NO RULES RULES ปรัชญาเบื้องหลังความสำเร็จของ NETFLIX นิยามขององค์กรที่มีแต่ ‘คนเก่ง’ เป็นอย่างไร?

หากคุณเคยอ่านสรุปหรือรีวิวหนังสือ NO RULES RULES ผ่านๆ อาจพอได้เห็นเรื่องราวขององค์กรที่รวบรวมคนเก่ง และขับเคลื่อนด้วยคนเก่งเท่านั้น จนมีคำกล่าวว่า "ไม่มีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ หรือคนกลางๆ" แน่นอนว่าพอได้ยินดังนั้น หลายคนคงมีคำโต้แย้งอยู่มากมาย

วันนี้เราจะพามาเจาะลึกแนวคิดที่เป็นที่ถกเถียง ซึ่งเป็นหัวใจของ Netflix ที่สร้างผลลัพธ์น่าทึ่งในโลกของธุรกิจ จาก NO RULES RULES หนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังหนึ่งในนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ที่สุดในโลก มาอ่านแล้วหาคำตอบของความสงสัยที่ว่า คนเก่งคืออะไร? ไปพร้อมกันๆ

รัับฟังแนวคิดและร่วมตอบคำถาม กับ Erin Meyer หนึ่งในผู้เขียน No Rules Rules: Netflix and the Culture of Reinvention และหนึ่งในนักคิดทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้ใน Techsauce Global Summit 2022!

หากสนใจ สามารถซื้อบัตรเข้างานได้ที่: https://bit.ly/3uB09io

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3IpUxxm

เรียกได้ว่า Netflix ทำให้เกิดการปฏิวัติในอุตสาหกรรมบันเทิงโดยสร้างรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ต่อปีในโดยให้ความบันเทิงกับผู้คนหลายร้อยล้านคนในกว่า 190 ประเทศ 

แต่กว่าจะไปถึงจุดสูงสุดได้ Netflix ซึ่งเปิดตัวในปี 2541 ในฐานะบริการเช่าดีวีดีออนไลน์ต้องปรับแนวทางของธุรกิจครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งของ Netflix  ได้ปฏิเสธการทำงานแบบดั้งเดิมตามที่บริษัทอื่นๆ ดำเนินการและได้กำหนดมาตรฐานวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ที่ทำให้  Netflix กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่างรวดเร็ว 

Culture ในแบบฉบับของ Netflix โดยขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่

  • สิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งเท่านั้น
  • มีความตรงไปตรงมา feedback กันตรงๆ และ โปร่งใสมากที่สุด
  • อีกทั้งยังควบคุมให้น้อยที่สุด ไม่กำหนดวันลา คือค่าใช้จ่าย และพนักงานในทุกระดับสามารถตัดสินใจได้

แล้วสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งนั้นคืออะไร?

หากหนังสือเล่มนี้ถูกอ่านโดยผู้บริหาร คำว่าคนเก่ง หรือ Talent อาจถูกนิยามไว้ไม่ยาก อาจสรุปได้ง่ายๆ คือ “เขาคือคนที่บริษัทจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้”

แต่เมื่อถูกอ่านโดยระดับพนักงาน ย่อมเกิดคำถามกับตัวเองแน่ว่า แล้วเราเป็นคนเก่ง หรือคนที่อยู่ระดับกลาง ๆ ระดับพอใช้ของบริษัท? และนิยามของคำว่า ‘คนเก่ง’ คืออะไรกันแน่?

Netflix ไม่ใช่ไม่เคยเอาคนเก่งออก 

มีกรณีศึกษาที่ระบุอย่างชัดเจนว่า คนเก่งคนหนึ่ง ถูกให้ออกเพราะ ให้ Feedback (ที่เป็นหนึ่งใน culture สำคัญขององค์กรนั้น) กระทำอย่างไม่ถูกวิธี คือไม่กระทำตามหลัก 4A กล่าวคือ เขาไม่ตรงไปตรงมา และขาดความโปร่งใสทางการสื่อสาร รวมทั้งอาจมีการเล่นการเมืองในบริษัทมาเกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่ศักยภาพของเขาคนนั้นสามารถขึ้นมาเป็นระดับบริหารได้

จริง ๆ แล้ว สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งของ Netflix ไม่ได้หมายถึง คนที่มี Skillset เก่งๆ มีความสามารถระดับเทพเท่านั้น! แต่คนนั้นควรมี Mindset ที่ดีด้วย 

“โดยสรุป ผู้อ่านจึงคิดว่า คนเก่งจึง = Skillset + Mindset + ผลงานที่ทำ”

แล้ว NO RULES RULES จะปรับใช้กับตัวคุณ หรือองค์กรในไทยอย่างไร?

คุณอาจกำลังคิดว่า องค์กรของคุณอาจไม่ใช่องค์กรใหญ่ระดับโลกที่ต้องแข่งขันชิงตัว Talent หรือมีเงินมากพอที่จ่ายให้ Talent เหล่านั้นสูงกว่าคู่แข่งในตลาด

แต่คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งได้ คือ คนที่เก่งทั้ง Skillset หรืออาจพยายามพัฒนา Skillset และโชว์ความเก่งของเขาจากผลงาน พร้อมทั้งยังมีทัศนคติเชิงบวกที่จะสามารถพาองค์กรไปต่ออย่างไม่สะดุด

ในขณะเดียวกันหากคุณเป็นพนักงานในองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้ให้คุณรู้สึกเป็นเพียงแค่พนักงาน แต่ทำให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มีตัวอย่างมากมาย และมันจะปลุกพลังบางอย่าง ที่ทำให้คุณอยากพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่เก่งขึ้น และเป็นคนที่องค์กรจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้

โดยสรุปแล้ว เชื่อว่า… หลายองค์กรยังมีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ที่วันหนึ่งจะพัฒนามาเป็นคนเก่งและขับเคลื่อนบริษัทได้ แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร? 

อย่าพลาดโอกาสดี ๆ รับฟังแนวคิดและร่วมตอบคำถาม กับ Erin Meyer หนึ่งในผู้เขียน No Rules Rules: Netflix and the Culture of Reinvention และหนึ่งในนักคิดทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้ใน Techsauce Global Summit 2022

 หากสนใจ สามารถซื้อบัตรเข้างานได้ที่: https://bit.ly/3uB09io

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3IpUxxm


#TSGS2022  #norulesrules #Netflix #ErinMeyer

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...