5 วิธีใช้ Data สื่อสารอย่างชาญฉลาด สร้างความเชื่อมั่นใน วัคซีนโควิด-19

ปัญหาหลักที่มีผลต่อการชะลอตัวของการรับวัคซีนจากประชาชนทั่วประเทศย่อมไม่พ้น “ความเชื่อมั่นในวัคซีน” ยิ่งประชาชนไม่เชื่อในประสิทธิภาพในวัคซีนมากเท่าไร ประชาชนก็จะไม่เปิดใจและยอมรับที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 และส่งผลต่อเนื่องเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ยากยิ่งขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถสกัด Data ทั่วโลกออนไลน์ เพื่อสืบหาข้อมูลเชิงลึก (Insights) ออกมาเป็นวิธีเชิญชวนคนให้มาฉีดวัคซีนได้? 

The World Economic Forum และ Vaccine Confidence Project ของวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้เป็นพันธมิตรร่วมกับ NetBase Quid แพลตฟอร์มรวบรวม Data เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

ในการนี้หน่วยงานก็ได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นคนส่วนใหญ่ที่มีต่อวัคซีน ซึ่งรวบรวมมาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้ง Twitter, Facebook, ฟอรัมและบล็อกกว่า 66 ล้านบทสนทนาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนเม.ย. 2021 จนได้แนวทางการสื่อสารที่น่าสนใจทั้ง 5 ประเด็น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าของกิจการ รวมไปถึงครอบครัวสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเชิญชวนให้คนรู้จักตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนในการป้องกันโรคได้ดีขึ้น 

  1. กล่าวถึงประสิทธิภาพการป้องกันที่ได้จากวัคซีนให้บ่อยครั้งจนคนรู้สึกคุ้นเคย จากผลวิเคราะห์ได้ คนส่วนใหญ่จากโซเชียลมีเดียมองว่าคีย์เวิร์ด “การป้องกันจากเชื้อไวรัสโควิด” เป็นเหตุผลที่หนักแน่นพอที่ทำให้อยากรับวัคซีน

  1. ห้ามใช้เหตุผลด้านศีลธรรมจริยธรรมมาโน้มน้าวให้คนที่ไม่เชื่อมั่นในวัคซีนมาฉีดวัคซีน ตัวอย่างเช่น คนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนนั้นเห็นแก่ตัว ทำให้คนอื่นลำบาก ข้อความดังกล่าวยิ่งทำให้คนมองว่าเป็นการสื่อสารที่เลวร้าย บีบบังคับให้ทำ ยิ่งทำให้คนปฏิเสธการรับวัคซีนมากขึ้นเท่านั้น 

  1. สื่อสารเรื่องวัคซีนให้ง่ายที่สุด และจริงใจ ส่งเสริมผู้คนให้มาฉีดวัคซีนโดยใช้คำพูดที่ถนอมน้ำใจคนมากที่สุด และพยายามกล่าววาจาขอบคุณเสมอเมื่อคนยอมรับในวัคซีน ทั้งนี้การโปรโมตวัคซีนโดยคนธรรมดาจะได้ผลมากกว่าหากนำคนมีชื่อเสียง อินฟลูเอนเซอร์ หรือนักการเมืองมาพูดถึงข้อดีวัคซีน เพราะคนจะรู้สึกว่าคนธรรมดามีสถานะที่ใกล้ตัวเขา เข้าถึงง่าย จึงมีแนวโน้มพร้อมเปิดรับความคิดเห็นมากกว่า

  1. พยายามทำความเข้าอกเข้าใจถึงคนที่ปฏิเสธการรับวัคซีนให้ได้มากที่สุด รับฟังด้วยความเห็นใจ เข้าใจในสถานการณ์ของคนนั้น ๆ โดยปราศจากการตัดสินหรืออคติไปก่อน 

  1. เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนให้ชัดเจน เพราะจากผลวิเคราะห์ Data จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ พบว่าคนจะกังวลเรื่องประสิทธิภาพและผลข้างเคียง มากกว่าที่ผู้ผลิตวัคซีนว่าเป็นใคร มาจากไหน

จะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วการสื่อสารถึงความสำคัญของวัคซีนอย่างจริงใจ ตรงประเด็น เข้าอกเข้าใจ และสร้างความเชื่อใจให้ผู้คนเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้มาตรการสวมหน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคมเลย ยิ่งถ้าหากภาครัฐและเอกชนได้ใช้ข้อความที่มีเหตุผลหนักแน่นพอและมีตัวอย่างให้เห็นได้ชัด คนก็พร้อมจะออกมารับวัคซีนและการจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

อ้างอิง World Economic Forum



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...