GovTech คำที่กรณ์ จาติกวณิช อยากทำให้เป็น Buzzword


ในช่วงหลังมานี้ เราเริ่มเห็นคำว่า GovTech กันบ่อยมากขึ้น ทั้งการจัดเสวนา การจัดงานต่างๆ แล้วคำๆ นี้มีหมายความว่าอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร? Techsauce ได้นั่งคุยกับคุณกรณ์ จาติกวณิช หนึ่งในผู้ที่ผลักดัน และอยากทำให้ GovTech เกิดขึ้นในประเทศไทย 

GovTech คืออะไร

GovTech หรือ Government Technology คือการให้บริการจากภาครัฐโดยอาศัยเทคโนโลยี รูปแบบเดียวกับการที่ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีจากภาคเอกชน เช่น จองแท็กซี่ สั่งซื้ออาหาร จองเครื่องบิน จองห้องพักโรงแรม ใช้มือถือทำธุรกรรมต่างๆ  ในอนาคตประชาชนควรจะใช้บริการหรือเข้าถึงรัฐด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ในระดับเดียวกัน

ทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็น GovTech ถูกนำมาเป็นนโยบายหาเสียง

อันนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง สาเหตุเป็นเพราะว่ามันยังไม่เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มันจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่นักการเมืองนำมาหาเสียงแล้วได้คะแนน 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลแรกที่เข้ามาบริหารในยุค Digital Economy เรื่องของ Startup ในประเทศไทยก็พึ่งจะมา Active จริงๆ 4-5 ปีมานี้ ซึ่งอยู่ในช่วงของรัฐบาลนี้พอดี เวลาไปงานต่างๆ ที่รัฐบาลได้จัดขึ้นมาสนับสนุน Startup จะมักพบอยู่กระทรวงเดียวคือกระทรวงดิจิทัลหรือกระทรวงวิทยาศาสตร์เข้ามา ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่พอ เพราะเทคโนโลยีมันเป็นเรื่องของทุกกระทรวง ยิ่งกระทรวงไหนมีพันธกิจกับประชาชนมากแค่ไหน ยิ่งต้องสนใจเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงดิจิทัลหรือวิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนน้อยมากแต่กลับมาเป็นผู้รับงาน

แต่ตราบใดที่กระทรวงเกษตร กระทรวงการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้เข้ามาร่วม กระทรวงดิจิทัลหรือวิทยาศาสตร์จัดงานได้ดีแค่ไหน ก็ไม่เป็นประโยชน์เพราะผู้ใช้ไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นทุกหน่วยงานควรตั้งคำถามให้ตัวเอง หรือ Disrupt การทำงานในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AI , Deep learning , Blockchain ต่างๆ ว่าสามารถมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยประชาชนได้อย่างไร

หรือนี่จะกลายเป็น Buzzword ของนักการเมือง

ผมอยากให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เราต้องยอมรับว่า ถ้ายังไม่เป็น Buzzword หรือเป็นที่เรียกร้องจากประชาชน ก็อาจจะยากที่ฝ่ายการเมืองจะขับเคลื่อนได้ ดังนั้นฝ่ายการเมืองจะขับเคลื่อนได้ก็ต้องสร้างกระแส และทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่จะไปเรียนรู้และมานำเสนอในเรื่องนี้

ทุกวันนี้เรามี Big data เราเริ่มเห็นปัญหาที่สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยี แต่ภาครัฐก็ยังไม่สามารถคิดแก้เองได้อยู่ดี เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ ยังไม่เอื้อต่อการคิดหาวิธีแก้ปัญหาแบบนั้น ซึ่งเราต้องเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้มีความรู้ทางเทคโนโลยี หรือ Startup ต่างๆ ให้เข้าถึงภาครัฐ ให้มีโอกาสที่จะนำเสนอทางออกหรือ Solution ต่างๆ เพื่อให้เค้าโตได้และช่วยชาติได้ อย่าง EdTech นั้น โรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นโรงเรียนรัฐ แต่หากเขาไม่สามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงโรงเรียนเหล่านั้นได้ เขาก็ไม่สามารถโตได้

“ดังนั้นอีกมุมนึงของ GovTech คือพื้นที่ตรงกลางที่ทำให้ Startup เชื่อมโยงกับภาครัฐได้ ถ้าเราสามารถสร้างพื้นที่นี้ขึ้นมาเราจะสามารถช่วยประเทศชาติ และทำให้เขา Scale ได้ด้วย โดยการขายบริการของเขาให้แก่ประชาชนผ่านภาครัฐ”

มองว่ากระทรวงอะไรที่จะเกิดเรื่องนี้เร็วที่สุด

2 กระทรวงแรกคือกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุเพราะว่าปัญหาของเขาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการศึกษาหรือการเข้าถึงการให้บริการของโรงพยาบาลอย่างเท่าเทียม อย่างตอนนี้มีการจัด Hackathon  ก็มีการลองทำเรื่องนี้ก่อน 

“ซึ่งนี่คือโอกาสที่ Startup จะได้นำเสนอความคิดแก่ฝ่ายการเมือง จึงได้บอกกับพวกเขาว่าอย่ารังเกียจการเมือง GovTech จะเกิดขึ้นได้นั้น รัฐและเอกชนหรือ Startup ต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน”

โดยหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทุกกระทรวงทำงานแค่ในส่วนของตัวเอง ระบบไม่ Integrate ตัวอย่างเช่นในการจัดซื้อของแต่ละกระทรวงในประเทศไทยจัดซื้อกันเองมีมูลค่ามหาศาล DATA อยู่ในมือรัฐเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้  ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์คือ การประหยัดงบประมาณ ที่ต้องบูรณาการหน่วยงานรัฐ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

ยกตัวอย่างเมื่อ 10 ปีทีแล้วเราพยายามแก้ปัญหาบางประเภทที่มันแก้ไม่ได้ ที่มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐมากกว่า  1 หน่วยงานที่เค้าไม่ยอมคุยกัน เลยออกมติครม. ออกมาให้เค้าเข้าไปอยู่ในห้องเดียวกัน ให้เวลาสองเดือน ให้คุยกันรู้เรื่องแก้ปัญหานี้ให้ได้ ไม่ต้องทำงานอื่น ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งนั่นเป็นยุคอนาล็อก แต่ในยุคสมัยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ Startup เข้ามาช่วยนำเสนอซึ่งจะมาเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง

ยกตัวอย่าง Case Study จากต่างประเทศ

ในประเทศอังกฤษ และนิวซีแลนด์ มีหน่วยงาน GovTech ที่ให้เอกชนเข้าบริหาร  ที่กรมสรรพกรหรือตรวจคนเข้าเมืองของเขายังต้องกรอกข้อมูลอยู่ ซึ่งข้อมูลมีเยอะมาก เลยมีการตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ลดภาระของผู้โดยสาร กรมสรรพกร ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการคืนภาษี ซึ่งก็ทำให้เกิดการ Pitch โดยมีผู้นำเสนอมามากกว่า 300 กว่าราย ซึ่งผู้ชนะก็ได้เข้าไปร่วมงานกับภาครัฐและนำบริการไปใช้

ซึ่งในกรณีของเราควรตั้งหน่วยงานที่จะเสนอปรับแก้กฎหมายที่ยังล้าสมัย และคอยปรับกฎหมายให้เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี ยกตัวอย่างล่าสุด กรมขนส่งทางบกให้โหลดแอปพลิเคชันใบขับขี่ แต่วันเดียวกันกลับต้องยังโชว์ใบขับขี่อยู่ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่าหน่วยงานที่พัฒนาและตัวกฏหมายต้องเป็นไปในทางเดียวกัน 

