Storytelling ทักษะเอาชีวิตรอดในยุค AI ทำไมยิ่ง AI ฉลาดขึ้น เราต้องเล่าเรื่องเก่ง ?

Storytelling หรือ ทักษะการเล่าเรื่อง ทักษะทรงพลังที่มักถูกมองข้าม จะสำคัญกับ ‘ทุกคน’ มากยิ่งขึ้นในยุค AI เพราะอะไร ?

ทักษะการเล่าเรื่องสำคัญยังไง ?

เชื่อว่าทุกคนต้องผ่านการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนมาไม่มากก็น้อย เราถูกฝึกให้เล่าเรื่องตั้งแต่ชั้นประถมจนเรียนจบมหาวิทยาลัย และในโลกธุรกิจทักษะนี้จะสำคัญมากยิ่งขึ้น คนที่เป็นนักธุรกิจ นักการตลาด นักเขียน ผู้ประกอบการ และอีกมากมายจำเป็นต้องเล่าเรื่องให้เก่ง เพราะอะไร ? 

  • ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการหานักลงทุนมาป้อนเงินให้ ไอเดียล้ำเลิศของคุณจะมีประโยชน์อะไร ถ้าคุณไม่สามารถเล่ามันออกมาให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ 
  • ถ้าคุณเป็นผู้นำธุรกิจหรือเจ้าของกิจการ วิสัยทัศน์ที่คุณวางแผนมาจะถูกนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลได้ดีที่สุดได้อย่างไร ถ้าคุณปลุกเร้าให้พนักงานเชื่อมั่นไม่ได้ 
  • ถ้าคุณเป็นนักการตลาด ธุรกิจของคุณก็ต้องการเรื่องราวที่ดี เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ กระตุ้นยอดขายผลิตภัณฑ์ สร้างความไว้วางใจและความภักดีในหมู่ลูกค้า 

เราจะเห็นว่า Storytelling สำคัญมากกับธุรกิจและหลายอาชีพ แต่ทำไมยิ่ง AI พัฒนามากขึ้น เรายิ่งต้องเล่าเรื่องให้เก่งขึ้น ?

ทำไมยิ่ง AI พัฒนา เรายิ่งต้องมีทักษะ Storytelling 

Scott Galloway นักธุรกิจพันล้านและศาสตราจารย์ด้านการตลาดของ NYU ชี้ว่า ในยุคสมัยที่ปัญญาประดิษฐ์พัฒนาและมีความสามารถใกล้ทัดเทียมมนุษย์ ทักษะที่มนุษย์อย่างเราจำเป็นต้องมีไม่ใช่การเขียนโค้ดหรือทักษะเชิงเทคนิคใดๆ แต่เป็น ทักษะการเล่าเรื่อง

เพราะ AI เป็นเครื่องจักรที่มาช่วยเราจัดการงานง่ายๆ งานซ้ำซาก หรืองานที่จำเป็นต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลมหาศาล แต่มันไม่สามารถสร้างความหมายหรือบริบทให้กับเรื่องราวนั้นได้ ทั้งยังไม่สามารถแสดงออกถึงความจับใจ กินใจ แบบที่คนทำกัน

ในทางกลับกัน ปัญญาประดิษฐ์ยังคงมีปัญหาในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่สามารถก้าวข้ามอคติที่เป็นผลจากข้อมูลที่เรียนรู้มีจำกัด และการสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ใช้งาน แม้ตอนนี้จะมีบริษัท AI ยักษ์ใหญ่พยายามจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ไปถึงจุดที่เข้าใจอารมณ์มนุษย์

Galloway ไม่ได้ปฏิเสธว่าทักษะเชิงเทคนิค หรือ Hard Skills นั้นไม่จำเป็น แต่คนที่มีทักษะทั้งสองประเภท (Storytelling และ Hard Skill) จะโดดเด่นกว่าคนที่ไม่มีอย่างไม่ต้องสงสัย ยิ่ง AI พัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ มนุษย์ยิ่งต้องพัฒนาทักษะการสื่อสารให้มากขึ้นตาม

คนที่เก่งเรื่อง Storytelling ก็ไม่ได้มีดีแค่ ‘พูดเก่ง’ เท่านั้น แต่ต้องมีความสามารถในการเข้าใจเรื่องที่จะเล่า เข้าใจอารมณ์ผู้ฟัง และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟังด้วย นั่นทำให้คนที่เก่ง Storytelling จะเป็นบุคลากรทรงคุณค่าในยุค AI ในมุมมองของ Galloway

5 วิธีพัฒนาทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling)

5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณมีทักษะการเล่าเรื่องที่ดีขึ้น จาก Scott Galloway 

  • ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน :  การเล่าเรื่องต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่ว่าจะผ่านการเขียน การพูดในที่สาธารณะ หรือแม้แต่การฝึกด้นสด
  • เรียนรู้จากปรมาจารย์ : โลกเรามีนักพูดที่ดีมากมาย ผู้นำธุรกิจหลายคนก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่ง ไม่ว่าจะเป็น Jack Ma, Steve Jobs หรือ Elon Musk เป็นต้น การเรียนรู้จากที่สุดในด้านนี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเราได้
  • ยอมรับและโอบกอดความอ่อนแอ : เรื่องเล่าที่ดีต้องเป็นของแท้ ผู้ฟังถึงจะสัมผัสถึงความจริงใจและอารมณ์ในเรื่องนั้นได้ การเผยช่องโหว่ของเรา หรือการเผยจุดอ่อนแอของเราในการเล่าเรื่อง จะช่วยเชื่อมต่อเรากับผู้ฟังได้ดีขึ้น
  • วิธีที่เล่า ต้องเข้ากับสื่อที่ใช้ : ปัจจุบันมีสื่อหลายรูปแบบและช่องทาง เช่น วิดีโอสั้น บทความ การเล่าเป็นภาพ พอดแคสต์ ป็นต้น เราจึงควรเรียนรู้วิธีปรับทักษะการเล่าเรื่องของให้เข้ากับสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดผู้ชมอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาความสามารถในการเขียน การถ่ายทอดความคิด 
  • หาคำติชมเสมอ : ขอฟีดแบ็คจากผู้อื่นอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเล่าเรื่องของคุณ 

สุดท้ายแล้ว การพัฒนาทักษะ Storytelling ในยุค AI หากเสริมทักษะด้านการสื่อสารอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอแล้ว ต้องหาประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีและบูรณาการเข้ากับการเล่าเรื่องด้วย เช่น ใช้ AI เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องที่จะเล่า หรือใช้เทคโนโลยี VR ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้ฟัง เป็นต้น

อ้างอิง : themghs

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...

Responsive image

ศิลปะการสื่อสารในวันวิกฤติ ผู้นำควรใช้ถ้อยคำแบบไหน ?

เมื่อวิกฤตมาเยือน คำพูดของผู้นำไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่คือพลังเยียวยา สำรวจศิลปะการสื่อสารของ Brian Chesky ที่เปลี่ยนการเลย์ออฟให้เป็นบทเรียนเรื่องความเป็นมนุษย์และความกล้าหาญในวันท...

Responsive image

เปิดคู่มือหลังเผชิญภัยพิบัติ ผู้นำควรดูแลทีมอย่างไร? เทคนิคจาก UN ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจา...