สิ่งที่ต้องคำนึงเรื่องการใช้จ่ายเมื่อไปเที่ยวจีน เมืองแห่ง Cashless society

จีนเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนไทย ทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ รวมถึงนักเรียนนักศึกษา เพราะนอกจากจะมีอารยธรรมโบราณที่โดดเด่น และธรรมชาติสวยงามแล้ว ยังเป็นมหาอำนาจที่มีความก้าวหน้าด้านธุรกิจและเทคโนโลยี แต่ด้วยความที่จีนมีความเฉพาะเจาะจงหลายอย่างทั้งวัฒนธรรม ภาษา และเรื่องที่หลายคนให้ความสำคัญมากที่สุดอย่างเรื่องการใช้จ่ายเงิน เรามาดูวิธีใช้จ่ายเงินได้อย่างสบายใจเมื่อไปเที่ยวจีนกัน

1. RMB vs CNY และเงินหยวนต่างกันอย่างไร

ทั้งสามชื่อข้างต้นมีความหมายกว้างๆ คือ เงินที่ได้รับการยอมรับและสามารถใช้ได้ในจีน โดยแต่ละคำจะมีความหมายที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย RMB หรือ Renminbi (เหรินหมินปี้) เป็นชื่อค่าเงินอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นชื่อที่คนจีนเองนิยมเรียก แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมธนาคารหรือร้านแลกเงินจึงแสดงค่าเงิน CNY นั่นเป็นเพราะ CNY ย่อมาจาก Chinese Yuan ซึ่งเป็นชื่อเรียกสกุลเงินตามมาตรฐานสากล โดยใช้อักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อสกุลเงิน เหมือนที่ไทยมีสกุลเงิน THB ในขณะที่ หยวน เป็นหน่วยเงินของสกุลเงินดังกล่าว เช่น สินค้ามีราคา 10 หยวน หรือ 10 บาท

ดังนั้น จำง่ายๆ คือ เมื่อไปแลกเงิน ให้มองหาสกุลเงิน CNY แต่เมื่อเที่ยวจีนและสอบถามราคากับแม่ค้าให้เรียกหน่วยเงินที่จ่ายว่า หยวน นั่นเอง

2. คิวอาร์โค้ดที่ใช้ในไทยและจีนเหมือนกันหรือไม่

QR Code Paymentจีนเป็นหนึ่งในสังคมไร้เงินสดที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ปัจจุบันร้านค้าส่วนใหญ่จึงนิยมรับชำระเงินด้วยระบบอีเพย์เมนต์ โดยเฉพาะการจ่ายเงินผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่ผู้บริโภคไทยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า คิวอาร์โค้ดทั้งหมดใช้ระบบเดียวกัน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว คิวอาร์โค้ดที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิตหรือเครดิตในต่างประเทศนั้น ต้องมีเครือข่ายการชำระเงินระดับโลกรองรับ ในปัจจุบันธนาคารของไทยหลายแห่งก็กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินที่มีอยู่นี้ และหนึ่งในนั้นก็คือแอปพลิเคชัน BeWallet ของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือบัตรสามารถจ่ายเงินที่ร้านค้ากว่า 10 ล้านจุด ทั้งในประเทศจีนและทั่วโลกได้ผ่านคิวอาร์โค้ดของยูเนี่ยนเพย์

3. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาเลือกบัตรเครดิตหรือเดบิตสำหรับใช้จ่ายเวลาไปเที่ยวจีน

การใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตที่ออกโดยธนาคารของไทยยังคงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด แทนการพกเงินสดจำนวนมาก มาก เมื่อไปเที่ยว ไปทำงาน หรือไปเรียนต่อที่จีน เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ควรเลือกบัตรที่มีระบบการชำระเงินมาตรฐานสากลที่มีเครือข่ายร้านค้าและเอทีเอ็มที่รองรับแพร่หลายในจีน และมีการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขพิน 6 หลัก เรียกว่าช้อปและกินได้ทุกที่ และไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็ไม่ต้องกังวลว่าบัตรหายแล้วจะมีขโมยนำไปใช้