บทบาทของภาครัฐกับคน Gen X Gen Y โดยเฉพาะกับการเลือกตั้งครั้งนี้

ในเวลานี้เรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ท้าทายมาก จะมีผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกมากที่สุดประมาณ 8 ล้านคน  ชุดความคิดของคนรุ่นใหม่ ความขัดแย้งต่างๆ ไม่ใช่ประเด็นหลักสำหรับพวกเขา ปัญหาในตอนนี้ที่คนรุ่นใหม่มอง อาจจะเป็นเรื่องฝุ่น หรือ จบแล้วจะไม่ตกงาน ซึ่งนักการเมืองก็จะต้องมาปรับความคิด ใครปรับไม่ได้ก็จะแพ้ เพราะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ ซึ่งประเด็นการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ในช่วงจังหวะสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรากหญ้า ดังนั้นก็จะต้องมีประเด็นปัญหาเรื่องปากท้องหรือยาเสพติดเข้าไปด้วยเป็นหลัก แต่ว่าวิธีการเข้าถึงประชาชนก็เปลี่ยนไปด้วย เพราะคนไทยทุกคนส่วนใหญ่อยู่บนหน้าจอโทรศัพท์ พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีเข้าถึงนักการเมืองไปด้วย เพราะวิธีการรับฟังข้อมูลของประชาชนเปลี่ยนไป เพื่อให้เข้าสู่ยุคสมัย

ในยุคนี้เป็นยุคแรกที่มี Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม และเป็นยุคแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อสังคม คนรุ่นก็อยากทำงานเพื่อสังคม นั้นทางเลือกคุณมีมากกว่า คุณสามารถผลักดันสังคม ในการนำเสนอผลงานนำเสนอความคิดผ่านรัฐบาลในการช่วยประชาชน แต่รัฐต้องเปลี่ยนแปลงในการสร้างพื้นที่แก่คนเหล่านั้น บทบาทของรัฐจะเปลี่ยนไปที่จะชับเคลื่อนการเมืองในภาครัฐและราชการ ต้องเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาระบบ ลดอำนาจของรัฐส่วนกลาง ซึ่ง GovTech ก็เป็นส่วนหนึ่งในที่เกี่ยวข้องที่จะมาช่วย

อนาคตของรัฐบาลต้องเป็นอย่างไร

ในยุคปัจจุบัน มันเป็นยุคแรกของการมี Social Enterprise หรือธุรกิจเพื่อสังคม  และเป็นยุคแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานเพื่อสังคม  ผมจึงอยากจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ว่า ถ้าคุณมีจิตสาธารณะ ทางเลือกคุณมีมากขึ้น และบางทีคุณอาจช่วยได้มากกว่า ในการผลักดันเรื่องที่คุณมี Passion จริงๆ และหน้าที่ของพวกผม หรือคนที่อยู่ในฝั่งการเมืองอยู่แล้ว คือการเปิดพื้นที่ เปิดโอกาส เปิดแนวความคิดของคุณให้กับภาคราชการในการนำไปใช้และบริการประชาชน

ด้านรัฐต้องเปลี่ยนแน่นอน ต้องเปิดพื้นที่ให้ ปัจจุบันเรายังมีเรื่องของ Grab ที่ยังไม่ถูกกฏหมาย รัฐยังคิดในชุดความคิดแบบเดิม รัฐยังปรับชุดความคิดของตัวเองให้ทัน ดังนั้นบทบาทรัฐต้องเปลี่ยน และรัฐต้องอาศัยการขับเคลื่อนทางการเมือง ที่จะนำไปสู่วิธีคิดวิธีการทำงานโดยเฉพาะในส่วนของภาคราชการ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...

Responsive image

ศิลปะการสื่อสารในวันวิกฤติ ผู้นำควรใช้ถ้อยคำแบบไหน ?

เมื่อวิกฤตมาเยือน คำพูดของผู้นำไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่คือพลังเยียวยา สำรวจศิลปะการสื่อสารของ Brian Chesky ที่เปลี่ยนการเลย์ออฟให้เป็นบทเรียนเรื่องความเป็นมนุษย์และความกล้าหาญในวันท...

Responsive image

เปิดคู่มือหลังเผชิญภัยพิบัติ ผู้นำควรดูแลทีมอย่างไร? เทคนิคจาก UN ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจา...