คนรุ่นใหม่แกล้งยุ่ง ต้านคำสั่งกลับเข้าออฟฟิศ ด้วยเทรนด์ "Task Masking"

Task Masking

ช่วงนี้กระแสการกลับเข้าออฟฟิศกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก โดยบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Amazon และ JPMorgan เริ่มกำหนดให้พนักงานต้องเข้ามาทำงานแบบไฮบริดหรือเต็มเวลา แต่พนักงานจำนวนมากยังคงยืนกรานว่าต้องการความยืดหยุ่น เช่นการ Work From Home 

ผลสำรวจจาก Gallup พบว่า 60% ของพนักงานที่ทำงานแบบ Remote มีแนวโน้มลาออก หากพวกเขาถูกบังคับให้กลับเข้าออฟฟิศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำงานแบบ Work From Home (WFH) กลายเป็น New Normal ที่คนทำงานไม่อยากเสียไป

แต่แทนที่จะลาออกหรือเผชิญหน้ากับบริษัทโดยตรง คนรุ่นใหม่เริ่ม “ตอบโต้” คำสั่งนี้ในแบบของตัวเอง นั่นจึงเป็นที่มาของเทรนด์ “Task Masking” หรือการ “สร้างภาพว่าทำงาน” เพื่อเสียดสีแนวคิดที่ว่า แค่นั่งอยู่ในออฟฟิศ = ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงอาจไม่เกี่ยวกันเลย

Task Masking คืออะไร?

Task Masking คือการแกล้งทำเป็นยุ่ง เพื่อให้ดูเหมือนว่ากำลังทำงานหนักในออฟฟิศ ทั้งที่จริง ๆ แล้วประสิทธิภาพหรือปริมาณงานที่ทำอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เทรนด์นี้ถูกพูดถึงอย่างมากใน TikTok และแพลตฟอร์มโซเชียลอื่นๆ โดยได้รับความนิยมจากกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่รู้สึกว่าการถูกบังคับเข้าออฟฟิศไม่ได้ช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น

ตัวอย่างพฤติกรรม Task Masking

  • พิมพ์เสียงดัง เพื่อให้ดูเหมือนกำลังทำงานจริงจัง
  • เดินเร็วๆ ทั่วออฟฟิศ ให้เหมือนกำลังยุ่งมาก
  • ทำหน้าขึงขัง ซีเรียส ขณะนั่งจ้องคอมพิวเตอร์
  • เปิดแอปโซเชียลมีเดียบนเดสก์ท็อป แล้วแกล้งพิมพ์ไปเรื่อยๆ
  • ถอนหายใจหรือทำเสียงหงุดหงิดเป็นระยะๆ ให้ดูเหมือนงานหนักมาก
  • เปิดสมุดโน้ตแล้วไล่เปิดไปทีละหน้า เหมือนกำลังเช็คงานสำคัญ

TikToker บางคนยังแนะนำให้ โทรหาคนรู้จักแล้วใช้ท่าทางมือจริงจัง เพื่อให้ดูเหมือนประชุมงานอย่างเคร่งเครียด

ทำไม Task Masking ถึงเป็นกระแส?

Amanda Augustine ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพจาก Career.io มองว่าการบังคับให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศ สะท้อนแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับ “การมีตัวตน” มากกว่าผลลัพธ์ของงาน ซึ่งไม่ตรงกับมุมมองของคนรุ่นใหม่

แนวโน้ม “สร้างภาพว่าทำงานหนัก” จึงเกิดขึ้นเพื่อเสียดสีแนวคิดนี้ เพราะความจริงแล้ว การนั่งทำงานที่ออฟฟิศไม่ได้แปลว่าจะทำงานได้ดีขึ้น บริษัทอาจได้เห็นพนักงานที่ดูเหมือนขยัน แต่ไม่ได้หมายความว่างานจะมีคุณภาพหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับคนรุ่นใหม่ สิ่งที่สำคัญคือผลลัพธ์ของงาน ไม่ใช่แค่การมานั่งในออฟฟิศ หากยึดติดกับแนวคิดเก่า ๆ ก็อาจทำให้องค์กรพลาดโอกาสในการปรับตัวให้เข้ากับยุคที่การทำงานควรยืดหยุ่นและวัดกันที่ผลลัพธ์จริง ๆ

สุดท้ายแล้ว ออฟฟิศสำคัญแค่ไหน?

แม้ว่าองค์กรจะพยายามดึงพนักงานกลับมาให้ใช้ชีวิตแบบเดิม แต่เทรนด์ Task Masking สะท้อนให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของงานมากกว่าการนั่งอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน และหากองค์กรยังคงยืนกรานให้พนักงานเข้าออฟฟิศโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น อาจทำให้พนักงานเริ่มมองหาทางเลือกอื่นที่ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น

อ้างอิง: entrepreneur

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...

Responsive image

ศิลปะการสื่อสารในวันวิกฤติ ผู้นำควรใช้ถ้อยคำแบบไหน ?

เมื่อวิกฤตมาเยือน คำพูดของผู้นำไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่คือพลังเยียวยา สำรวจศิลปะการสื่อสารของ Brian Chesky ที่เปลี่ยนการเลย์ออฟให้เป็นบทเรียนเรื่องความเป็นมนุษย์และความกล้าหาญในวันท...

Responsive image

เปิดคู่มือหลังเผชิญภัยพิบัติ ผู้นำควรดูแลทีมอย่างไร? เทคนิคจาก UN ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจา...