Zoom คิดค้นเทรนด์ Hybrid Workplace สร้างประสบการณ์ทำงานแบบผสม ระหว่าง Work From Home กับ เข้าออฟฟิศ

ช่วงโควิดนี้ใครที่ Work From Home แล้วคิดถึง Office บ้าง ? แล้วถ้าให้กลับไปทำงาน Office ทุกวัน ใครบ้าง ที่อยากกลับมา  Work From Home ? 

zoom hybrid workplace

จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าทั้งสองแนวทางสามารถผสมผสานกันได้ แม้จะ Work From Home แต่ก็เกิดการสื่อสารที่เสมือนการมาทำงานจริงในบริษัท เพื่อสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กันแม้ว่าจะทำงานอยู่ที่บ้านก็ตาม 

ด้วยเหตุนี้ Zoom จึงคิดค้นเทรนด์ Hybrid Workplace ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานทางไกลกับการทำงานในออฟฟิศขึ้นมา รวมถึง CNBC ได้สำรวจผู้บริหารระดับสูงในหลายภาคส่วน พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ก็กำลังวางแผนที่จะสร้างรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work ด้วย

เอริก หยวน ผู้ก่อตั้งและ CEO ของแอปพลิเคชัน Zoom และ แฮร์รี โมสลีย์ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของแอปฯ ดังกล่าว ได้เข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของ Zoom ในโลกการทำงานแบบ Hybrid มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

โจทย์ใหม่ของธุรกิจในช่วงโควิด-19: ทำอย่างไรให้การประชุมเสมือนจริงมากที่สุด

ในช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาด Zoom มีผู้เข้าใช้งานรายวันเพิ่มขึ้น 30 เท่า จากเดิม 10 ล้านคน เป็นมากกว่า 300 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้ จำนวนนาทีที่ใช้งานต่อปีก็เพิ่มขึ้นจาก 1 แสนล้านนาที ในเดือนมกราคม 2020 เป็น 3 ล้านล้านนาทีภายในเดือนตุลาคม อีกทั้งบริษัทยังเพิ่มฐานพนักงานเป็นสองเท่าถึง 5,000 คนอีกด้วย

แฮร์รี โมสลีย์ กล่าวว่า “เราต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่บ้าง แต่มันก็ทำให้เราพยายามที่จะขยายตัวแอปฯ ให้ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเดิม”

เป็นไปได้ว่า สภาพสังคมการทำงานหลังเหตุการณ์โรคระบาดนี้นั้นก็ยังคงต้องใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work หรือแบบผสมผสานอยู่ ดังนั้น Zoom จึงสร้างเครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกันแบบใช้ซ้ำในครั้งต่อไปได้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในสังคมการทำงานแม้ว่าพนักงานจะไม่ได้อยู่ด้วยกันต่อหน้าก็ตาม

ทั้งฟังก์ชัน Smart gallery, ห้องประชุมที่เปิดใช้งาน AI และการแชร์หน้าจอ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Zoom ที่โมสลีย์กล่าวว่าจะช่วยให้การประชุมเป็นไปอย่างเสมือนจริงมากที่สุดในยุคของการทำงานช่วงโควิด-19 เขากล่าวว่า “Zoom ตั้งคำถามมาตั้งแต่แรกว่า เราจะทำให้การทำงานในโลกออนไลน์ดีเท่ากับการทำงานในออฟฟิศจริง ๆ ได้อย่างไร” ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการประชุมในสถานที่จริง คนหลายคนไม่สามารถใช้ whiteboard พร้อมกันได้ แต่ใน Zoom นั้นมีฟังก์ชันให้แชร์หน้าจอได้เพื่อความสะดวกสบายและการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน

โมสลีย์ เสริมว่า ฟังก์ชันทั้งหมดของ Zoom นี้ เน้นหลักสำคัญ 5 ประการอันเป็นหลักการดั้งเดิมของ Zoom โดยหนึ่งในนั้นรวมถึง ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือ และนวัตกรรมที่ทันสมัย นอกจากนี้ ยังมีการทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ใช้งานซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย

Zoom ได้ติดต่อกับองค์กรต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น “สภาอุตสาหกรรม (Industry council)” ซึ่งรวมถึงหน่วยงานที่ให้บริการทางการเงินและการรักษาพยาบาล ในการติดต่อสื่อสารเพื่อคอยอัปเดตสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจว่ามีอะไรเกิดขึ้นในภาคส่วนดังกล่าวบ้าง และในทางกลับกัน Zoom จะแชร์ข้อมูลให้แก่สภาเกี่ยวกับเรื่องฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ ๆ ของแอปฯ และขอให้สภาเหล่านั้นจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นต้องมีมากที่สุด

เนื่องจาก Zoom ยังคงเป็นช่องทางที่จำเป็นสำหรับเหล่าพนักงานในการที่จะติดต่อสื่อสารกัน แม้ว่าบางส่วนจะเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศบ้างแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เอริก หยวน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความน่าเชื่อถือของ Zoom โดยระบุว่า ในช่วงเริ่มต้นของโรคระบาด Zoom ได้ย้ายบริการจำนวนมากที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายไปยังคลาวด์ เพื่อเพิ่มความจุศูนย์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้งาน การทำเช่นนี้ทำให้ Zoom เป็นแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการที่จะเข้ามาใช้งาน 

หยวน เสริมว่า “เราต้องการแน่ใจว่าไม่มีจุดไหนพลาดแม้แต่จุดเดียว และต้องทำให้ห้องประชุมบนแพลตฟอร์มนี้มีความปลอดภัยที่สุด”

การทำงานนอกออฟฟิศนั้น จำเป็นจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อองค์กร ดังนั้น นอกจาก Zoom จะคิดค้นฟังก์ชันต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยการอำนวยความสะดวกในการทำงานแบบ Hybrid แล้ว Zoom ยังมีการคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอีกด้วย ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน Zoom จึงกลายเป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตสำหรับการทำงานบนโลกเสมือนจริงไปโดยปริยาย

อ้างอิง  CNBC 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...

Responsive image

AI วาดสไตล์ Ghibli : OpenAI แอบดึงข้อมูลมาเทรนด์หรือเปล่า ประเด็นที่โลกไม่ควรมองข้าม

ฟีเจอร์ใหม่จาก ChatGPT ที่สร้างภาพสไตล์ Ghibli ทำเอาโลกอินเทอร์เน็ตสะเทือน แต่คำถามใหญ่คือ...นี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี หรือการทำลายจิตวิญญาณของศิลปะที่ Ghibli ยึดถือมาทั้งชีวิต ...