อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หวังยกระดับความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ลดขั้นตอนและทรัพยากรที่เคยใช้ในกระบวนการแบบเดิม

AI

วันที่ 4 เมษายน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)   โดยกองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดประชุมสัมมนาประชาพิจารณ์ ร่างประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาของหลักสูตรการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. เป็นประธานการประชุมและมี ศ.เกียรติคุณปานสิริ พันธุ์สุวรรณ ประธานกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) คณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) และ กมอ. รวมถึงคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนสภาวิชาชีพ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและนอกสังกัดกระทรวง อว. เข้าร่วม ที่ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร 1 สำนักงานปลัดกระทรวง อว. (ถนนศรีอยุธยา)

แก้ปัญหาคอขวด ลดเวลา-ทรัพยากร ด้วย Generative AI

AI

โดยในการประชุมศ.เกียรติคุณปานสิริ และ ผศ.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองประธานคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาระดับหลักสูตร ได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างประกาศ และแนวทางการดำเนินงาน วิธีการรับรองฯ ตามแนวทางของประกาศฯ และแนวทางการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) ที่สำคัญคือมีการนำเสนอถึงกระบวนการใช้ AI เข้ามาช่วยตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตร ที่ กมอ.ได้ริเริ่มขึ้น โดย ศ.เกียรติคุณปานสิริ กล่าวว่า ร่างประกาศนี้ จะเป็นการพลิกโฉมกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของประเทศ ผ่านระบบ AI ซึ่งจะทำให้ถูกต้อง แม่นยำและเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น

การตรวจสอบที่รวดเร็วและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ด้าน ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า การตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตร เป็นหน้าที่ที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. เพราะต้องสร้างความมั่นใจได้ว่าทุกหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและนอกสังกัด อว. ทั้งระดับอนุปริญญา ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก ได้มาตรฐาน จึงจะเปิดสอนได้ แต่การดำเนินการที่ผ่านมา สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมากในการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตร ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตรเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีคุณภาพและเป็นไปตามนโยบายของ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อว. ในเรื่อง “อว. for AI ” สำนักงานปลัดกระทรวง อว. จึงได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาระบบตรวจสอบหลักสูตร ผ่าน Generative AI ทั้ง ChatGPT และ Gemini เข้ามาช่วยในการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตร ซึ่งได้ทดลองตรวจสอบมาระยะหนึ่ง จนมั่นใจว่ามีความถูกต้อง แม่นยำและมีคุณภาพสูง วันนี้จึงถือเป็นวันเปิดตัวระบบใหม่นี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตรเป็นไปด้วยความรวดเร็วกว่าเดิมมาก

อ้างอิง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...