The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เมื่อพูดถึงอัจฉริยะระดับโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลายคนอาจนึกถึงสมการซับซ้อนหรือแนวคิดที่เข้าใจยาก แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ วิธีการคิดของไอน์สไตน์นั้นกลับเรียบง่ายและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ หนึ่งในแนวคิดที่สำคัญที่สุดของเขาคือ The Puzzle Principle ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อดังและผู้เขียนหนังสือ Think Again อย่าง Adam Grant และงานวิจัยสมัยใหม่ต่างยืนยันว่า แนวคิดนี้สามารถทำให้เราฉลาดขึ้นได้จริง !

The Puzzle Principle คืออะไร ?

หนึ่งในคำพูดที่โด่งดังของไอน์สไตน์คือ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่ามันหมายถึงความคิดสร้างสรรค์นั่นมีความสำคัญเหนือกว่าความรู้ความเข้าใจ แต่ความจริงแล้วสิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการสื่อกว้างกว่านั้นมาก เขาไม่ได้มองว่าความรู้ไม่สำคัญ แต่เขามองว่าจินตนาการทำให้เรามีความยืดหยุ่นในการมองปัญหา มันคือการไม่ยึดติดกับคำตอบที่เราคิดว่าถูกต้องและพร้อมจะสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เหมือนกับการเล่นพัซเซิลที่เราต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

สิ่งที่ทำให้ไอน์สไตน์แตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์หลายคนในยุคเดียวกัน คือเขาไม่มีปัญหากับการยอมรับว่าตัวเองอาจคิดผิด ขณะที่คนอื่นๆ มักจะติดอยู่ในกรอบความเชื่อเดิม ไอน์สไตน์กลับเปิดกว้างและพร้อมจะตั้งคำถามกับทุกสิ่ง แม้แต่ความเชื่อที่ทุกคนมองว่าถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น การค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เปลี่ยนแปลงโลกวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นเพราะไอน์สไตน์ไม่ได้ยึดติดกับแนวคิดเก่าของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้น เขามองปัญหาเหมือนพัซเซิล และเล่นกับมันด้วยมุมมองใหม่ที่แตกต่าง จนค้นพบคำตอบที่ไม่มีใครคาดถึง

ดังนั้น The Puzzle Principle คือ คือการมองปัญหาเหมือนกับเกมปริศนา ที่ต้องใช้การลองผิดลองถูกและความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ คุณไม่จำเป็นต้องรู้ทุกคำตอบตั้งแต่แรก ขอเพียงเปิดใจกว้าง กล้าที่จะตั้งคำถามและยอมรับว่าเราอาจคิดผิดได้บ้าง หลักการนี้ไม่ใช่แค่ช่วยเพิ่มความเฉลียวฉลาด แต่ยังช่วยให้เรามองเห็นมุมมองใหม่ๆ ของปัญหาที่คนอื่นอาจมองข้าม

ความถ่อมตนทางปัญญา คือความฉลาดที่แท้จริง

นักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง Adam Grant ยังยืนยันว่าการคิดแบบนี้ช่วยให้คนทั่วไปมีความคิดที่เฉียบคมขึ้น ในหนังสือ Think Again เขาได้ให้แนะนำที่สำคัญไว้ถึง 2 อันได้แก่ 

จงให้ความถ่อมตนสำคัญกว่าความทะนงตัว และความอยากรู้อยากเห็นสำคัญกว่าความมั่นใจ


จงค้นหาว่าคุณอาจผิดตรงไหน ไม่ใช่เพียงหาหลักฐานมายืนยันว่าคุณถูก

นอกจากนี้ตัวอย่างจากงานวิจัยยังพบว่า…

  • งานวิจัยในยุโรปพบว่าธุรกิจที่มองการทำงานเหมือนการแก้พัซเซิล สร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 500,000 ดอลลาร์ เทียบกับบริษัทที่ทำตามแผนเดิมอย่างเคร่งครัด
  • คนที่แก้ปัญหาด้วยความถ่อมตนทางปัญญามีแนวโน้มตัดสินคุณภาพของข้อมูลได้แม่นยำขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้น และเข้าใจปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีกว่า

สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะเป็นใครหรือทำงานอะไร หลักการพัซเซิลของไอน์สไตน์ช่วยให้คุณฉลาดขึ้นได้ เพียงมองปัญหาเหมือนพัซเซิลที่รอให้คุณแก้ไข เปิดใจกว้าง และอย่ากลัวที่จะคิดผิดบ้าง เพราะความคิดที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากการยอมรับว่าตัวเองยังไม่รู้ทั้งนั้น

อ้างอิง: inc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...

Responsive image

ศิลปะการสื่อสารในวันวิกฤติ ผู้นำควรใช้ถ้อยคำแบบไหน ?

เมื่อวิกฤตมาเยือน คำพูดของผู้นำไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่คือพลังเยียวยา สำรวจศิลปะการสื่อสารของ Brian Chesky ที่เปลี่ยนการเลย์ออฟให้เป็นบทเรียนเรื่องความเป็นมนุษย์และความกล้าหาญในวันท...

Responsive image

เปิดคู่มือหลังเผชิญภัยพิบัติ ผู้นำควรดูแลทีมอย่างไร? เทคนิคจาก UN ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจา...