ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เปิดเผยรายงาน "Global EV Outlook 2018" ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าจากทั่วโลก ระบุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเมื่อปี 2017 เพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว พบจีนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้มากที่สุดในโลก แต่รถยนต์ไฟฟ้าจากนอร์เวย์กลับครองตลาดทั่วโลกได้มากที่สุด

Photo: MikesPhotos

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (Internation Energy Agency: IEA) เปิดเผยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) จากทั่วโลกที่ชื่อว่า "Global EV Outlook 2018" โดยระบุว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเมื่อปี 2017 เพิ่มขึ้นกว่าเดิม 54 เปอร์เซ็นต์แล้ว เมื่อเทียบกับข้อมูลในปี 2016

ข้อมูลจากรายงานยังบอกอีกว่า ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทำยอดขายในปี 2017 ได้โตมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2016 แต่กลับครองส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ได้เพียง 2.2 เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดของยานยนต์ไฟฟ้าได้มากที่สุดในโลกอยู่ที่ 39.2 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับทำยอดขายได้เพียง 6.4 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเมื่อปี 2017

"ตลาดที่มีปริมาณการผลิต (จีน) และยอดขาย (นอร์เวย์) สูง ต่างมีการผลักดันด้านนโยบายที่แข็งแกร่ง" IEA กล่าว

นโยบายภาครัฐหนุนก็สำคัญ

อย่างไรก็ตาม IEA ยังมองในแง่บวกว่า ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ถึงจะทำให้เติบโตตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และจะทำให้ตลาดของรถยนต์ดีเซล-เบนซินเล็กลงไปในอนาคต

รายงานฉบับกล่าวต่อว่า "การสนับสนุนด้านนโยบายและการลดต้นทุน[การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า] มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการเติบโตต่อตลาดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030 อย่างมีนัยสำคัญ"

นอกจากนี้ยังมองว่า "ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย" ควรให้ความสำคัญกับข้อตกลงสิ่งแวดล้อม พร้อมระบุว่า "จำนวนยานพาหนะที่ใช้งานง่ายในการขับขี่บนท้องถนนจะมี 125 ล้านคันภายในปี 2030"

ด้านสหภาพยุโรป (European Union: EU) ประกาศจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Dioxide: CO2) ภายในปี 2030 โดยตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลง 40 เปอร์เซ็นต์จากค่าที่วัดไปเมื่อช่วง 1990 และจะผลักดันให้มีการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น 27 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างน้อย

ซึ่งฝรั่งเศสก็เตรียมยกเลิกการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน-ดีเซลภายในปี 2040 ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) อีกด้วย

แบตเตอรี่ โคบอลต์ และการกดขี่แรงงาน

ถึงแม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะใช้แบตเตอรี่เป็นพลังานแทนน้ำมัน ซึ่งช่วยลดการทำลายสภาพแวดล้อมไปได้

แต่ก็มีข้อถกเถียงเกิดขึ้น โดยมีคำถามจากกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนว่า การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้แร่โคบอลต์ที่หาได้ยากจากประเทศคองโก จะทำให้เกิดการคอรัปชัน จนนำไปสู่การกดขี่ผู้ใช้แรงงานในเหมืองคองโกหรือไม่ตามมาด้วยเช่นกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก IEA และ AFP

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI Academy คอร์สเรียน AI ฟรีจากผู้สร้าง ChatGPT เรียนรู้ตั้งแต่เบสิกยันระดับโปร

ก่อนหน้านี้ OpenAI ผู้พัฒนา ChatGPT ได้เปิดตัว OpenAI Academy แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้าน AI เพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับวิธีการทำงานใหม่ๆ ร่วมกับ A...

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...