เจาะลึกตลาด E-Commerce แดนมังกร สมรภูมิที่ชิงชัยด้วย Ecosystem จาก Oscar Ramos แห่ง Chinaccelerator

หากจะพูดถึงตลาด E-commerce ขนาดใหญ่ที่น่าสนใจที่สุดในนาทีนี้ คงหนีไม่พ้นตลาด E-commerce ในประเทศจีน ทั้งจากจำนวนเม็ดเงินที่หมุนเวียนและรูปแบบการแข่งขันที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งยากที่จะเจาะและประสบความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ การบุกตลาดแดนมังกรก็ยังเป็นที่สนใจจาก Startup ต่างชาติจำนวนมาก ในงาน Techsauce Global Summit 2018 จึงได้จัด Session ที่เผยเบื้องลึกอันเข้มข้นของ E-commerce ในประเทศจีน จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงอย่าง Oscar Ramos, Partner & Program Director ของ Chinaccelerator มาฝากทุกท่านกัน

Oscar เกริ่นนำว่า เขามาอยู่ประเทศจีนตั้งแต่เมื่อ 11 ปีก่อน ในสมัยนั้น การบริการทางการเงินยังเป็นแบบ Offline อย่างมาก ยกตัวอย่างการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์ ยังต้องพึ่งพาบริการ Cash on Delivery หรือรับส่งเงินสดอยู่ แต่เพียงเวลาไม่นาน จีนก็พัฒนาด้านวิธีการใช้จ่ายเงินชนิดก้าวกระโดด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตที่สำคัญของตลาด E-commerce ในประเทศจีน และส่งให้จีนกลายเป็นผู้นำด้าน E-commerce ของโลก

ไม่เพียงแต่ Platform และเทคโนโลยีที่ปรับปรุงใหม่ แต่พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีส่วนผลักดันให้ตลาดเติบโตอย่างที่เห็น จากเดิมที่ E-commerce จีนจะเน้นการขายแบบ C2C ซึ่งได้สินค้ามีคุณภาพในราคาถูก แต่งานบริการมักไม่คงเส้นคงวา แต่เมื่อคนรุ่นใหม่ที่มี Mindset เน้นสินค้าที่มีคุณภาพควบคู่บริการที่ดี จึงหันไปใช้บริการซื้อขายใน Platform ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งการันตีคุณภาพของงานบริการได้ดีกว่านั่นเอง

ผู้บริโภคจีนปัจจุบันมีลักษณะเปิดกว้างรับสิ่งใหม่ แต่เข้าใจความต้องการของตัวเองเป็นอย่างดี จึงทำให้ Platform ต่างๆ เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่หากดูแล้วจะพบว่า Platform ต่างๆ ในประเทศจีนล้วนตกเป็นของยักษ์ใหญ่ด้าน IT 2 รายของประเทศจีน ซึ่งก็คือ Tencent และ Alibaba

ด้วยการครอบครอง Platform จำนวนมาก ทำให้ Tencent และ Alibaba มี Ecosystem เป็นของตัวเอง การขับเคี่ยวของทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่ในเวลานี้ จึงกลายเป็นสงครามที่สู้กันด้วย Ecosystem อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งคุณ Oscar ระบุว่าการแข่งขันด้าน Ecosystem ของจีนนั้นรุนแรงมาก ถึงขนาดปิดกั้น Ecosystem ของตัวเอง ไม่ให้เข้าถึง Platform ของอีกฝ่ายเลยทีเดียว

แต่ทั้งนี้ การครองครอง Ecosystem ก็ไม่ใช่วิธีประสบความสำเร็จใน E-commerce เสมอไปคุณ Oscar ยกตัวอย่างถึง Pin Duo Duo แอปพลิเคชันด้าน E-commerce ที่เติบโตเร็วที่สุดในจีนเวลานี้ โดยใช้วิธีที่แตกต่างออกไปอย่าง Social E-commerce ซึ่งใช้การนำเสนอสินค้าโดย Influencer ใน Social Media จากนั้นก็ปล่อยช่องทางจำหน่ายสินค้านั้นๆ ให้กับผู้บริโภค นับเป็นการร่วมช่องทางการโฆษณาและการขายไว้ในที่เดียว

นอกจากนี้ E-commerce จีนยังนิยมเล่นกับเทศกาลที่ค่อนข้าง Niche เช่นเทศกาลคนโสดตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่เริ่มต้นจากกลุ่มวัยรุ่นในมหาวิทยาลัย ซึ่ง Alibaba เคยทำแคมเปญนี้ในระดับประเทศและประสบความสำเร็จอย่างมาก

ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคทุกวันนี้ในประเทศจีน มีการซื้อของออนไลน์ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่จะซื้อผ่าน Smartphone เป็นสัดส่วนสูงกว่า PC และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

นอกเหนือจาก Tencent และ Alibaba แล้ว ยังมีบริษัทจากประเทศจีนที่ทำรายได้ติดอันดับโลก ทั้งยังมีบริการที่น่าสนใจ ได้แก่ Toutiao เว็บ Media ที่ใช้ AI Recommendation จัดเนื้อหาข่าวให้แต่ละคน, Meituan Duanping เว็บไซต์ E-commerce แบบ Offline to Online และ Didi Chuxing ผู้ให้บริการ Ride-Hailing อันดับ 2 ของโลก

ในด้านดี ประเทศจีนนับว่าตลาดมีความพร้อมรองรับการแข่งขันด้าน E-commerce แต่ในด้านเสียก็ต้องยอมรับว่าผู้ให้บริการในประเทศยังมี Unfair Advantage เหนือกว่าผู้เข้าแข่งขันใหม่ในประเทศอย่างมาก อีกทั้งยังเคยมีเคสกีดกันทางการค้ามากมาย ซึ่ง Oscar ให้ความเห็นว่า การจะป้องกันเรื่องนี้ จำเป็นต้องมี Partner ในประเทศจีนที่ดี ซึ่งช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในจีนอย่างราบรื่นและเป็นธรรมด้วย

ทั้งหมดนี้คือบทสรุป Keynote Session จากคุณ Oscar Ramos ซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจในประเทศจีน โดยเฉพาะบทบาทปัจจุบันใน Chinaaccelerator ที่สนับสนุนทั้ง Startup ต่างชาติให้ลงทุนในประเทศจีน และ Startup จีนก้าวออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเนื้อหานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเข้มข้นในงาน Techsauce Global Summit 2018 ที่น่าสนใจยังมีอีกมาก ซึ่งเราจะนำมาฝากในโอกาสต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...