รู้จัก Grab ตุ๊กๆ ในอินโดฯ ดึงวิถีเก่าสู่บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการท่องเที่ยว

ถึงแม้หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ GrabCar และ GrabBike ที่ใช้เดินทางกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง Grab ก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยรถโดยสารในแบบอื่นๆ เพื่อรักษาวิถีดั้งเดิมเอาไว้ อย่างเช่น ในอินโดนีเซียที่ Grab ได้พยายามผลักดันให้การบริการนั้นมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานกลุ่มนักท่องเที่ยวและเข้าถึงบริบทของสังคม 

ชมเมือง ดูวิถีชีวิต และเพิ่มประสบการณ์การเดินทางกับสามล้อฉบับดั้งเดิมหรือ Bajay ที่มีความคล้ายคลึงกับตุ๊กๆ ของบ้านเรานี่เอง ปัจจุบัน Grab Bajay มีจำนวนกว่า 11,000 คันทั่วจาการ์ตา ที่พร้อมจะให้บริการกับนักเดินทางทุกคน 

Bajay เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1975 Garb ได้มองเห็นโอกาสในการช่วยสนับสนุนผู้ขับขี่ Bajay ในจาการ์ตา พร้อมสนับสนุนวิถีเดินทางแบบเก่าให้คงอยู่ นำมาซึ่งการเกิด Grab Bajay บนแพลตฟอร์ม โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Grab กับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งอินโดนีเซีย 

Grab Bajay คือช่องทางการเดินทางที่ปลอดภัยและสะดวก โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้สองคนต่อหนึ่งคัน และมีพื้นที่สำหรับการวางกระเป๋าเดินทาง อีกทั้งผู้ขับ Grab Bajay ยังผ่านการทดสอบ KIR แบบทดสอบการขับรถ และใบอนุญาตอื่นๆ อีกมากมาย 

นอกเหนือจากนี้ เรายังได้เห็นความสะดวกสบายด้านการเดินทางของ Grab ในอินโดนีเซียอีกมากมาย ซึ่งอยู่ในโครงการ “Wonderful Indonesia” 

Grab ประเภท 3 ล้อ อาทิ GrabBetor ในเมืองเมดัน และ GrabAndong ในเมืองยอร์ค จาการ์ตาร์ 

Grab รถม้า GrabBento ในเมือง โกรอนทาโล 

บริการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน Grab ไม่ว่าจะเป็น ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าที่พัก และค่าโดยสารจากสนามบิน

บริการ GrabCar ในสนามบิน 14 แห่ง โดย Grab เปิดบริการรับส่งผู้โดยสารจากสนามบิน พร้อมมีพื้นที่เฉพาะสำหรับการจอดของ GrabCar 

สนามบิน 14 แห่งมีดังนี้ 

  • Soekarno-Hatta International Airport, Tangerang
  • Halim Perdana Kusuma International Airport, Jakarta
  • Husein Sastranegara International Airport, Bandung
  • Adi Soemarmo International Airport, Solo
  • Sultan Aji Muhammad Sulaiman Sepinggan International Airport, Balikpapan
  • Sultan Hasanuddin International Airport, Makassar
  • Sultan Mahmud Badaruddin II International Airport, Palembang
  • Kertajati International Airport, Majalengka
  • Kualanamu International Airport, Medan
  • Silangit Tapanuli International Airport, Utara
  • Raden Inten II International Airport, Bandar Lampung
  • Minangkabau International Airport, Padang
  • Sultan Syarif Kasim II International Airport, Pekanbaru
  • Silampari Airport, Lubuklinggau

Grab Bajay และบริการอื่นๆ จาก Grab ที่พัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวในอินโดนีเซีย นับว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ถือเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันผลักดันประโยชน์ให้กับสังคม และสร้างรายได้ให้กับผู้คนได้จำนวนมากโดยไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมๆ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีกมากเพราะการใช้งานที่สะดวกและมีความปลอดภัยได้มาตราฐาน นี่คือตัวอย่างของการผสานเทคโนโลยีเข้าสู่วิถีชุมชนเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...