สื่อสารการตลาดยุคใหม่ต้องทำยังไง ‘ให้ได้ใจคนฟัง’ สรุปเทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต

“ในยุคที่ผู้ฟังกำลังเปลี่ยนแปลงไป การสื่อสารยุคใหม่จึงต้องปรับตัวตาม” 

บทความนี้ Techsauce มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Marketing Insight Conference 2024 และเข้าฟังใน Session ของ ‘เทรนด์ Marketing Communication ในอนาคต’ โดยคุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้บริหารทีมการตลาด SCBX และคุณโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ ผู้บริหารอาวุโสระดับสูง Dentsu ได้ร่วมแชร์มุมมองสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารในอนาคต พร้อมให้แนวทางในการปรับตัวสำหรับแบรนด์ยุคใหม่

4 เทรนด์สำคัญที่ควรจับตามองในอนาคต

1. Perspective Brand:

แบรนด์ในอนาคตต้องปรับตัวเร็วและตอบสนองไวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา AI และ Machine Learning จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการปฏิสัมพันธ์ที่แม่นยำกับลูกค้า รวมถึงการตัดสินใจที่ต้องรวดเร็วและชัดเจน ลดการประชุมที่ยืดยาวและไม่จำเป็น

2. Digital Delegation:

‘การรอ’ ไม่ใช่สิ่งที่คนยุคใหม่ต้องการ เพราะผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเปิดรับเทคโนโลยีมากขึ้น และ AI ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แบรนด์ต้องปรับบริการให้เข้ากับความสะดวกสบายนี้ เช่น การใช้ Chatbot ตอบคำถามและให้ข้อมูลได้ในทันที

3. Future Consumer:

Consumer Eccentricity หรือผู้บริโภคยุคใหม่มีความ "กลายพันธุ์" มากขึ้น หมายความว่า พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ไม่เหมือนเดิม พวกเขามีความซับซ้อนและมีความต้องการหลากหลาย แบรนด์ไม่สามารถเป็นแค่ผู้ส่งสารอีกต่อไป แต่ต้องฟังและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคในแบบสองทาง ผู้บริโภคอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์

4. AI-Empowered Consumer:

มีการพูดถึง Gen Beta ซึ่งเป็นคนที่เติบโตมาในยุคที่เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตั้งแต่อายุยังน้อย พวกเขาคุ้นเคยกับการใช้หุ่นยนต์และ AI และกำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ของแบรนด์ในอนาคต 

เราจะเรียกพวกเขาว่า AI-Empowered Consumer คนกลุ่มนี้มีความต้องการและคาดหวังที่ซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้รับข้อมูลและประสบการณ์ที่รวดเร็วและแม่นยำจาก AI และผู้บริโภคกลุ่มนี้มักไม่ชอบรอ ดังนั้นแบรนด์จึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการใช้ AI ของกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ทันท่วงที

กลยุทธ์การสื่อสาร ปั้น Conversation ให้โดนใจ

ด้านคุณสุธีรพันธุ์ และคุณโอลิเวอร์  ชี้ว่า การสร้าง Conversation ที่โดนใจต้องอาศัยการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ จริงใจ และสร้างรอยยิ้มเล็กๆ ได้ แบรนด์ที่เข้าใจจังหวะจะโคนของการสื่อสาร และถ่ายทอดออกมาได้อย่างสนุกสนานจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้บริโภคและกลายเป็นที่จดจำได้ในระยะยาว 

และได้แนะนำกลยุทธ์หลักทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่

1. Genuine:

คนฟังสมัยนี้เซียนเรื่องแยกแยะอะไรจริงอะไรปลอม ดังนั้น ความจริงใจคือหัวใจสำคัญ แบรนด์ต้องพูดจากใจ ไม่ใช่แค่สร้างภาพ เพราะผู้บริโภครู้ได้ทันทีเมื่อแบรนด์ทำอะไรที่ไม่เป็นธรรมชาติ และอย่าลืมว่า การสื่อสารที่เปิดเผย จริงใจ และไม่เสแสร้ง จะช่วยให้แบรนด์เชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ยั่งยืน

2. Sensitive Humor:

การใช้มุกตลกช่วยให้แบรนด์ดูเข้าถึงง่ายขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้ไปกระทบจุดอ่อนไหว มุกตลกที่พอดีและสร้างรอยยิ้มเบาๆ จะช่วยสร้างความประทับใจได้ดีกว่า รวมถึงการสื่อสารที่มีความตลกแบบพอประมาณ สนุกแบบไม่เกินขอบเขต คือเป็นสูตรลับที่ทำให้แบรนด์ดูเป็นกันเองและมัดใจผู้บริโภคได้

3. Imperfection:

การทำตัวให้ดูสมบูรณ์แบบตลอดเวลาอาจทำให้แบรนด์ดูเข้าถึงยาก จริงๆ แล้วบางครั้งการเปิดเผย ความไม่สมบูรณ์แบบ กลับทำให้แบรนด์ดูน่ารักและมีเสน่ห์มากกว่า การยอมรับข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ บางครั้งทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าแบรนด์เป็น "มนุษย์" ไม่ใช่เครื่องจักร จุดนี้นี่แหละที่จะสร้างการเชื่อมต่อแบบอบอุ่นและยืนยาว

สรุปแล้ว เทรนด์การสื่อสารการตลาดในอนาคตไม่ได้แค่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่ลึกซึ้งและจริงใจมากขึ้นอีกด้วย ในยุคที่ผู้ฟังกำลังเปลี่ยนไป การสื่อสารยุคใหม่ต้องให้เกียรติผู้ฟัง เพราะคนฟังรู้ว่าอะไรปลอม 

แบรนด์ที่สามารถสร้างการสนทนาแบบธรรมชาติ และตอบโจทย์ความต้องการที่ซับซ้อนของผู้บริโภคได้อย่างจริงใจ จะกลายเป็นผู้ชนะในสนามแห่งการตลาดยุคดิจิทัล

ข้อมูลจากงาน Marketing Insight Conference 2024 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...