Toshiba จับมือ Peraton Labs เสริมความแข็งแกร่งด้าน Cyber Resilience ให้โครงสร้างพื้นฐาน ด้วย A2P2V เครื่องมือประเมินช่องโหว่การโจมตีทางไซเบอร์

Toshiba Corporation และ Peraton Labs ประกาศเปิดตัวเครื่องมือประเมินช่องโหว่ใหม่ที่ทั้งสองบริษัทร่วมกันพัฒนาซึ่งสามารถจำลองการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber-attack) ต่อระบบควบคุมอุตสาหกรรมเครื่องมือใหม่นี้มีชื่อว่า ระบบวางแผนและตรวจสอบเส้นทางการโจมตีอัตโนมัติหรือ A2P2V (Automated Attack Path Planning and Validation) เป็นเครื่องมือทรงพลังล่าสุดที่สามารถสร้างสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ และจำลองการโจมตีที่ผสานเทคนิคการโจมตีขั้นสูงเพื่อทดสอบและระบุสถานะความมั่นคงปลอดภัยของระบบควบคุม พร้อมทั้งตรวจสอบผลเพื่อระบุภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องให้ความสำคัญก่อนในบรรดาการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีทั้งจำนวนและความหลากหลายเพิ่มขึ้น

A2P2V ผสานข้อมูลการตั้งค่าระบบควบคุมอุตสาหกรรมเข้ากับเทคนิคการโจมตีแบบต่าง ๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ จากนั้นจึงสร้างและทำการจำลองเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์โดยอัตโนมัติเพื่อช่วยตรวจสอบระดับความมั่นคงปลอดภัยของระบบทั้งนี้ Toshiba และ Peraton Labs ได้ทำการสาธิตการโจมตีอัตโนมัติในสภาพแวดล้อมจำลองซึ่งช่วยเผยให้เห็นข้อบกพร่องด้านความมั่นคงปลอดภัยได้จริงเครื่องมือ A2P2V นี้ใช้วิธีการระบุช่องโหว่ในระบบควบคุมอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการโจมตี ซึ่งเป็นการช่วยให้สามารถระบุภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องให้ความสำคัญก่อนจากรูปแบบการโจมตีต่าง ๆ ที่ทวีจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองต่อภัยดังกล่าวด้วย

 

นายทาคาชิ อามาโนะ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของ Toshiba Corporation  กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมและธุรกิจ ทำให้การปกป้องสินทรัพย์ที่สำคัญจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ทาง Toshiba ได้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวจึงพัฒนา A2P2V เครื่องมือประเมินช่องโหว่ที่มีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถระบุและจัดอันดับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างแม่นยำด้วยการจำลองการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบควบคุมอุตสาหกรรม ซึ่งผมได้นำเสนอและแบ่งปันข้อมูลเรื่องโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโตชิบาในที่งาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยความก้าวหน้าของงานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นในการรักษาคำมั่นสัญญาของเราที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทาง Cyber Resilience ให้แก่โครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก”

ด้าน ดร. ยูทากะ ซาตะ เจ้าหน้าที่องค์กรและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาองค์กร ของ Toshiba Corporation กล่าวเสริมว่า “ทุกวันนี้มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงได้ขยายไปสู่ระบบและผลิตภัณฑ์ควบคุมอุตสาหกรรมซึ่งแต่เดิมปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมปิดที่ปลอดภัยด้วยโตชิบานำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันหลากหลายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ และดูแลรับผิดชอบให้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันเหล่านั้นมีความมั่นคงปลอดภัยแม้ในขณะเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอกด้วยเครื่องมือ A2P2V และเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยอื่น ๆ โตชิบาจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าระบบจะมั่นคงปลอดภัยต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่พัฒนาตลอดเวลา”

“ยิ่งการโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนและความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ความสามารถในการจำลองสถานการณ์การโจมตีใหม่ ๆ และจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามต่าง ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานและระบบควบคุมอุตสาหกรรมที่สำคัญ” ดร. เพโทรส มุคทาริส ประธาน Peraton Labs กล่าว “ในฐานะผู้นำด้านการวิจัยทางไซเบอร์ เพราทัน แล็บส์ มุ่งพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือและโซลูชันเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การทหาร และการพาณิชย์จากการโจมตีที่ซับซ้อนในด้านต่าง ๆ ”

รูปที่ 1: แนวคิดของA2P2V

 รูปที่2: A2P2V ขณะปฏิบัติการ (สาธิต)

Toshiba และ Peraton Labs จะนำเสนอเครื่องมือนี้ที่การประชุม Black Hat USA 2021 Arsenal ในวันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นี้ รวมถึงแบ่งปันตัวอย่างโค้ดด้วย เพื่อมุ่งสร้างความร่วมมือในชุมชนและองค์กรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อสร้างคุณค่าผ่านการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด

Toshiba และ Peraton Labs จะยังคงเดินหน้าใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบบไซเบอร์-กายภาพ (Cyber-Physical System: CPS) โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและไซเบอร์ของทั้งสองบริษัท ประกอบกับประสบการณ์ด้านการผลิตกว่า 140 ปีของ Toshiba เพื่อส่งมอบโซลูชันที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Cyber Resilience ของระบบควบคุมและส่งเสริมการสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากอาชญากรรมไซเบอร์


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...