทธ์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับผู้ค้าปลีกที่ทำตลาดต่างประเทศและในประเทศที่ก่อนหน้านี้เน้นการดำเนินการแบบออฟไลน์ ดังนั้น WeChat จึงได้เปิดตัวนโยบายสนับสนุนการบริการของผู้ค้าที่ครอบคลุมทุกระดับ เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งในการดำเนินงาน เพิ่มโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายให้แก่ผู้ค้า โดยวีแชตมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจค้าปลีกใช้ประโยชน์จากอีโคซิสเต็มของวีแซตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อปรับตัวในเชิงรุกให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้

ที่ผ่านมา WeChat ได้เชื่อมต่อแบรนด์และผู้บริโภคชาวจีนมาแล้วกว่า  1 พันล้านราย ส่งผลให้หลายธุรกิจเข้าถึงโอกาสทางการค้าใหม่ๆ ที่มีผู้ใช้จำนวนมากได้อย่างง่ายดาย และสามารถพัฒนาโมเดลที่ทั้งผู้บริโภคและบริษัทได้ประโยชน์

ธุรกิจที่สนใจเข้าร่วม “แผนสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกโดย WeChat ” เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลและยกระดับยอดขาย การบริการ ลูกค้า และการดำเนินการ ด้วยการใช้ประโยชน์จากอีโคซิสเต็มของวีแซต สามารถยื่นใบสมัครออนไลน์ได้ที่ [email protected]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...