บัตร Travel Card

สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ บัตรเดบิตประเภท Travel Card ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ถือบัตรสามารถแลกเงินเป็นสกุลท้องถิ่นใส่ไว้ในบัตร ดังนั้น เวลารูดบัตรซื้อของในจีน ผู้ถือบัตรจึงไม่ต้องเสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน และยังสามารถควบคุมยอดการใช้จ่ายได้ตามจำนวนเงินที่เราใส่ไว้ในบัตร นอกจากนี้ ธนาคารบางแห่งยังให้อัตราแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่าพอๆ กับร้านแลกเงินอีกด้วย

สมัครบัตรใหม่เพื่อใช้แค่เวลาไปเที่ยวจีนจะคุ้มหรือไม่

สำหรับคนที่ไม่ได้เดินทางไปประเทศจีนบ่อย อาจมองว่าการเปิดบัตรเครดิตหรือเดบิตใหม่ไม่คุ้มกับเวลาที่ต้องเสียไป เพราะคงได้ใช้สิทธิประโยชน์แค่ไม่กี่ครั้ง แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเหล่านี้ในไทยได้คุ้มค่าไม่แพ้กัน เพราะระบบการชำระเงินและธนาคารหลายแห่งก็จัดเต็มโปรโมชันในไทยด้วย ดังนั้น ถ้าวางแผนการใช้เงินดีๆ อาจได้ความคุ้มค่าถึงสองต่อเลยทีเดียว

สำหรับใครที่กำลังวางแผนเดินทางไปเที่ยวจีน ยูเนี่ยนเพย์ ได้จับมือกับธนาคารกรุงไทย ออกบัตร Krungthai Travel UnionPay Debit Card ซึ่งเป็นบัตรเดบิตที่รองรับการใช้จ่ายในสกุลเงินบาทและหยวน คุ้มค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศที่ดีที่สุด แลกเงินและจัดการบัตรได้สะดวกตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงสามารถใช้จ่ายเงินได้ที่เครือข่ายจุดชำระเงินของยูเนี่ยนเพย์ทั่วประเทศจีนกว่า 26 ล้านจุด และถอนเงินสดสกุลหยวนได้ที่เอทีเอ็มกว่า 9 แสนจุด

นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรยังสามารถรับสิทธิประโยชน์จากยูเนี่ยนเพย์ในประเทศไทยอีกมากมาย เช่น ซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ราคา 88 บาท ทุกเรื่องทุกรอบ หรือ คูปองเงินสดมูลค่า 100 บาท เมื่อซื้อสินค้า 600 บาทขึ้นไปต่อเซลสลิป ที่ Gourmet Market, Home Fresh Mart, Villa Market, Foodland และ Central Food Hall โดยสามารถติดตามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ Facebook: UnionPayThailand 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจซีแอนด์โค” ร่วมมือ “ฮาห์ม พาร์ทเนอร์” เปิดกลยุทธ์เสริมแกร่ง แบรนด์เกาหลีสู่ไทยและตลาด APAC

รู้จัก “One Asia Communications” การรวมตัวจาก บ.พีอาร์กว่า 10 ชาติในเอเชีย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ สร้างการเข้าถึงตลาด APAC ได้อย่างไร้รอยต่อ...

Responsive image

ส.อ.ท. จับมือ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอ...

Responsive image

Grab เปิดตัว GrabExecutive หลังบริการเรียกรถพรีเมียมโต 50% พร้อมดึง VATANIKA ดีไซน์ชุดเครื่องแบบคนขับ

แกร็บเปิดตัว GrabExecutive บริการเรียกรถหรูระดับพรีเมียม โตแรง 50% เจาะตลาดนักธุรกิจ-นักท่องเที่ยวไฮเอนด์ พร้อมบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รถหรู-คนขับมืออาชีพ-ดีไซน์ยูนิฟอร์มโดย VATANIKA...